พิธีไหว้ครู 2559 / คณะวิจิตรศิลป์ รุ่น 34

Описание к видео พิธีไหว้ครู 2559 / คณะวิจิตรศิลป์ รุ่น 34

๑๐.๑๑.๕๙
“ครามฮ่อม ย้อมนิล สานจินต์ ศิลป์บูชา”
งานไหว้ครูคณะวิจิตรศิลป์ เกิดขึ้นประจำทุกปี โดยเป็นพิธีไหว้ครูแบบล้านนา และมีขบวนที่แตกต่างกันออกไปทุกปี และในแต่ละปีจะมีการคัดเลือกนางแก้ว ซึ่งเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 “นางแก้ว” ตามคัมภีร์ภาคเหนือโบราณ หมายถึง นางอิตถีรัตนะ คือนางผู้วิเศษที่มีความเพียบพร้อมดีงาม เป็นนางแก้วของจักรพรรดิ และหากออกเรือนแล้วจะกลายเป็นแม่ศรีเรือนที่ทรงค่าที่สุดของชายซึ่งมักจะ เรียกว่า “เมียนางช้างแก้ว” นอกจากนางแก้วเป็นผู้เชิญขันบายศรีขึ้นบนเสลี่ยงหลวงอันงดงามแล้วระหว่างทาง ที่ขบวนแห่ เครื่องเซ่นไหว้และนางแก้วผ่าน คือสันเขื่อนอ่างแก้วขบวนจะหยุดพักให้นางแก้วได้ลงจากเสลี่ยงเพื่อตักน้ำอันเป็นมงคลจากอ่างแก้วคือพิธีรับน้ำ “สุคนธศรี สินธุธารา สุเทพธาตุ” หมายถึงน้ำที่หลังไหลมาจาก ยอดดอยอันศักดิ์สิทธิ์ของชาวเชียงใหม่ คือดอยสุเทพ

ในปี 2559 ได้มีการนำ “ผ้าย้อมคราม” มาเป็นสร้างเป็นรูปแบบการไหว้ครูผสมผสานกับชาติพันธุ์ไทลื้อ เมืองสิงห์ สิบสองปันนาซึ่งมีประวัติคร่าว ๆ ว่า เมืองไชยสิงห์ รัตนะอะยุชะนครบุรีศรีเวียงน้ำแก้วเมืองสิงห์ ราชธานีอาณาจักรเชียงแขง มีเมืองในความปกครอง เช่น เมืองมอม เชียงแขง บ้านทราย บ้านบ่อ เมืองนัง เมืองกลาง เมืองลอง เชียงกก เมืองยู้ เมืองราย เมืองว้า เชียงขาง เมืองขัน เมืองแลม เมืองอูน เมืองนำ เป็นต้น พลเมืองส่วนใหญ่ คือชาวไทลื้อ และชาวไทเหนือ เมืองสิงห์เป็นแว่นแคว้นรัฐไทโบราณ ที่คนรู้จักน้อย มีลักษณะเป็นรัฐจารีต เป็นเมืองชายขอบของอำนาจอธิปัตย์ พึ่งพาอาศัยอำนาจรัฐที่ใหญ่กว่า ได้แก่ พม่า สยาม และจีน สับเปลี่ยนหมุนไปเรื่อย ๆ ตามแต่สถานการณ์ทางการเมือง บางครั้งเรียกว่าเมืองสามฝ่ายฟ้า - เจ้าอาณานิคม คือ อังกฤษที่ครอบครองพม่าทั้งหมดได้ และฝรั่งเศสรุกคืบมาทางฝั่งอินโดจีน ต่างอ้างความชอบธรรมของตนเหนือเมืองสิงห์ ท้ายที่สุดอาณาจักรเชียงแขงถูกแบ่งครึ่ง โดยฝั่งขวาแม่น้ำโขงตกเป็นของอังกฤษ ฝั่งซ้ายตกเป็นของฝรั่งเศส เจ้าฟ้าองค์คำ เจ้าปกครองเมืองสิงห์องค์สุดท้าย พยายามก่อกบฏ แต่ไม่สำเร็จ เมืองสิงห์จึงถูกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของลาวนับแต่นั้นเป็นต้นมา ส่วนเจ้าฟ้าองค์คำหนีไปอยู่เชียงรุ่งจนถึงแก่กรรม (ข้อความจาก วสิน อุ่นจะนำ)

การจัดทำรูปแบบขบวนและเครื่องสักการะต่างๆ ได้รับความร่วมมือจากบุคลากร นักศึกษา ศิษย์เก่า และ ศิษย์ปัจจุบันมาร่วมมือกันทำเพื่อให้เกิดขบวนที่ศักดิ์สิทธิ์และสวยงาม ทั้งเรื่องของเครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ เครื่องสักการะ และ ริ้วขบวนต่างๆ

Комментарии

Информация по комментариям в разработке