Inverter 6 พื้นฐานแอร์อินเวอร์เตอร์ ...คอยล์ร้อนกับเซนเซอรทั้ง 3 และ EEV-Valve

Описание к видео Inverter 6 พื้นฐานแอร์อินเวอร์เตอร์ ...คอยล์ร้อนกับเซนเซอรทั้ง 3 และ EEV-Valve

... สำหรับความแตกต่างของแอร์บ้านแบบธรรมดาที่เราเรียกว่าแบบ Fix-Speed กับแบบ
อินเวอร์เตอร์นั้น เราสามารถเห็นความต่างได้อย่างชัดเจนดังนี้ ...
จุดเชื่อมต่อระหว่างคอยล์ร้อนกับคอยล์เย็น ถ้าเป็น
.... แอร์แบบธรรมดา ปัจจัยที่ทำให้คอยล์ร้อนทำงาน ก็คือการที่ตัวคอยล์เย็นส่งไฟ 220Vac
ไปที่คอยล์ร้อน ซึ่งอาจจะผ่านรีเลย์-คอนแทคเตอร์ หรืออาจจะผ่านแมคเนติกส์-คอนแทคเตอร์
ซึ่งที่จุดต่อไฟจะกำหนดไว้เป็น L N และ 2
L คือไฟ 220Vac เส้นไลน์
N คือไฟ 220Vac เส้นนิวตรอล
2 คือไฟ 220Vac เส้นไลน์ที่ผ่านหน้าคอนแทคของรีเลย์-คอนแทคเตอร์ไปครบวงจรที่ส่วน
ของคอยล์ร้อน ซึ่งมีไฟ 220Vac เส้นนิวตรอลไปรออยู่แล้วนั่นเอง
***** ถ้าไม่มีไฟเส้นนี้คอยล์ร้อนก็จะไม่ทำงาน และตัวมอเตอร์คอมเพรสเซอร์/มอเตอร์
ระบายความร้อนเป็นแบบ 1 เฟส จะมี C ต่อร่วมในวงจรด้วย *****
.... แต่ถ้าเป็นแบบอินเวอร์เตอร์ ปัจจัยที่ทำให้คอยล์ร้อนทำงาน ก็คือการส่งและรับข้อมูล หรือ
ที่เราเรียกว่า ดาต้า (Data) ซึ่งที่จุดต่อไฟจะกำหนดตัวเลขไว้ คือ 1 2 และ 3
1 คือไฟ 220Vac เส้นไลน์
2 คือไฟ 220Vac เส้นนิวตรอล
3 คือจุดที่ต่อกับหมายเลข 3 ที่คอยล์ร้อน เป็นจุดหรือเส้นที่เป็นข้อมูลที่ส่งผ่านกลับไปมา
ระหว่างคอยล์เย็นและคอยล์ร้อน อาจจะเป็นไฟ AC หรือ DC ก็ได้แล้วแต่ยี่ห้อและการออกแบบ
**** ถ้าไม่มีไฟ Data เส้นนี้คอยล์ร้อนก็จะไม่ทำงาน **** เช่นกัน
ตัวตรวจสอบต่างๆ หรือเซนเซอร์ ถ้าเป็น
.... แอร์แบบธรรมดา ที่คอยล์ร้อนจะไม่มีเซนเซอร์ มีเพียงชุดมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ และชุด
มอเตอร์ระบายความร้อนเพียว 2 ชุดเท่านั้น และตัวมอเตอร์ทั้งเป็นมอเตอร์แบบไฟ Vac
.... แต่ถ้าเป็นแอร์แบบอินเวอร์เตอร์ จะมีแผงหรือบอร์ดอิเลคโทรนิกส์ควบคุมอยู่ที่คอยล์ร้อนด้วย
เนื่องจากมอเตอร์คอมเพรสเซอร์แบบอินเวอร์เตอร์นั้น เป็นมอเตอร์แบบ 3 เฟสที่ใช้ความถี่ในการหมุน เพราะฉะนั้นเราจะไม่เห็น C ต่ออยู่ด้วย นอกจากนั้นก็ยังมีเซนเซอร์ 3 ตัวคอยตรวจสอบการทำงานของคอยล์ร้อน และหัวฉีดน้ำยาแบบไฟฟ้าอิเลคโทรนิกส์ ที่เราเรียกว่า EEV-Valve
