ใครอยากเลิกเสพยาบ้าสาธารณสุขมีทางออก บำบัดผู้ป่วยเสพยาให้โอกาสรักษา ใช้ยาสู่การเลิกยาคืนคนดีสู่สังคม

Описание к видео ใครอยากเลิกเสพยาบ้าสาธารณสุขมีทางออก บำบัดผู้ป่วยเสพยาให้โอกาสรักษา ใช้ยาสู่การเลิกยาคืนคนดีสู่สังคม

การให้โอกาสผู้เสพไม่ใช่ผู้ค้า ถูกจับยาบ้าไม่เกิน5เม็ด หรือยังไม่ถูกตรวจค้นจับกุม #แต่ต้องการเลิกยาขอชีวิตใหม่ไม่ถูกตีตรา ได้รับการดูแลช่วยเหลืออย่างมีคุณค่าความเป็นมนุษย์ ทำให้เค้ายืนได้ในสังคมมีอาชีพไม่ถูกตีตรา นี่คือวิถีบำบัดแบบใหม่ตามมติข้อกำหนดปริมาณยาที่ทั่วโลกทำกันตามมติที่ประชุมสหประชาชาติ UNGASS 2016 แต่เราทำให้ดีขึ้นเพื่อสร้างทางเลือกทางรอดทางออกให้สังคม
แบบเดิมๆถูกจับยัดเม็ดสองเม็ด เข้าคุกเจอเครือข่าย ออกมาเสพต่อค้าต่อ ไม่จบสิ้น ไม่ได้เข้าสู่ขบวนการบำบัดเลิกยา
กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดระบบบำบัดรักษา ดูแล ทั้งด้าน สุขภาพ ปัญญา อาชีพ ใช้ระยะการรักษาและติดตามดูแลสร้างกำลังใจจนมั่นใจพ้นภัยยาเสพติด สู่ชีวิตใหม่ได้ลูกหลานคืนสู่บ้าน
โดยเริ่มต้นจากสูญคัดกรอง อย่างเช่น ต.ลุมพลี จ.อยุธยา จะมี รพ.สต.ลุมพลี อยุธยา ทำหน้าที่เป็นสูญคัดกรอง หมอที่ รพ.สต.จะคัดกรองแยก ถ้าผู้ป่วยสีแดงส่อความรุนแรง ส่งเข้าบำบัดแผนกจิตเวชที่โรงพยาบาลศูนย์ รพ.ทั่วไปขนาดใหญ่ หากผู้ป่วยสีส้มเหลืองยังต้องการใช้ยาอยู่ต้องหยุดเลิกยา ก็เข้าบำบัดที่ มินิธัญญารักษ์ รพ.อุทัย จ.อยุธยา เมื่อผ่านการบำบัดที่มินิธัญญรักษ์ 4เดือน จนอดยาได้เด็ดขาด พร้อมมีกิจกรรมบำบัดสร้างเสริมอาชีพแล้ว ก็ถูกส่งต่อชุมชนบำบัด #CBTxชุมชนล้อมรักษ์ ลุมพลี เป็นการบำบัดในชุมชนโดยชุมชนเพื่อชุมชน น้องๆจะถูกส่งเข้าไปทำกิจกรรมต่างๆกับผู้นำชุมชน5เสือ ทั้งฝ่ายปกครอง ท้องถิ่น ตำรวจ ผู้นำศาสนา และจนท.สาธารณสุข ไปดูงานอาชีพที่สนใจในชุมชน ไปเข้าทำพิธีทางศาสนา ไปศึกษาข้อกฎหมายที่จะเกี่ยวข้อง ไปเรียนรู้ฐานต่างๆในชุมชน และกลับคืนครอบครัวมีการเตรียมปรับจูน ให้ความรู้ครอบครัวที่จะดูแล พี่ๆ5เสือก็จะคอยติดตามสุ่มตรวจปัสสาวะ ถ้าฉี่ม่วงครั้งที่1 จะถูกชุมชนภาคทัณฑ์ ฉี่ม่วงครั้ง 2 ไปลงบันทึกประจำวันที่โรงพัก ฉี่ม่วง 3 ดำเนินคดีเข้าคุก
นี่คือ loop การดูแลช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากยาเสพติดของกระทรวงสาธารณสุข เป็นการแก้ปัญหาปลายเหตุ #เราเปลี่ยน ผู้เสพเป็นผู้ป่วย ให้โอกาสรักษาคืนคนเลิกยาให้ครอบครัว #เราปลุก ปลุกชุมชนให้ล้อมรักษ์ดูแลระแวดระวังช่วยเหลือกัน สาธารณสุขทำได้แค่ตัดตอนผู้ค้ารายย่อยด้วยการลดผู้เสพไม่เพิ่มผู้ค้ารายย่อย
***แต่!!! #ผู้มีหน้าที่ปราบปราม ??#฿%@ ที่ต้นเหตุสำคัญนี่ล่ะต้องตัดตอนต้นทาง ผู้ค้ารายใหญ่ผู้ทำลายสังคมบ้านเมือง
#วันนี้หมอชลน่านถูกรุมด่า แต่ในอนาคตผู้คนจะรู้ว่าหมอชลน่านและกระทรวงสาธารณสุขตั้งใจทำอะไรให้บ้านเมือง #ตัดตอนผู้ค้ายารายย่อย
...................
