ต้นแบบพิธีกร พูดในพิธีประชุมเพลิงศพ (คลิปเต็ม พาร์ทเดียวจบ)

Описание к видео ต้นแบบพิธีกร พูดในพิธีประชุมเพลิงศพ (คลิปเต็ม พาร์ทเดียวจบ)

พิธีประชุมเพลิงศพคุณแม่อารีรัตน์ ธรรมวโร อายุ 95 ปี (มารดาบุญธรรมของท่านเจ้าคุณพิพิธ พระเทพปฏิภาณวาที เจ้าขณะเขตดุสิต รองแม่กองธรรมสนามหลวง ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสุทัศนเทพวราราม)

ณ เมรุ วัดภคินีนาถ (เชิงสะพานกรุงธน) เขตบางพลัด กรุงเทพฯ วันเสาร์ ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2566 เวลา 16.00 น.

พิธีกรคือท่านอาจารย์ พลอากาศตรีสุรินทร์ คุ้มจั่น (ป.ธ.๙) อดีตผู้อำนวยการกองอนุสาสนาจารย์ กองทัพอากาศ

》Timestamps ⏱️ #สาระสำคัญในพิธีแต่ละช่วง
00:06:08 การทอดผ้าบังสุกุลเป็นกุศลพิเศษเนื่องด้วยงานศพเท่านั้น
00:10:50 "ธุดงค์คุณ" เหตุผลที่ผ้าบังสุกุลเกี่ยวข้องกับงานศพ
00:12:35 "บุญสุดท้าย" เหตุผลที่ผ้าบังสุกุลเกี่ยวข้องกับงานศพ
00:15:12 "น้ำใจญาติ" เหตุผลที่ผ้าบังสุกุลเกี่ยวข้องกับงานศพ
00:17:03 ความรู้เกี่ยวกับเชิงตะกอนและเมรุ
00:18:34 "จุติจิต ไปสถิต สรวงสวรรค์
ทิ้งสังขาร ดับสนิท สถิตไว้
ให้ลูกหลาน ได้ทำบุญ หนุนส่งไป
สถิตใน สรวงสวรรค์ สำราญเทอญ"
"เพ่งพินิจ พิศสุวรรณ เมรุมาศ
เมรุปราสาท สวรรค์ ณ เบื้องหน้า
คือขุนเขา พระสุเมรุ ชะลอมา
เป็นที่สถิต ดาวดึงสา เทวาลัย"
00:23:22 สี่เรื่องที่ทำให้พ่อแม่นอนตายตาไม่หลับ
00:25:17 จิตดวงสุดท้ายจะไปไหน
00:31:59 ประกอบพิธีทอดผ้าบังสุกุล
00:47:21 กล่าวคำสดุดีและสังเขปประวัติคุณแม่อารีรัตน์ ธรรมวโร ผู้วายชนม์
00:57:12 ประกาศขอขมาภัย ไว้อาลัย

( #ถอดความจากคำพูดพลอากาศตรีสุรินทร์ คุ้มจั่น ป.ธ.๙ )
00:06:08 "การทอดภาพบังสุกุลนั้น มีความมุ่งหมายที่สำคัญ และถือเป็นการบำเพ็ญกุศลพิเศษ เนื่องด้วยงานศพเท่านั้น จะไม่มีการบำเพ็ญกุศลทอดผ้าบังสุกุลในงานอื่นนอกจากงานเนื่องด้วยศพหรือผู้ตาย ทั้งนี้และทั้งนั้นเพราะว่าการทอดผ้าบังสุกุลนั้น โดยเฉพาะในงานศพมีความหมายที่เกี่ยวข้องกันโดยตรง

คำว่าผ้าบังสุกุลมีความหมายถึงผ้าที่ห่อศพหรือผ้าที่ถูกทิ้งไว้ที่กองขยะ

“ผ้าที่ห่อศพ” ซึ่งในที่นี้หมายเอาเฉพาะเจาะจงคือ ศพของคนในชมพูทวีป หรือคนแขกเป็นหลัก คนตายที่ประเทศอินเดีย ประเทศปากีสถาน เนปาล ประเทศชมพูทวีป เวลาตายเขาก็เอาผ้าห่อศพ ม้วน ๆๆ แล้วก็เอาไปทิ้งแม่น้ำคงคา ไปทิ้งป่า ไปทิ้งไว้ที่กองขยะ ผู้พูดเคยไปที่ประเทศอินเดีย ยังได้เห็น
แล้วถามว่า “ผ้าห่อศพ” มันมาเกี่ยวอะไรกับคนตาย ? มันมาเกี่ยวอะไรกับพระ ? ผ้าที่ห่อศพนั้น สมัยครั้งพระพุทธกาล พระท่านเอามาทำเป็นจีวร