( Electronic Expansion Valve ) ซึ่งจะคอยฉีดน้ำยาไปยังแผงคอยล์เย็นอีกด้วย เซนเซอร์ที่กล่าวถึงมีดังนี้
Discharge Senser หรือดิชชาร์ท..เซนเซอร์ เป็นตัวตรวจสอบอุณหภูมิของน้ำยาที่
ออกมาหรือได้มาจากการอัดของคอมเพรสเซอร์ ซึ่งตรงนี้จะมีความร้อนหรืออุณหภูมิที่สูง รวม
ไปถึงแรงด้นดันด้วย ซึ่งน้ำยาในตอนนี้มีสถานะเป็นไอแรงดันสูง ซึ่งอาจจะมากถึงเกือบ 280
ปอนด์ (psi)
Outdoor Senser หรือเอ้าท์ดอ..เซนเซอร์ เป็นตัวตรวจสอบอุณหภูมิอากาศโดยรอบ
ซึ่งอาจจะเกี่ยวพันกันกับการหมุนเบา/แรง ของพัดลมระบายความร้อนด้วย
Middel Pipe Senser หรือมิดเดิลไปท์..เซนเซอร์ เป็นตัวตรวจสอบอุณหภูมิของน้ำยา
ที่ผ่านแผงระบายความร้อน หรือแลกเปลี่ยนความร้อนมาแล้ว สถานะของน้ำยาในตอนนี้จะ
กลายเป็นของเหลวที่มีแรงดันสูงอยู่ [ซึ่งอาจจะมากถึงเกือบ 280 ปอนด์ (psi)] และ
อุณหภูมิก็ยังสูงอยู่ แต่อาจจะน้อยกว่าต้นทางเกือบครึ่ง ตัวอย่างเช่น ถ้าออกมาจากท่อท่อ
ของคอมเพรสเซอร์ในตอนต้น อุณหภูมิก็อาจจะ 90 องศา C โดยประมาณ เมื่อมาถึงตรงนี้
ก็อาจจะลดลงเหลือ 40-45 องศา C ก็เป็นได้
EEV Valve ( Electronic Expansion Valve ) หรืออิเลคโทรนิกส์ แอก
แพนชั่นวาวล์ เป็นตัวกำหนดในการจ่ายน้ำยาให้กับระบบ ซึ่งจะถูกควบคุมโดย MCU
ภายในแผงควบคุม ที่ผ่านการคำนวณผลมาแล้วจากเซนเซอร์ทั้งหลาย ทั้งจากคอยล์เย็นและ
คอยล์ร้อน
รายละเอียดต่างๆ ...สามารถชมได้ทางคลิปวีดีโอ
จึงหวังว่าคลิปนี้คงพอจะเป็นประโยชน์และแนวทางได้บ้างสำหรับท่านผู้ที่สนใจในเบื้องต้นได้
บ้างพอควร หากข้อมูลในคลิปถ้ามีความผิดพลาดประการใด ทางผู้จัดทำขอน้อมรับและนำไปปรับปรุงให้ดีขึ้นต่อไป... กราบขอบพระคุณ
“ ขอให้ความสำเร็จจงสถิตอยู่กับตัวท่าน ”
สงสัยอย่างไร,ประการใด โทรถามได้ที่
มือถือ 084-666-3328 โทรได้ตลอด ถ้าสะดวกจะรับสาย ถ้าไม่ได้
รับก็เพียรพยายามอีกนิด..เว้นช่วงและโทรเอาใหม่นะครับ จะไม่
โทรกลับสำหรับกรณีปรึกษา
ID Line ssc-services เป็นวิธีที่สะดวกสุด กดเป็นเพื่อนก่อนกดแจ้งมาก่อนว่า ID Line ของท่านชื่ออะไร เราจะได้กดรับ ถ้าไม่กดรับเราจะติดต่อกันไม่ได้ ใช้สำหรับส่งข้อมูลภาพ,วีดีโอ อาการของเครื่องที่ต้องการปรึกษา
“ขอให้ความรู้จงสถิตอยู่กับตัวท่าน”
และกราบขอบพระคุณอีกครั้งที่ติดตามและรับชม...สวัสดี
นายพสิษฐ์ ชัยสนองพัฒน์
4/2/2565 เวลา 16.30น.

Комментарии

Информация по комментариям в разработке