พระปรุหนัง พระวัดตะไกร พระกริ่งคลองตะเคียนพิมพ์พิเศษ จ.อยุธยา

Описание к видео พระปรุหนัง พระวัดตะไกร พระกริ่งคลองตะเคียนพิมพ์พิเศษ จ.อยุธยา

พระปรุหนัง เนื้อชินเงิน กรุวัดมหาธาตุ จ.พระนครศรีอยุธยา
ประติมากรรมของขลัง ที่กำเนิดขึ้นสมัยอยุธยายุคต้น ส่วนใหญ่เป็นพระเครื่องฝีมือช่างอู่ทอง ต่อมาอิทธิพลของศิลปะอื่นๆได้ไหลมารวมอยู่ในกรุงศรีอยุธยาอีกมากมาย ขณะเดียวกันได้เกิดศิลปะอันเป็นของตนเองขึ้นมาด้วย คือ ศิลปะอยุธยาบริสุทธิ์ อาทิ พระขุนแผนเคลือบ, พระขุนแผนใบพุทรา, พระวัดตะไกร,พระซุ้มไข่ปลา และพระเครื่องพิมพ์ปรุหนัง พระเครื่องเหล่านี้ล้วนเป็นพระเครื่องสมัยอยุธยาโดยฝีมือสกุลช่างศิลปะอยุธยาบริสุทธิ์ ทั้งสิ้น กล่าวสำหรับ พระปรุหนังเป็นพระเครื่องประเภทประณีตศิลป์ กำเนิดขึ้นในสมัยอยุธยายุคต้นพุทธศิลป์ละเอียดงดงามอลังการยิ่ง เหนือพระเครื่องเนื้อชินของอยุธยาทั้งหมด ที่มีชื่อว่า พระปรุหนัง เพราะลักษณะของพิมพ์ทรงองค์พระที่ช่างยุคนั้นเทหล่อเนื้อพระแบบบางเพื่อให้องค์พระที่ได้สามารถเจาะโปร่งทะลุแบบมีลวดลายฉลุจนดูคล้ายกับ แผ่นหนังตะลุง หรือคล้ายกับแผ่นหนังใหญ่ที่ใช้เชิดในการแสดงเป็นมหรสพพื้นบ้าน แต่พระบางองค์เทหล่อมีความหนากว่าพระทั่วไปทำให้องค์พระตัน ไม่ทะลุเจาะโปร่งแบบมีลวดลายฉลุได้ พระปรุหนัง จัดเป็นพระเนื้อชินเงินอันดับหนึ่งของเมืองพระนครศรีอยุธยา ขุดพบครั้งแรกที่วัดมหาธาตุ เป็นจำนวนมาก วัดมหาธาตุสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้นอยู่ภายในกำแพงเมืองด้านหน้าพระราชวังพระกรุวัดมหาธาตุ มีหลายพิมพ์ เป็นพระเนื้อชินเงินทั้งสิ้น เช่นพระนาคปรก กรุพะงั่ว, พระอู่ทองคางเครา, พระอู่ทองพิมพ์ต่างๆ,พระขุนแผนใบพุทรา, พระซุ้มประภามณฑล รวมทั้ง พระปรุหนังที่มีความงดงามอลังการด้วยการสร้างฉลุ ลวดลายแบบประณีตศิลป์ พระปรุหนังมีหลายพิมพ์ อาทิ พิมพ์บัวเบ็ด, พิมพ์บัวก้างปลา, พิมพ์ปรุหนังเดี่ยว,พิมพ์ปรุหนังลีลา ฯลฯ แต่พิมพ์ที่นิยมสุด คือ พิมพ์บัวเบ็ดเพราะมีความสวยงามมาก พุทธลักษณะ พระปรุหนัง พิมพ์บัวเบ็ดองค์พระประนั่งปางมารวิชัย บนฐานสองชั้น บนปลายฐานด้านบนทั้งสองข้างมีโค้งกนกเล็กๆ ประดับอยู่ และในฐานแต่ละชั้นมีลายโค้งงอแบบเบ็ดตกปลาเรียงแถวตามแนวนอน แถวบนและแถวล่าง รูปเบ็ด จะเรียงโค้งงอสลับตรงข้ามกันจึงเป็นที่มาของชื่อ พิมพ์บัวเบ็ด องค์พระประทับนั่งอยู่ในซุ้มเสมา เหนือซุ้มเสมาประดับลวดลายคล้ายกิ่งไม้รวม 6 กิ่ง ข้างละ 3 กิ่งแต่ละด้านมีกิ่งเล็กที่มีลายใบไม้ 2 กิ่ง และกิ่งใหญ่ 1 กิ่ง ที่ไม่มีลวดลายใบไม้ เอกลักษณ์ของพระปรุหนัง ตรงกลางเป็นรูปพระพุทธเจ้า โดยมีพระสาวกยืนพนมมืออยู่ซ้ายและขวา ที่เศียรพระสาวกทั้ง 2มีลวดลายรอบเศียรโค้งมนขึ้นมาเชื่อมติดกับลวดลายกิ่งไม้ด้านบน พระปรุหนังมีทั้งที่เป็นแบบฉลุทั้งองค์ ครึ่งองค์ และไม่ฉลุเลย (ตันทั้งองค์) เป็นที่น่าสังเกตว่า พระปรุหนังไม่ว่าจะขุดพบจากกรุไหน ล้วนเป็นพระเนื้อชินเงินหรือชินปนตะกั่วเท่านั้นเป็นพระที่สร้างแบบเจาะโปร่งค่อนข้างบางมาก องค์พระส่วนมากจึงหักชำรุดง่าย โดยเฉพาะบริเวณพระศอ จะบางที่สุด พระที่สมบูรณ์จริงๆจึงมีไม่มากนัก พระปรุหนัง มีขนาดค่อนข้างใหญ่ตัดกรอบสี่เหลี่ยม ฐานกว้างประมาณ 4.5 ซม. สูงประมาณ 5.0 ซม.ด้านหลังแบนเรียบไม่มีลายผ้า หรือลายอื่นใด องค์พระมีผิวปรอทปกคลุมทั่วทั้งองค์ บางองค์จะปิดทองเดิมมาจากกรุบางองค์จะมีชาดแดงเก่า พุทธคุณ เป็นที่ยอมรับกันว่า ยอดเยี่ยมทางด้านแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี

