โหมโรงแขกมอญทางหลีก

Описание к видео โหมโรงแขกมอญทางหลีก

หากท่านเคยชมภาพบนตร์เรื่องโหมโรง หนึ่งในฉากที่บีบหัวใจที่สุดคือฉากที่พี่ชายของนายศรถูกทำร้ายจนเสียชีวิตตั้งแต่ยังอายุไม่มาก ยังไม่ทันได้ฉายแววของความเป็นศิลปินเท่าไหร่ก็ปิดฉากชีวิตลงแต่เพียงเท่านั้น

ในชีวิตของมนุษย์อันแสนสั้น การจะเป็นที่จดจำเมื่อยามละสังขารจากโลกใบนี้ไปแล้วมีอยู่เพียงไม่กี่ทาง หากเกิดในตระกูลที่มีฐานะทางสังคมดี ก็อาจสร้างสะพาน สร้างตึกสลักชื่อของตนไว้ให้คนระลึกถึงเมื่อยามจากไปแล้ว

แต่ถ้าหากคุณเป็นศิลปินทางเดียวที่ผู้คนจะจดจำคุณคือการสร้างงานศิลปะ เพลงโหมโรงแขกมอญทางหลีกที่นำเสนอในครั้งนี้ก็๋เป็นเช่นนั้น เราไม่เคยรู้เลยว่าพี่ชายของนายศรที่ชื่อสุวรรณมีนิสัยใจคอ ความคิดความอ่านในเชิงศิลปะเป็นเช่นไร แต่เราสามารถศึกษาปฏิภาณของท่านได้ผ่านผลงานของท่าน

เพลงโหมโรงแขกมอญทางหลีกเป็นเพลงโหมโรงประเภทโหมโรงเสภาใช้หน้าทับปรบไก่ มี 3 ท่อน ยาวท่อนละ 6 จังหวะ

ครูมนตรี ตราโมทและครูวิเชียร กุลตัณฑ์ ได้กล่าวถึงประวัติของเพลงนี้ไว้ในหนังสื่อชื่อ "ฟังและเข้าใจเพลงไทย" ว่า

" เพลงนี้เป็นที่นิยมกันมากในหมู่นักดนตรี ถือว่า เป็นเพลงชั้นสูงแต่โบราณมา ทำนองเดิมซึ่งเป็น ๒ ชั้น ก็เป็นชั้นเยี่ยม ครั้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ พระประดิษฐไพเราะ (ครูมีแขก) ได้คิดทำนองสามชั้นและทางเดี่ยวขึ้นมา ทางเดี่ยวนี้ ถ้านักดนตรีผู้ใดบรรเลงเดี่ยวได้ ก็ว่าเป็นผู้มีเกียรติและความสามารถมาก

เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๔ หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ได้คิดขึ้นเป็นเพลงโหมโรงเสภา สำหรับประชันวงกันระหว่างลูกศิษย์ชั้นกลางของหลวงประดิษฐ์ไพเราะ ทำนองที่คิดขึ้นนี้ เป็นทำนองหลีกสามเสียงเปลี่ยนแปลงทำนองและเสียงกลมกล่อม ใช้ทั่วทุกเสียงดนตรี บ่งถึงสำเนียงต่างๆ กัน ถ้าหากท่านฟังและสังเกต "

นอกจากนี้ยังมีข้อมูลที่น่าสนใจจากหนังสือสารานุกรมศัพท์ดนตรีไทย ภาคประวัติบทร้องและเพลงตับ ประวัติเพลงหน้าพาทย์และเพลงโหมโรง ซึ่งได้กล่าวถึงเพลงนี้ไว้ว่า

" โหมโรงแขกมอญทางหลีก เป็นเพลงที่ครูสุวรรณ ศิลปบรรเลง (เรียกกันว่า ปลัดกรมสุวรรณ) พี่ชายหลวงประดิษญไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) กับครูกล้อย ณ บางช้าง ร่วมกันแต่ง โดยแปรทางและเปลี่ยนระดับเสียงให้ต่างไปจากเพลงแขกมอญอัตรา ๒ ชั้น ของเก่า เพื่อให้เหมาะสมกับการบรรเลงเป็นเพลงโหมโรง ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๗๒ หลวงประดิษฐไพเราะได้นำมาเผยแพร่ จนเป็นที่นิยมแพร่หลายในปัจจุบัน "

** วิดีโอชุดนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเป็นสื่อกลางให้นักดนตรีที่ผ่านการเรียนเพลงดังกล่าวมาแล้วได้ทบทวน ผู้จัดทำยังเชื่อว่าการเรียนดนตรีควรเรียนกับครูผู้ชำนาญการ **

ผู้บรรเลงฆ้องวงใหญ่ : ปกป้อง ขำประเสริฐ
ฉิ่งและกลอง : เรียบเรียงในโปรแกรม FL Studio 20
Camera : Panasonic Lumix Gh4 with LUMIX G X VARIO 12-35mm / F2.8 II ASPH. / POWER O.I.S

Комментарии

Информация по комментариям в разработке