รีวิว | ถุงดูดความชื้น Zarpax "กีตาร์พังแน่ถ้าไม่ดูคลิปนี้-สภาพอากาศเลวร้ายกว่าที่คิด" [𝐎𝐟𝐟𝐢𝐜𝐢𝐚𝐥-𝐓𝐇]

Описание к видео รีวิว | ถุงดูดความชื้น Zarpax "กีตาร์พังแน่ถ้าไม่ดูคลิปนี้-สภาพอากาศเลวร้ายกว่าที่คิด" [𝐎𝐟𝐟𝐢𝐜𝐢𝐚𝐥-𝐓𝐇]

#หยุดวงจรอุบาทว์เดี๋ยวนี้!!!
1⃣ 𝐀𝐜𝐭𝐢𝐨𝐧 สูงปรี๊ดดด
2⃣ เสียงกีตาร์ทึบ
3⃣ คอโก่ง
4⃣ สายขึ้นสนิม
5⃣ 𝐁𝐫𝐢𝐝𝐠𝐞 อ้า
6⃣ 𝐁𝐢𝐧𝐝𝐢𝐧𝐠 หลุด
7⃣ ไม้หน้าบวม
8⃣ 𝐁𝐨𝐝𝐲 เสียรูปทรง-บิดเบี้ยว

หมดปัญหาแน่นอน ด้วยถุงดูดความชื้น 𝐙𝐚𝐫𝐩𝐚𝐱 รุ่น 𝐋𝐕-𝐀𝟑𝟎𝟎 สำหรับใส่ในเคสกีตาร์เพื่อดูดความชื้น ลายคาร์บอนไฟเบอร์สวยจัด ใช้งานได้ยาวนาน สามารถ "ใช้ซ้ำได้ (𝐑𝐞𝐮𝐬𝐚𝐛𝐥𝐞)" สารดูดความชื้นได้ โดยการนำเข้าไมโครเวฟ 𝟔 นาที มีแถบวงกลมบอกสถานะเมื่อถึงเวลา "ใช้ซ้ำได้ (𝐑𝐞𝐮𝐬𝐚𝐛𝐥𝐞)" ใช้งานโครตง่าย สะดวกสบายสุดๆ

วิธีใช้งานแสนง่าย!
***สำหรับใส่ในเคสกีตาร์ที่ปิดสนิทเท่านั้น!!! ถึงจะช่วยลดความชื้นภายในเคสได้ แอดแนะนำควรใช้ 𝟐 ถุง (วางไว้ที่ส่วนหัว และส่วนลำตัวกีตาร์) "แอดใช้มาแล้วหลายปี"

** ราคาเพียง 𝟑𝟎𝟎 บาท เท่านั้น!!! **

แล้วใครล่ะที่ควรใช้...?

#พื้นที่กลุ่มเสี่ยงทั่วประเทศ ความชื้นที่เหมาะสมสำหรับกีตาร์โปร่ง เฉลี่ยอยู่หว่างที่ 𝟒𝟓-𝟓𝟓% (𝐏𝐞𝐫𝐜𝐞𝐧𝐭 𝐇𝐮𝐦𝐢𝐝𝐢𝐭𝐲) หากความชื้นมาก หรือ น้อยกว่านี้ ล้วนมีผลต่อโทนเสียง รูปทรงและโครงสร้างของกีตาร์ #หากความชื้นไม่เหมาะสม สุดท้ายส่งผลต่อภาพรวมของความสมบูรณ์และอายุการใช้งานของกีตาร์

#หากพูดถึงความชื้น: มันคือศัตรูที่ร้ายกาจที่สุด! สำหรับกีตาร์โปร่ง …หลายท่านอาจจะเคยพบปัญหา
– ไม้หน้า(𝐓𝐨𝐩) เกิดอาการบวม
– แรงดึงสาย(𝐓𝐞𝐧𝐬𝐢𝐨𝐧) มากขึ้น กด(สาย)คอร์ดแล้วรู้สึกแข็ง ไม่สบายมือ
– สะพานสาย หรือ 𝐁𝐫𝐢𝐝𝐠𝐞 ยกตัว คล้ายจะหลุดจากไม้หน้า
– 𝐁𝐢𝐧𝐝𝐢𝐧𝐠 ที่เดินขอบรอบตัวกีตาร์ มีอาการแยกตัวจากขอบ 𝐁𝐨𝐝𝐲 กีตาร์
– เสียงกีตาร์ทึบๆ ไม่ใสกังวาน และปัญหาอื่นๆ ฯลฯ
ข้างต้นดังกล่าวมา เป็นส่วนหนึ่งของปัญหาเรื่องไม้ (กีตาร์) ที่อุ้มความชื้นไว้มากเกินไป?!
ก่อนจะมาลงลึก เรามาทำความรู้จัก และเข้าใจเรื่องความชื้น กันก่อน…

