การแสดงนาฏศิลป์พื้นบ้าน ประเภทสร้างสรรค์ ชุด เหยา ปัว ป่วง [บนผีให้ส่องคน]

Описание к видео การแสดงนาฏศิลป์พื้นบ้าน ประเภทสร้างสรรค์ ชุด เหยา ปัว ป่วง [บนผีให้ส่องคน]

คณะผู้สร้างสรรค์
นายรัชน์พล ศรีนาทม
นายรัฐกร ชัยรัตน์
นางสาวปลายฟ้า จันทร์ศรี
นางสาวอรัญญา มีพร
นักศึกษาปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 คณะศิลปศึกษา สาขานาฏศิลป์ศึกษา
วิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม
รายวิชา ประวัติศาสตร์ และภูมิปัญญาอีสาน
อาจารย์ประจำวิชา อาจารย์เกณิกา วงศ์นรินทร์
แรงบันดาลใจ
จากการศึกษาบริบททางความเชื่อในศาสนาลักษณะสรรพเทวนิยมควบคู่กับพระพุทธศาสนาของกลุ่มชาติพันธุ์ภูไท ในจังหวัดกาฬสินธุ์ ผ่านพิธีกรรมความเชื่อ เรื่อง “เหยา” ในพิธีกรรมเหยารักษาที่เรียกว่า “เหยาเอาหวัน” เป็นเหยารักษาเพื่อเรียกขวัญของผู้ป่วย โดยมีมาตั้งแต่ครั้งก่อนการอพยพมาของชาวกลุ่มชาติพันธุ์ภูไท จังหวัดกาฬสินธุ์ ในประมาณปี พ.ศ.๒๓๙๙ จนถึงปัจจุบัน โดยมีความเชื่อเกี่ยวกับพิธีกรรมเหยามาตั้งแต่อยู่ที่เมืองวัง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว “พิธีกรรมเหยารักษา” ในลักษณะที่เรียกว่า “เหยาเอาหวัน” เป็นการเสี่ยงทายและรักษาในด้านจิตใจของผู้ป่วย โดยจะมีหมอเหยาเป็นผู้ประกอบพิธี มีการเสี่ยงทายคุยกับภูตผี เช่น การเสี่ยงทายตั้งดาบ การเสี่ยงทายตั้งไข่ โดยมีการขับร้องเป็นภาษาภูไท ประกอบแคนอยู่ตลอดการประกอบพิธี และเมื่อเสร็จพิธีจะมีการผูกแขนเพื่อให้เป็นสิริมงคลกับคนป่วย การแสดงแบ่งออกเป็น 3 ช่วง ดังนี้
ช่วงที่ 1 "เอิ่นเหยา" เป็นการแสดงถึงความเชื่อและศรัทธาในพิธีกรรม "เหยา" และการเตรียมเครื่องคาย
ช่วงที่ 2 "ปัวป่วง" เป็นการแสดงในช่วงพิธีกรรมเหยารักษา
ช่วงที่ 3 "เอาหวัน" เป็นการแสดงพิธีกรรม "ผูกข้อต่อแขน" หลักจากเสร็จพิธีกรรมเหยา
(ขอสงวนลิขสิทธิ์ในการแสดง)

Комментарии

Информация по комментариям в разработке