ตำนาน กินไข่พญาเงือก อำเภอแจ้ห่ม

Описание к видео ตำนาน กินไข่พญาเงือก อำเภอแจ้ห่ม

ตามตำนานพงศาวดารโยนกได้กล่าวว่าในราวพ.ศ. 1801 สมัยพระยางำเมืองได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินครองราชสมบัติแว่นแคว้นพะเยานครซึ่งในประวัติศาสตร์อำเภอแจ้ห่มได้กล่าวว่าในปีนั้นได้ส่งพญาคำแดงผู้ราชบุตรมาครองเมืองแจ้ห่มในฐานะพระยุพราชพญาคำแดงผู้ราชบุตรได้ครองเมืองพะเยาเป็นอันดับที่ 13 ของราชวงศ์พะเยา และส่งพญาคำลือผู้ราชบุตรให้มาครองเมืองแจ้ห่ม ในฐานะพระยุพราชเช่นเดียวกันจากการตรวจสอบทั้งด้านภูมิประเทศ ภาพถ่ายทางอากาศ เอกสารตำนานและนิทานพื้นบ้านต่างๆ อาจสรุปได้ถึงลักษณะเมืองแจ้ห่มโบราณว่า ในพื้นที่ดังกล่าว น่าจะมีเมืองลัวะที่สร้างขึ้นบนดอยเตี้ยๆใกล้บ้านสบมอญซึ่งมีคูคัน-ดินแบบอาศัยธรรมชาติเป็นรูปทรงของเมืองหลังจากที่เมืองถูกทิ้งให้รกร้างว่างเปล่าไปแล้ว ได้เกิดการสร้างเมืองขึ้นใหม่อีกครั้งหนึ่งในสมัยพ่อขุนจอมธรรมและมีสถานะภาพเป็นเมืองลูกหลวงหรือเมืองอุปราชของเมืองพะเยา เพราะเมื่อกษัตริย์ที่เมืองพะเยาสวรรคตแล้ว เจ้าเมืองที่ได้มาครองเมืองแจ้ห่มทุกพระองค์จะต้องเสด็จไปครองราชย์ที่เมืองพะเยาเสมอ เมืองแจ้ห่มอาจล่มสลายไปครั้งหนึ่งเพราะเหตุอุทกภัย แล้วสร้างขึ้นใหม่ อยู่สืบต่อมาจนอาณาจักรล้านนา ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า เมืองแจ้ห่มก็น่าที่จะตกอยู่ในการปกครองของพม่าด้วย ดังปรากฏร่องรอยของสถาปัตยกรรมแบบพม่าขึ้นหลายแห่งที่อำเภอแจ้ห่ม ภายหลังจากที่อาณาจักรล้านนาเป็นอิสระจากการปกครองของพม่า เมืองแจ้ห่มจึงกลับมาอยู่ในความปกครองของนครลำปาง เจ้านครลำปางได้ตั้งให้ญาติวงศ์มาประจำอยู่เมืองแจ้ห่ม คอยดูแลเก็บส่วยต่างๆส่งเข้าไปถวายเจ้าผู้ครองทุกปี เช่น ส่วยเหมี้ยง,ขี้ผึ้ง เป็นต้น ต่อมาเมื่อมีพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ประกาศใช้บังคับ ก็ได้มีการตั้งเมืองแจ้ห่ม เป็นอำเภอแจ้ห่ม และได้ก่อสร้างที่ว่าการอำเภอแจ้ห่ม หลังแรกขึ้น ณ สถานที่บ้านป่าแดด ซึ่งชาวบ้านเรียกกันว่า หนองม่วงขอ โดยมี นายเป้า (พระภูธรธุรรักษ์) เป็นนายอำเภอคนแรก สมัยนั้นชาวบ้านเรียก ที่ว่าการอำเภอว่า ศาลอำเภอ เรียกนายอำเภอว่า เจ้าอำเภอ ต่อมาได้มีการย้ายที่ว่าการอำเภอมาสร้างขึ้นใหม่ตำบลแจ้ห่ม ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งของสำนักงานเทศบาลตำบลแจ้ห่ม

#นิทานพื้นบ้าน #ตำนาน #แจ้ห่ม

Комментарии

Информация по комментариям в разработке