ความเหงาคืออะไร มีเพื่อนทำไมยังเหงา? | Shortcut ปรัชญา EP.10

Описание к видео ความเหงาคืออะไร มีเพื่อนทำไมยังเหงา? | Shortcut ปรัชญา EP.10

‘ความเหงา’ เป็นภัยคุกคามสุขภาพทั่วโลก อันตรายเทียบเท่ากับการสูบบุหรี่วันละ 15 มวน คือสิ่งที่องค์การอนามัยโลกเคยประกาศไว้ตั้งแต่ปี 2023

ความเหงาคือเรื่องสากล ไม่ว่าใครก็อาจรู้สึกเหงาได้ในบางเวลา ยิ่งในสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป วิถีชีวิตก็อาจทำให้เรายิ่งเหงาโดยไม่รู้ตัว

ทำไมเราจึงเหงา แล้วทำไมบางครั้งการมีเพื่อนหรือครอบครัวก็ไม่อาจช่วยคลายความเหงาในใจเราได้ กลับกันสำหรับบางคน ทำไมเขาถึงไม่รู้สึกเหงาแม้อยู่คนเดียว?

Shortcut ปรัชญา เอพิโสดนี้ ชวนทำความรู้จักกับความเหงาในมุมปรัชญา ความเหงาคืออะไร ทำไมในมุมหนึ่งเราจึงเป็น ‘ผู้ถูกกระทำ’ ความเหงา แล้วเราจะรับมือกับความเหงาอย่างไรได้บ้าง?

ชวนคิดชวนถามกับ ภาคิน นิมมานนรวงศ์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา

Time Index:
00:00 Highlight
00:27 เกริ่นนำ
00:46 ปรัชญาของความเหงา
03:19 ความเหงา vs. การอยู่คนเดียว
05:55 ทำไมยังเหงาแม้อยู่กับคนอื่น
10:08 ความเหงาไม่ใช่เรื่องส่วนตัว?
13:09 วิธีรับมือความเหงาของคนเมือง
18:00 เปลี่ยนความเหงาให้เป็นความสันโดษ
26:46 คำถามทิ้งท้าย

อ้างอิง:
1. องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศให้ความเหงาเป็นภัยคุกคามสุขภาพระดับโลก ซึ่งส่งผลกระทบแง่ลบต่อทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต (https://www.who.int/teams/social-dete...)

2. แนวคิดว่าจำนวนเพื่อนและกลุ่มของมนุษย์สัมพันธ์กับศักยภาพของสมองของเรา เป็นข้อถกเถียงสำคัญในสายชีววิทยาวิวัฒนาการ คนที่มีชื่อเสียงที่สุดที่เสนอแนวคิดนี้ไว้คือ รอบิน ดันบาร์ (Robin Dunbar)
หนังสือที่อ่านง่ายและเห็นประเด็นถกเถียงค่อนข้างครบถ้วน คือ “Human Evolution A Pelican Introduction” (https://www.penguin.com.au/books/huma...)

3. หนังสือของลาร์ส สเวนเซน ชื่อว่า “A Philosophy of Loneliness” (https://reaktionbooks.co.uk/work/a-ph...)
สเวนสันสรุปหนังสือของตัวเองไว้ด้วยใน Lonliness with Lars Svendsen (   • Lonliness with Lars Svendsen  )

4. งานวิจัยเรื่องความขัดแย้งระหว่างรุ่นในสังคมไทยที่พูดถึงในรายการยังไม่เสร็จสมบูรณ์ แต่แนวคิดคร่าวๆ เกี่ยวกับประเด็นนี้อ่านได้จากบทความ “Generation Clash: ก้าวข้ามความขัดแย้งแห่งยุคสมัย กับ กนกรัตน์ เลิศชูสกุล” (https://kidforkids.org/generation-cla...)

5. จริงๆ แล้ว โรเบิร์ต พัทแนมทำงานสังคมวิทยา ไม่ใช่งานปรัชญาในความหมายทั่วๆ ไป หนังสือที่ดังที่สุดที่พูดเรื่องการหายไปของพื้นที่ที่สาม คือ “Bowling Alone: The Collapse and Revival of American Community”
อ่านแนวคิดเรื่อง “พื้นที่ที่สาม” แบบง่ายๆ ได้ในบทความ “If you want to belong, find a third place” (https://www.vox.com/the-highlight/241...)

6. ความเหงายังระบาดมากกว่าในเมืองใหญ่ ซึ่งสะท้อนว่าความเหงาอาจไม่ใช่เรื่องส่วนตัวของเราล้วนๆ แต่สัมพันธ์กับปัจจัยเชิงสังคมด้วย (https://www.weforum.org/agenda/2022/0...)

7. ข้อความของปาสกาลอยู่ในหนังสือ “Pensées” ข้อที่ 139 อ่านออนไลน์ได้ที่ https://www.gutenberg.org/files/18269...

8. ข้อความของธอโรมาจากหนังสือ “Walden” ฉบับภาษาไทยแปลโดยสุริยฉัตร ชัยมงคล สำนักพิมพ์ทับหนังสือ (http://www.tubnangseu.com/product/40/...)

9. โควตของอาจารย์สรวิศ ชัยนาม ที่ฟางพูดถึง มาจากหนังสือเรื่อง “เมื่อโลกซึมเศร้า: Mark Fisher โลกสัจนิยมแบบทุน และลัดดาแลนด์” โดยสุชานาฎ จารุไพบูลย์ สำนักพิมพ์อิลลูมิเนชันส์ เอดิชันส์ (http://www.illuminationseditions.com/...)

ดูสรุปประเด็นของหนังสือได้ที่ เราไม่ได้เกลียดวันจันทร์ เราเกลียดทุนนิยม? / Have a nice day! EP89 โดย นิ้วกลม(   • เราไม่ได้เกลียดวันจันทร์ เราเกลียดทุน...  )

กดติดตาม และ กดกระดิ่ง: https://bit.ly/45KZn3w

ติดตาม THE STANDARD PODCAST ในช่องทางอื่นๆ

Website: https://www.thestandard.co/podcast
Twitter:   / thestandardpod  
Facebook:   / thestandardth  
TikTok:   / thestandard.podcast  
Spotify: https://bit.ly/3NhRWZg
Apple Podcasts: https://bit.ly/42OGIkI
SoundCloud:   / thestandardpodcast  

#ความเหงา #Shortcutปรัชญา #ปรัชญา #TheStandardPodcast #TheStandardTh #TheStandardCo #podcast #เหงา

Комментарии

Информация по комментариям в разработке