การค้นพบพระกรุวัดตะไกรนั้น เล่ากันว่า ชาวบ้านได้พบเจอพระเนื้อดินที่วัดตะไกรมาราว 100 ปีกว่าแล้ว แต่ไม่มีผู้ใดสนใจ กระทั่งมีการแตกกรุครั้งแรกเมื่อประมาณปี พ.ศ.2470 หลังจากนั้นก็พบทยอยขึ้นจากกรุเรื่อยมา พระที่พบส่วนใหญ่จะเป็นพระเนื้อดินเผา ต่อมาปรากฏว่า ผู้บูชาพระติดตัวต่างมีประสบการณ์กันโดยถ้วนทั่วในด้านอยู่ยงคงกระพันและแคล้วคลาด จึงต่างนำมาบูชาขึ้นคอ จากนั้นมา ผู้คนจึงเริ่มแสวงหาและกลายเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางสืบมาถึงปัจจุบัน พระที่พบมีทั้งเนื้อดิน เนื้อชิน และเนื้อชินสนิมแดง แต่เนื้อชินและเนื้อชินสนิมแดงมีจำนวนน้อยมาก “พระเนื้อดิน” จึงเป็นที่นิยมมากกว่า องค์พระบางองค์ยังปรากฏมีการลงรักปิดทองมาจากกรุก็มี
พระกริ่งคลองตะเคียน มีแหล่งกำเนิดอยู่ที่บริเวณตำบลคลองตะเคียน อำเภอพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นตำบลเก่าแก่ที่มีมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เป็นชุมชนของชาวมุสลิมเชื้อสายมลายูที่มาทำการค้าในอยุธยา ใช้เป็นที่พำนักอาศัย ตำบลคลองตะเคียนจะมีลำคลองใหญ่ ซึ่งในอดีตเคยมีต้นตะเคียนขนาดใหญ่ขึ้นอยู่บริเวณปากคลองด้านทิศตะวันออก จึงเรียกคลองนี้ว่า ‘คลองตะเคียน’ และได้เรียกชื่อตำบลตามชื่อลำคลองว่า “ตำบลคลองตะเคียน” ต่อมา มีการแตกกรุครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 4 โดยพบองค์พระกระจายอยู่ทั่วไป และบริเวณวัดประดู่ ที่เรียกขานว่า "พระกริ่ง" คงเป็นด้วยลักษณะขององค์พระซึ่งเมื่อเขย่าแล้วจะเกิดเสียงดัง ส่วนคำว่า "คลองตะเคียน" คือแหล่งกำเนิดที่พบองค์พระครั้งแรกนั่นเอง ลักษณะเป็นพระเนื้อดินเผา ที่มีกรรมวิธีการสร้างที่ซับซ้อนและเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ เนื้อขององค์พระจะมีความแกร่งและมันหนึก เนื้อหามวลสารประกอบด้วยเนื้อดินเป็นหลัก นำมาผสมกับผงใบลาน, ว่าน 108, มวลสารศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ และ เกสรดอกไม้มงคล แต่ก็ยังคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของพระกริ่ง คือ ด้านในขององค์พระทุกองค์จะกลวง และมีการบรรจุเม็ดกริ่งเข้าไป ทำให้เวลาเขย่าจะเกิดเสียงดังเช่นเดียวกัน

Комментарии

Информация по комментариям в разработке