สมัยนี้อาจจะมองไม่เห็น เพราะว่าเราไปซื้อจีวรตามฮั่วฮะฮวด เสาชิงช้าวัดสุทัศน์

แต่สมัยก่อนสมัยพระพุทธเจ้าทรงพระชนม์อยู่นั้น ผ้าจีวรคือปัจจัยสี่หรือบริขารที่หายากที่สุด ในบรรดาปัจจัยสี่ที่สำคัญสำหรับพระ สิ่งที่หายากที่สุดคือจีวร

ผมต่อเรื่องบังสุกุลอีกนิดหนึ่ง เพราะว่าเดี๋ยวจะมีการทอดผ้าบังสุกุล แล้วพวกเราก็คงมีโอกาสได้รับเกียรติขึ้นทอดผ้าบังสุกุลในงานต่างๆของญาติมิตรที่ผ่านมาหลายวาระ

แล้วที่สำคัญก็คือในวันข้างหน้า เราก็ต้องถูกทอดผ้าบังสุกุลเหมือนกัน อันนี้ไม่ได้มาพูดสิ่งที่ไม่เป็นมงคลนะ พูดสัจธรรม ไม่ว่าเจ้าภาพ หรือไม่ว่าคนพูด หรือไม่ว่าคนฟัง ในวันข้างหน้าเราก็จะเป็นเหมือนแม่...... (ชื่อวายชนม์) แล้วก็จะมีคนเอาผ้าบังสุกุลไปวางไว้ที่ร่างเรา

ถึงวันนั้นไม่รู้จะถามใครหรอก ว่าทำไมต้องเอาผ้ามาทอดที่ตัวเราด้วย เพราะฉะนั้นก็ฟังเสียที่ยังตอนเป็นอยู่นี่แหละ

ผ้าบังสุกุลเกี่ยวข้องกับงานศพด้วยเหตุผลที่ว่า
๑) การใช้ผ้าบังสุกุลนั้นเป็นการปฏิบัติธุดงค์ ธุดงค์ที่สำคัญที่สุดของพระมี ๑๓ ข้อ ใน ๑๓ ข้อนี้มีข้อหนึ่งเรียกว่า "ปังสุกุลิกังคธุดงค์" หมายถึงพระที่ใช้ผ้าห่อศพ การใช้ผ้าห่อศพเป็นผ้านุ่งผ้าห่มนั้นถือเป็นการปฏิบัติธุดงค์ที่อุกฤษณ์ ทำแล้วพระสงฆ์นั้นจะเจริญด้วยศีลาธิคุณขัดเกลากิเลส ใกล้มรรคผลนิพพานมาก

พระพุทธเจ้าจึงกำหนดไว้ใน ๑๓ ข้อซึ่งเป็นข้อปฏิบัติที่ยากว่าพระต้องใช้พระบังสุกุลด้วยความฉลาดของคนโบราณทาบังสกุลในปัจจุบันนี้ไม่ต้องไปหาจากศพ.........

00:26:55 "คนตายทำบุญไม่ได้ รวมทั้งเทวดาด้วย นี่ขอย้ำนะ

คนตายถ้าไปเกิดในภพภูมิดี เขาก็เรียกว่า เทวดา ถ้าไปเกิดในภพภูมิต่ำ เขาก็เรียกว่าผีว่าเปรต

เพราะฉะนั้นจะเป็นเทวดาหรือจะเป็นอะไร ก็คือคนที่ตายแล้ว ตายแล้วมีกายเป็นทิพย์ มีอาหารทิพย์ มีที่อยู่เป็นทิพย์ เห็นเขาทอดผ้าป่า ทอดกฐิน สร้างพระ สร้างโบสถ์ อยากจะบริจาคสักร้อยสักพันสักหมื่นสักแสน ให้ไม่ได้ เพราะเทวดาไม่มีตังค์

จะทำบุญทั้งที เทวดาทำได้ 3 อย่างเท่านั้น
1 แปลงตัวลงมา
2 อาศัยญาติ อิงๆ อยู่กับญาติ
และ 3 ต้องรอฟังสัญญาณว่า ญาติเขาไปทำบุญแล้ว ก็รออนุโมทนา

เพราะฉะนั้น คนตายทุกคน รอบุญจากญาติมิตร ถ้าญาติมิตรไม่ทำบุญ เป็นล้านๆ ปีก็จะไม่มีอาหาร จะไม่มีทรัพย์สมบัติได้ใช้สอย เพราะเทวดาไม่สามารถจะทำบุญด้วยตนเองได้

ความเรื่องนี้ปรากฏในพระไตรปิฎกเล่มที่ 25........."
แกะเสียงพิธีกรพูดโดย: นายอาทิตย์ รักษา ป.ธ.๗, น.ธ.เอก, ศศ.บ. (ไทยคดีศึกษา)

#พิธีกรงานศพ #มหากรุงชาแนล #สาระน่ารู้เกี่ยวกับพิธีศพ

Комментарии

Информация по комментариям в разработке