#ความชื้นสัมพัทธ์: (𝐑𝐞𝐥𝐚𝐭𝐢𝐯𝐞 𝐇𝐮𝐦𝐢𝐝𝐢𝐭𝐲 – 𝐑𝐇) คืออะไร:
ความชื้น หรือ “ความชื้นสัมพัทธ์” (𝐑𝐞𝐥𝐚𝐭𝐢𝐯𝐞 𝐇𝐮𝐦𝐢𝐝𝐢𝐭𝐲 หรือ 𝐑𝐇) นั้นเป็นตัวบ่งชี้ถึงปริมาณความชื้นในอากาศ โดยมีค่าหน่วยการบอกความชื้นเป็น “เปอร์เซ็นต์” แสดงถึงว่าขณะนั้นๆ อากาศได้อุ้มความชื้นไว้เท่าไร และยิ่งอุ้มความชื้นไว้มากเท่าไร เราจะรู้สึกเปียกชื้น, รู้สึกเหนียวตัว, เหงื่อแห้งช้า, ไม่สบายตัว นั่นแสดงถึงว่า… ความชื้นสัมพัทธ์สูงมากขึ้น
*หากว่าความชื้นสัมพัทธ์มีค่าหรือสูงขึ้นมากถึง 𝟏𝟎𝟎% หมายถึงว่า “ฝนกำลังจะตก”
ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนใกล้เส้นศูนย์สูตร จึงทำให้ ภูมิอากาศของประเทศไทย มีลักษณะเป็นแบบ “ร้อนชื้น”

#หากความชื้นไม่เหมาะสม: (มากไป/น้อยไป) ย่อมมีผลกระทบตามมา
– ความชื้นในอากาศสูงเกินไป = รู้สึกเหนียวตัว ไม่สบายตัว, อาหารเกิดบูดเน่าเสียง่าย, เครื่องใช้ที่เป็นโลหะเกิดคราบ, สนิมจับ, ดูหมอง, ถ้าวัสดุเป็นไม้อาจจะเกิดการเสียรูปทรง (พองตัว) หรือเกิดเชื้อรา
– ความชื้นในอากาศต่ำเกินไป = ผิวหนังแห้งเพราะขาดความชุ่มชื้น, ถ้าวัสดุเป็นไม้ อาจจะเกิดการเสียรูปทรง (ยุบหรือหดตัวและแตกร้าว)
มาถึงตรงนี้… มือใหม่หลายๆ ท่าน คงจะเริ่มเข้าใจในเรื่อง ความชื้นสัมพัทธ์ กันมากขึ้นแล้ว
คราวนี้เราจะมาดูเรื่อง “ความชื้น กับ กีตาร์โปร่ง” ว่ามันเกี่ยวข้องกันอย่างไร…

#ความชื้นกับกีตาร์โปร่ง: หลายๆ ท่านคงเคยได้ยินหลายท่านพูดว่า อย่าเก็บกีตาร์โปร่งไว้ในที่ร้อน แต่ความจริงแล้ว กีตาร์โปร่ง กลัวอากาศที่มีความชื้น มากกว่าที่จะกลัวความร้อน ความชื้นที่มากเกินไป ทำให้ไม้เกิดการเปลี่ยนรูป ไม้บวมร้าวแตกหัก ฯลฯ ส่วนความร้อนที่มากเกินไป จะมีผลเสียต่อส่วนประกอบอื่นๆ เช่น แล๊คเกอร์บนผิวกีตาร์ (𝐅𝐢𝐧𝐢𝐬𝐡) หรือ กาวที่ใช้ต่อชิ้นส่วนประกอบต่างๆ ของกีตาร์ (พวก 𝐁𝐫𝐚𝐜𝐢𝐧𝐠 เป็นต้น)

#ความชื้นสูงในประเทศไทย: ส่งผลต่อกีตาร์ในหลายๆ ด้าน
รวมไปถึงการเปลี่ยนสีของแล๊คเกอร์ที่เหลือง หรือเข้มขึ้น หลายๆ ท่าน คงจะเคยเห็นว่า กีตาร์ตัวใหม่ในร้าน กับกีตาร์ที่ซื้อมาหลายปี มีสีไม้หน้า (𝐓𝐨𝐩) ขาว/เข้ม ต่างกัน หรือแม้แต่ส่วนคอ ส่วนขอบ(𝐁𝐢𝐧𝐝𝐢𝐧𝐠) ก็มีการเปลี่ยนแปลง เช่นกัน

