การใช้งานน้ำมันหอมระเหยในงานสปา

Описание к видео การใช้งานน้ำมันหอมระเหยในงานสปา

#การใช้งานน้ำมันหอมระเหยในงานสปา
สุคนธบำบัดเป็นศาสตร์การใช้น้ำมันหอมระเหย
เพื่อการส่งเสริมสุขภาพและการบำบัดแบบองค์รวม
ทั้งร่างกาย จิตใจและอารมณ์

มีรากศัพท์มาจากภาษาอังกฤษ คือ Aromatherapy
ซึ่งเป็นการผสมของศัพท์ 2 คํา คือ
Aroma ซึ่งหมายถึง กลิ่นหอม
Therapy ซึ่งหมายถึง การบําบัด
รวมกันหมายถึง การบำบัดด้วยน้ำมันหอมระเหย

มีการใช้น้ํามันหอมทางการแพทย์มานากว่าสี่พันปี
ชาวจีนใช้น้ำมันหอมระเหย เช่น น้ํามันกุหลาบ มะลิ ขิง และคาโมมายด์ร่วมกับการใช้พืชสมุนไพรต่างๆ เพื่อรักษาและบำบัดโรค

ชาวอียิปต์ใช้เครื่องหอมในการบูชาพระเจ้า ใช้น้ำมันหอมระเหยและยางไม้ เช่น เมอร์ (Myrrh) และจูนิเปอร์ (Juniper) กับมัมมี่เพื่อการรักษาสภาพศพไม่ให้เน่า

ชาวอินเดียใช้น้ํามันหอมระเหย ในศาสตร์การแพทย์อายุรเวท เช่น น้ํามันไม้จันทน์ (Sandalwood oil) เครื่องเทศ และกำยาน

ในคัมภีร์ไบเบิล ได้กล่าวกึงการใช้น้ำมันหอมระเหย
เช่น การใช้น้ำมัน Myrrh มดยอบ, cinnamon อบเชย, calamus ว่านน้ำ, olive มะกอก ที่เป็นส่วนผสมของน้ำมันศักดิ์สิทธิ์ Holy anointing oil

ในปี ค.ศ.1910 เมื่อมีนักเคมีชาวฝรั่งเศสชื่อ Rene Maurice Gattefosse ตั้งชื่อคําว่า “Aromatherapy” หลังจากได้ศึกษาคุณประโยชน์ของ น้ํามันหอมระเหยด้วยตัวเอง Rene ได้แต่งหนังสือการบําบัดด้วยน้ำมันหอมระเหยเล่มแรกในปี ค.ศ. 1937 ชื่อ Aromatherapies

สรุป คือ น้ำมันหอมระเหยถูกใช้มาอย่างยาวนาน และไม่ใช่สิ่งแปลกใหม่ ผู้คนคุ้นเคยกับน้ำมันหอมระเหยเป็นอย่างดี ตัวอย่าง แชมพู สบู่ ครีมทาผิว น้ำหอม น้ำยาล้างจน น้ำยาซักผ้า น้ำยาปรับผ้านุ่ม ชา อาหารต่างๆ ล้วนมีการใช้กลิ่นทั้งนั้น
#น้ำมันหอมระเหยมาใช้ในการนวด และใช้ #น้ำมันหอมระเหยในงานสปา
แต่จะใช้น้ำมันหอมระเหยแท้ หรือน้ำหอม ขึ้นอยู่กัวัตถุประสงค์การใช้งาน การตลาดและงบประมาณ หากต้องการผลในการบำบัด ต้องใช้
น้ำมันหอมระเหยแท้ ที่สกัดจากพืชเท่านั้น
ยิ่งเป็นน้ำมันหอมระเหย ออแกร์นิคยิ่งดี

น้ำมันหอมระเหยสกัดมาจากสารขั้นต้นและสารหอมของพืช ซึ่งสารเหล่านี้ได้ถูกเก็บไว้ตามส่วนต่างๆ ของพืช เช่น กลีบดอก เกสรของดอก เมล็ด ใบ ก้าน เปลือกของผล ราก เปลือกของลำต้น เนื้อของต้นไม้ ยางที่ออกมาจากเปลือกไม้ พืชสร้างสารต่างๆ เหล่านี้ขึ้นมาเพื่อให้เกิดการเจริญเติบโต และสืบพันธ์ุ ซึ่งก็คือสารขั้นต้น

