(ตอนจบ) มาต่อแมกเนติกส์ธรรมดาและแบบเงียบเพื่อใช้งานจริง

Описание к видео (ตอนจบ) มาต่อแมกเนติกส์ธรรมดาและแบบเงียบเพื่อใช้งานจริง

...เมื่อเราได้เข้าใจในวงจรของมอเตอร์ทั้ง 2 ตัวในคอยล์ร้อยแล้ว หมายถึงว่าคุณสามารถต่อสายไฟของมอเตอร์ฯและวงจรของคอมเพรสเซอร์ได้ เราก็จะมาถึงขั้นตอนในการเปลี่ยน..แมกเนติกส์-คอนแทกเตอร์ตัวเดิมกัน ?? แต่ก่อนอื่นเรามาเข้าใจในองค์ประกอบของแมกเนติกส์ กันก่อนว่ามีส่วนอะไรที่สำคัญที่เราต้องรู้กันบ้าง
Magnetic-Contactor ประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก
- ส่วนที่อยู่กับที่ ส่วนนี้จะประกอบด้วยขดลวดและแกนเหล็กบนฐาน ทำหน้าที่เกิดสนามแม่เหล็กเมื่อได้รับไฟ อาจจะเป็นไฟ 220Vac หรือไฟ 12-24Vdc ก็ได้แล้วแต่การจัดวงจร
- ส่วนที่เคลื่อนที่ได้ นั่นก็คือส่วนของหน้าสัมผัส 2 ฝั่งหรือคอนแทคซึ่งจะประกอบไปด้วยชุดสปริง สำหรับเคลื่อนที่ขึ้น-ลง เมื่อมีสนามแม่เหล็กเกิดขึ้น
**** และเมื่อชุดขดลวดได้รับไฟมาก็จะเกิดสนามแม่เหล็ก ดูดหน้าสัมผัสให้ 2 ฝั่งนั้นต่อถึงกันทำให้วงจรทำงานได้ ****
หลักของการเทียบขาเพื่อใช้งาน Magnetic-Contactor มีดังนี้
* หาขาทั้ง 2 ชุดคือชุดขดลวด (ชุดที่อยู่กับที่) และชุดหน้าคอนแทคหรือหน้าสัมผัส (ชุดที่เคลื่อนที่) *
** ชุดขดลวดจะมีเพียงชุดเดียวเท่านั้น ส่วนชุดคอนแทคหรือหน้าสัมผัสจะมี 1,2,3 ชุด แล้วแต่แมกเนติกส์ยี่ห้อ ?? หรือแบบการใช้งานั้น **
** ที่ชุดขดลวด ขาด้านหนึ่งจะต่อไฟ N รอไว้ตลอดเวลาอยู่แล้ว และจะรอรับไฟเส้น L จากแผงควบคุม (หรือที่เราเรียกว่า C สายคอนโทรล) **
*** ที่ชุดของหน้าคอนแทค จะมีอยู่ 2 ฝั่งคือฝั่งที่มีไฟเส้น L มารออยู่และฝั่งที่มีโหลด เปรียบเสมือนกับสวิทช์นั่นเอง จะทำงานเมื่อมีไฟมาจ่ายที่ชุดขดลวด เพราะฉะนั้นที่ขาของคอนแทคฝั่งหนึ่งจะมีการต่อไฟ เส้น L รอไว้ ***
**** ที่ขาของแมกเนติกส์ฯ จะมีเครื่องหมายหรือสัญญลักษ์บอกไว้ชัดเจนว่าขาไหนเป็นขาอะไร หรือมีการบอกขาต่างๆเป็นวงจรให้เราได้รู้ ที่บนหรือข้างๆตัวของแมกเนติกส์ฯ ****
ก็หวังว่าคลิปวีดีโอตัวนี้น่าจะมีประโยชน์ได้บ้างสำหรับท่านที่เพิ่งจะเริ่มสนใจและศึกษา ในเรื่องการเปลี่ยน Magnetic-Contactor ของแอร์บ้านในอาการนี้ได้พอควร ซึ่งเป็นการแนะนำการตรวจเช็คและไล่ขาการใช้งานเบื้องต้น และเชื่อว่า..ถ้าเราทำได้แล้วจะเกิดความภูมิใจและอยากต่อยอด - ทำให้ได้มากกว่านี้มากขึ้นไปอีก ถ้าไม่เข้าใจหรือมีข้อสงสัยอย่างไร ปรึกษาปัญหาได้ที่เบอร์ 084-6663328 ยินดีตอบคำถามทุกๆท่านด้วยความเต็มใจ...
ขอกราบขอบพระคุณท่านสมาชิก-และช่างมือใหม่ ที่กดติดตาม หรือผู้ที่สนใจในงานทางด้านนี้ทุกท่าน จงประสบความสำเร็จในสิ่งที่ท่านชอบและในสิ่งที่ท่านทำ ขอบพระคุณอีกครั้ง
“ขอให้ความรู้จงสถิตอยู่กับตัวท่าน”
“ขอให้ความสำเร็จจงตามไปด้วยกับท่าน”
กราบขอบพระคุณทุกท่านที่ติดตามและรับชมด้วยดีเสมอมา
สวัสดี... นายพสิษฐ์ ชัยสนองพัฒน์ 4/1/2564 01.20น.

Комментарии

Информация по комментариям в разработке