#ความชื้นสูง: (เฉลี่ยที่สูงกว่า 𝟓𝟓-𝟖𝟎%)
ผลกระทบคือ ไม้บวม, ขยายตัว, เสียทรง, ทำให้เกิดแรงดึง (𝐓𝐞𝐧𝐬𝐢𝐨𝐧) สายกีตาร์ที่เพิ่มขึ้น
โดยเฉพาะไม้หน้า (𝐓𝐨𝐩) จะเกิดอาการยกตัวหรือโก่งขึ้น ส่งผลให้ 𝐀𝐜𝐭𝐢𝐨𝐧 สูงขึ้น ให้ดูที่ 𝐅𝐫𝐞𝐭 𝟏𝟐 จะเห็นชัดเจน ผู้เล่นต้องใช้แรงนิ้วเพื่อกดสายมากขึ้น
เหตุผลที่เป็นเช่นนี้ เนื่องจากไม้หน้าเป็นส่วนที่ต้องรับแรงดึงของสายกีตาร์ โดยตรง และไม้ส่วนนี้ เป็นไม้เนื้ออ่อน และมีความบาง จึงได้รับผลกระทบสูงกว่าไม้ข้างและหลัง(𝐁𝐚𝐜𝐤&𝐒𝐢𝐝𝐞𝐬)
นอกจากนั้น จากการโก่งขึ้นของไม้หน้า จะทำให้สะพานสาย (𝐁𝐫𝐢𝐝𝐠𝐞) ต้องรับแรงดึงของสายที่เพิ่มขึ้น
หากแรงดึง (𝐓𝐞𝐧𝐬𝐢𝐨𝐧) เพิ่มมากเกินไป อาจทำให้ 𝐁𝐫𝐢𝐝𝐠𝐞 เกิดอาการยกตัว กระทั่งฉีกจากไม้หน้า ได้

#ความชื้นต่ำ: (เฉลี่ยที่ต่ำกว่า 𝟐𝟓%) ในเมืองไทย ไม่ค่อยได้เจอปัญหานี้ อาจจะมีบางช่วงเวลาเท่านั้น ไม้หน้า (𝐓𝐨𝐩) จะได้รับผลกระทบมากเช่นเดียวกันกับในช่วงความชื้นสูง แต่ผลลัพท์ต่างกัน ผลกระทบคือ ไม้หดตัว, มีอาการท้องยุบ, เสียทรง อาจถึงเกิดการแตกร้าว (ตัวและคอกีตาร์) รวมถึงบริเวณแลคเกอร์บนผิวกีตาร์ (𝐅𝐢𝐧𝐢𝐬𝐡) หรือ กาวที่ใช้ต่อชิ้นส่วนประกอบต่างๆ ของกีตาร์ (พวก 𝐁𝐫𝐚𝐜𝐢𝐧𝐠 เป็นต้น) ช่วงอากาศแห้งมากๆ โอกาสเกิดการแตกร้าวมีสูงมาก สังเกตว่า 𝐀𝐜𝐭𝐢𝐨𝐧 จะต่ำลงกว่าปกติ หากต่ำมากๆ จะมีผลให้เกิดการ 𝐁𝐮𝐳𝐳 (สายกระทบกับ 𝐅𝐫𝐞𝐭) แต่ก็มีข้อดีที่ว่า เมื่อไม้ไม่มีความชื้น (อากาศที่แห้ง ไม้ก็จะแห้งตาม) จะช่วยทำให้การสั่นของไม้ดีขึ้น เมื่อไม้สั่นตัวได้ดี มีอิสระมากขึ้น เสียงก็จะมีความละเอียดอ่อน และตอบสนองได้ดี
ดังนั้น “อากาศที่ชื้นไป หรือ แห้งไป” ไม่ส่งผลดีแน่นอน จึงต้องมั่นตรวจสอบ และรู้จักวิธีการควบคุมความชื้น เพื่อให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม

#วิธีการตรวจสอบความชื้น:
** อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนแนะนำให้หาซื้อ เครื่องมือวัดความชื้นสัมพัทธ์ (𝐇𝐲𝐠𝐫𝐨𝐦𝐞𝐭𝐞𝐫) มาไว้ในกล่องกีตาร์ จะดีที่สุด **

#วิธีการป้องกันความชื้นเพื่อดูแลกีตาร์โปร่ง:
- 𝐙𝐚𝐫𝐩𝐚𝐱 "ถุงดูดความชื้นจากเนเธอร์แลนด์" #ราคาเพียง𝟑𝟎𝟎บาท เท่านั้น!

*เครดิตบทความจาก 𝐴𝑐𝑜𝑢𝑠𝑡𝑖𝑐𝑇ℎ𝑎𝑖

Комментарии

Информация по комментариям в разработке