สารขั้นต้นที่พืชสร้างขึ้น ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน

สารหอม (aromatic substance) กลิ่นที่พืชผลิตขึ้นมีบทบาทแตกต่างกันไป เช่น กลิ่นหอมของน้ำมันหอมระเหยของดอกไม้มีไว้เพื่อช่วยดึงดูดแมลงให้มาตอมจึงเกิดการผสมเกสรทำให้เกิดการแพร่พันธ์ุของพืช กลิ่นของพืชช่วยปกป้องการรุกรานจากศัตรู เช่น แมลงต่างๆ และรักษาความชุ่มชื่นแก่พืช

การจำแนกสารหอมตามโครงสร้างเคมี
กลุ่มแอลกอฮอล์ Alcohol
กลุ่มคีโตน Ketone
กลุ่มแอลดีไฮด์ Aldehyde
กลุ่มเอสเทอร์ Ester
กลุ่มเฟนนอลโพรพีน phenylpropene

โดยแต่ละกลิ่นมีความแตกต่าง
และคุณสมบัติที่ไม่เหมือนกัน
น้ำมันหอมระเหยมีสารหอมมากกว่า 1 ตัว

น้ำมัน 1 ชนิด อาจมีสารหอม มากกว่า 1 ประเภท ตัวอย่าง มะกรูด

ส่วนประกอบเคมีในน้ำมันมะกรูด
20–55% Limonene - กลุ่มเฟนนอลโพรพีน
10–45% Linalyl acetate - กลุ่มเอสเทอร์
3–12% gammaTerpinene
Linalyl Acetate อยู่ในกลุ่ม พบในลาเวนเดอร์ และแครี่เซจ มีคุณสมบัติในการผ่อนคลาย

หัวใจสำคัญของการบำบัดด้วยกลิ่น (Aromatherapy) คือ น้ำมันหอมระเหยบริสุทธ์ ซึ่งในภาษาอังกฤษเรียกมันว่า "Pure Essential Oil" ซึ่งเป็นน้ำมันที่ได้จากการสกัดจากพืช 100% ในปัจจุบันมีการนำน้ำมันหอมระเหยสังเคราะห์ "Fragrance oil or Perfume" มาใช้เนื่องจากมีราคาถูกกว่ามาก ถึงแม้กลิ่นจะใกล้เคียงแต่น้ำมันสังเคราะห์ไม่มีประโยชน์ใดๆต่อการบำบัดเลย

น้ำมันหอมระเหยเข้าสู่ร่างกายได้ 3 ทางหลัก คือ
ทางลมหายใจโดยการสูดดม
ทางผิวหนังและรูขุมขน โดยการทาไปบนผิวหนัง
การบริโภค หรือการดื่ม การกินนั่นเอง 

น้ำมันหอมระเหย เป็นสารระเหย (Volatile Substance) อยู่ในรูปแบบของน้ำมัน หากสัมผัสกับอากาศ หรือความร้อนเพียงน้อยนิดก็จะระเหย ยิ่งอุณหภูมิสูงเท่าไหร่การระเหยจะยิ่งไวมากขึ้น

น้ำมันหอมระเหยมีคุณสมบัติพิเศษคือ ละลายเข้ากันได้กับส่วนประกอบที่เป็นไขมัน จึงสามารถซึมเข้าไปในไขมันของเซลล์เยื่อบุต่างๆ ในร่างกายได้ ไม่ว่าจะเป็น ชั้นผิวหนัง เยื่อบุโพรงจมูก เยื่อบุสมอง ผนังหลอดเลือด หรือผนังท่อน้ำเหลือง และเส้นประสาทต่าง ๆ ซึ่งทําให้สามารถเข้าสู่ระบบการไหลเวียนโลหิต ระบบประสาท และการฆ่าเชื้อต่าง ๆ ในระบบน้ําเหลือง

Комментарии

Информация по комментариям в разработке