19 เม.ย.2567 นพ. ชลน่าน ศรีแก้ว รมว.สธ.ติดตามงานบำบัดรักษาผู้ป่วยยาเสพติด ที่มินิธัญญารักษ์ รพ.อุทัย และชุมชนล้อมรักษ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลลุมพลี อยุธยา เผย จ.อยุธยามี CBTx“ชุมชนล้อมรักษ์" ครบทุกอำเภอรวม 43 แห่ง ปี 66 ผู้ป่วยสีเขียวสมัครใจบำบัดถึง 699 ราย มากเป็นอันดับ 7 ของประเทศ ด้าน สสส. ขับเคลื่อนงานป้องกันระดับพื้นที่หมู่บ้านชุมชนร่วมกับ สธ. เกิดพื้นที่ต้นแบบ 25 แห่ง ใน 48 จังหวัด ช่วยปกป้องเด็กและเยาวชน ไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับวงจรยาเสพติด
นพ.ชลน่าน กล่าวว่า นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี กำหนดให้การแก้ปัญหายาเสพติดเป็นวาระแห่งชาติ โดยเร่งลดความรุนแรงจากภัยยาเสพติดอย่างเป็นระบบและเห็นผลเป็นรูปธรรม ตามแนวทาง " #ปลุกชุมชนให้เข้มแข็ง_เปลี่ยนผู้เสพเป็นผู้ป่วยฯ" กระทรวงสาธารณสุข จึงบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดระบบคัดกรอง บำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้เสพยาเสพติดให้ครอบคลุมทุกระดับความรุนแรง เพื่อคืนคนสู่สังคมอย่างปลอดภัย
นพ.ชลน่าน กล่าวต่อว่า จ.พระนครศรีอยุธยา ดำเนินงานเป็นผลสำเร็จอย่างดี โดยผู้ป่วยสีแดงที่มีภาวะวิกฤติด้านจิตเวชและยาเสพติด มีหอผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดในโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไป รวม 2 แห่ง ผู้ป่วยสีส้ม ที่พ้นภาวะวิกฤติแล้ว มีมินิธัญญารักษ์ โรงพยาบาลวังน้อย ให้การบำบัดระยะกลาง (Intermediate care) ผู้ป่วยสีเหลืองที่ไม่มีปัญหาซับซ้อน จะมีมินิธัญญารักษ์ โรงพยาบาลอุทัย ให้การบำบัดระยะยาว (Long Term Care) ส่วนผู้ป่วยสีเขียว ที่เป็นผู้ใช้ยาเสพติด จะบำบัดโดย “ชุมชนล้อมรักษ์" ที่เป็นกระบวนการบำบัดโดยชุมชนมีส่วนร่วม (CBTx) ซึ่งมีครบทุกอำเภอ รวม 43 แห่ง นอกจากนี้ ยังจัดตั้งศูนย์คัดกรองผู้ติดยาเสพติด 213 แห่ง ครอบคลุมทุกตำบล ตั้งแต่ปี 2566 - ปัจจุบัน คัดกรองผู้ป่วยทั้งหมด 4,380 ราย พบเป็นกลุ่มสีแดง 120 ราย สีส้ม 1,314 ราย สีเหลือง 2,185 ราย และสีเขียว 761 ราย
“การทำงานของชุมชนล้อมรักษ์ โดยเครือข่าย 5 เสือ คือ ทหาร ตำรวจ นายอำเภอ นายก อบต. และสาธารณสุข ของพระนครศรีอยุธยา ถือว่าได้ผลเป็นที่น่าพอใจ โดยปี 2566 มีผู้ป่วยสีเขียวสมัครใจบำบัดถึง 699 ราย ซึ่งมากเป็นอันดับ 7 ของประเทศ ล่าสุด กำลังจะขยายชุมชนล้อมรักษ์เพิ่มขึ้นอีก 23 แห่ง รวมเป็น 66 แห่ง ซึ่งจะช่วยให้คืนคนสู่สังคมอย่างปลอดภัยได้มากขึ้น” นพ.ชลน่าน กล่าว
สำหรับมินิธัญญารักษ์ โรงพยาบาลอุทัย เปิดบริการเมื่อเดือนมกราคม 2567 รับเฉพาะผู้ป่วยชาย จำนวน 8 เตียง ให้การบำบัดระยะยาว (Long Term Care) ใช้ระยะเวลาประมาณ 90-120 วัน และติดตามต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 1 ปี มีผู้ป่วยเข้ารับการบำบัดรวม 11 ราย ผู้ป่วยกลับสู่ชุมชนแล้ว 5 ราย ทุกรายสามารถประกอบอาชีพ มีรายได้ 300-500 บาท/วัน โดยจากการติดตาม พบว่าผู้ป่วยไม่กลับไปเสพซ้ำ 3 ราย ส่วนอีก 2 รายที่กลับยุ่งเกี่ยวยาเสพติด ได้ติดตามดูแลเรื่องการลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติดไปพร้อมกับการบำบัดรักษา เพื่อให้สามารถเลิกยาเสพติดได้อย่างเด็ดขาด

Комментарии

Информация по комментариям в разработке