เส้นทางเพลงขับร้องของไทย จากเพลงมโหรีอยุธยาถึงเพลงไทยสากล

Описание к видео เส้นทางเพลงขับร้องของไทย จากเพลงมโหรีอยุธยาถึงเพลงไทยสากล

เสวนาและสาธิต เรื่อง เส้นทางเพลงขับร้องของไทย จากเพลงมโหรีอยุธยาถึงเพลงไทยสากล
1. เบิกรายการ : ขับเสภาไหว้ครู, ปี่พาทย์รับเพลงสาธุการ (00:00:16)
2. บรรยาย (00:05:15)
3. เพลงนางนาคร้องเนื้อเต็มรับมโหรีเครื่องสี่ (00:07:30)
4. บรรยาย (00:09:53)
5. เพลงอังคารสี่บทร้องเนื้อเต็มรับมโหรีเครื่องหก (00:13:42)
6. เพลงอังคารสี่บทร้องเอื้อนรับมโหรีเครื่องหก (00:16:16)
7. บรรยาย (00:24:42)
8. ร้องสักวาลาวคำหอม (00:32:19)
9. บรรยาย (00:36:46)
10. เพลงจีนเก็บบุปผา ร้องรับมโหรียุคปัจจุบัน (00:38:51)
11. บรรยาย (00:46:54)
12. ขับเสภาส่งเครื่อง (00:50:00)
13. บรรยาย (00:57:40)
14. เพลงทยอยใน เถา ร้องรับปี่พาทย์เสภา (00:59:52)
15. บรรยายปิดท้ายรายการช่วงเช้า (01:22:36)
ตัดตอนจากรายการเต็มเพื่อเผยแพร่การศึกษาดนตรีไทย จากแผ่น DVD ซึ่งจัดทำโดยสถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในโครงการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมประจำปี ๒๕๕๗
ดำเนินรายการหลักโดย ผศ.ถาวร สิกขโกศล
วงดนตรีจากคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วันเสาร์ที่ ๖ กันยายน ๒๕๕๗
เวลา ๐๘.๓๐ - ๑๗.๐๐ น.
ณ หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

รายนามนักดนตรี
วิรัช สงเคราะห์ : ควบคุมวง, ถ่ายทอดบทเพลง, ฝึกซ้อม, ขับร้อง
ขับร้อง : นิตยา แดงกูล, สวรรยา ทับแสง, บรรพต โปทา
ซอสามสาย : ขจิตธรรม (ดิว) พาทยกุล
จะเข้,กระจับปี่ : ประเสริฐศรี (อ้อม) ชื่นพลี
ปี่ใน : ภัทร คมขำ
ขลุ่ยเพียงออ : กัญญารัตน์ (หนูเอื้อย) ศิริชัยคีรีโกศล
ระนาดเอก,ฆ้องวงเล็ก : พรสวรรค์ (หยก) พุกเจริญ, ปยุต (ฟิล์ม)ธนพูนหิรัญ, ฐิณัช (ชิม) บรรจงจิตร
ฆ้องวงใหญ่ : สุทธินันท์ (จ๋า) โสภาภาค, ธนวิชญ์ (น๊อต) นรเทพ
ระนาดทุ้ม : ภาคภูมิ (อาร์ม) รุ่งเรือง, รณฤทธิ์ (ก๊อต) ไหมทอง
เครื่องหนัง,เครื่องจังหวะต่างๆ, ซอด้วง, ซออู้ : พรรษพงศ์ (นุก) สิขัณฑกนาค, พีรพล (คิว) อุดมลาภ, ชิตชนก (แต้ม) รัตนพันธากุล, สวรรยา (มุก) รุ่งมณีพิพัฒน์

คำสำคัญโดย ผศ.ถาวร สิกขโกศล
“พัฒนาการแห่งเพลงขับร้องของไทยนั้นเริ่มจากร้องเนื้อเต็มในยุคมโหรีเครื่องสี่แล้วร้องเอื้อนสองชั้น ในยุคมโหรีเครื่องหกและดอกสร้อย พัฒนาเป็นเพลงสามชั้นเอื้อนยาวขึ้นในเพลงสักวา ประดับประดาวิจิตรอลังการสูงสุดในยุคปี่พาทย์เสภา จากนั้นปรับปรุงสู่ความประณีตกระชับในเพลงละครดึกดำบรรพ์ เริ่มมีเพลงเนื้อเต็มแบบใหม่แล้วเพิ่มมากขึ้นในละครร้อง จนเป็นเพลงเนื้อเต็มยุคใหม่สมบูรณ์ในละครเพลง จากร้องไม่เอื้อนสู่เอื้อนและเอื้อนยาวแล้วหวนคืนสู่การไม่เอื้อน จากสูงสุดคือนสู่สามัญด้วยภูมิปัญญาไทย เกิดเพลงไทยสากลที่มาจากเพลงไทยเดิมก่อน”

Комментарии

Информация по комментариям в разработке