ทำไมกรรมการถึงไม่ควรกู้เงินบริษัท ? กู้แล้วจะมีปัญหาอะไร ?

Описание к видео ทำไมกรรมการถึงไม่ควรกู้เงินบริษัท ? กู้แล้วจะมีปัญหาอะไร ?

ระวังนะครับ! เปิดบริษัทมาแล้ว อย่าไปดึงเงินจากบริษัทมาใช้ ว่าแต่ทำไมถึงเป็นแบบนั้น พรี่หนอมสรุปให้ฟังในคลิปนี้ครับ

ก่อนอื่นเรามารู้จักความสัมพันธ์กันอีกทีดีกว่า ระหว่าง บุคคล กับ บริษัท ถ้าหากเรามีบริษัทขึ้นมาเมื่อไรโดยเราเป็นคนบริหาร บอกเลยว่า อันนี้เนี่ยถือว่าเป็น การแยกธุรกิจออกจากตัวเราแบบชัด ๆ ดังนั้น ในความสัมพันธ์ จะมี 2 ส่วนครับ คือ ส่วนของบุคคลตัวเรา (ที่เป็นทั้งคนถือหุ้น และกรรมการถ้ามีการบริหารด้วย) และ ธุรกิจ (บริษัท)

ดังนั้นอยู่ดี ๆ จะไปดึงเงินออกมาไม่ได้แล้ว ถ้าหากทำแบบนั้น มันจะเหมือนการที่คนหนึ่งไปยืมเงินอีกคนหนึ่ง ซึ่งจะเรียกว่าเป็นลูกหนี้ครับ เช่น ถ้าเราไปดึงเงินออกมาจากบริษัทแบบหน้าตาเฉยแบบนี้ ก็จะเท่ากับว่า เราเป็นลูกหนี้ของบริษัทครับ หรือว่า #ลูกหนี้กรรมการ นั่นเอง

ซึ่งอย่างที่เคยบอกไปในตอนก่อนหน้านี้ว่า ถ้าจะดึงเงิน เราต้องวางแผนดีๆ ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างและวางแผนตามการเหมาะสม เช่น ค่าจ้าง ถ้ามีการทำงานให้ ค่าเช่า ถ้ามีสินทรัพย์ให้เช่า และ เงินปันผลถ้าบริษัทมีกำไรแล้วจ่ายเงินปันผลแบบนี้ครับ

ทีนี้กลับมาที่คำถามต่อว่า แล้วแบบนี้ถ้าหากเราไปดึงเงินออกมา มันจะมีปัญหาอะไรบ้าง มันไม่โอเคหรอ เพราะถ้ามองจริงๆ มันก็คือสิ่งที่สามารถทำได้นี่นา จะกู้ก็กู้ไปยุ่งอะไรด้วย คำตอบที่พรี่หนอมให้มี 3 ข้อตามนี้ครับ

ข้อแรก คือ เสียโอกาสในการบริหารธุรกิจ ถ้าหากธุรกิจมีเงินสดอยู่ การที่เราจะไปดึงเงินออกมาเฉยๆ แทนที่จะเอาไปลงทุน ซื้อของ หรือทำอะไรต่อ ก็เท่ากับว่าเป็นการตัดโอกาสในการบริหาร หรือถ้าหากต้องมีการหมุนเวียนจ่ายหนี้เจ้าหนี้ ค่าจ้างพนักงาน พวกนี้ก็เท่ากับว่าอาจจะทำให้ธุรกิจมีเงินสดที่ขาดมือได้ครับ

ข้อสอง คือ ค่วามน่าเชื่อถือมันเป็นตัวบอกว่า เราบริหารจัดการผลตอบแทนของกรรมการไม่ดีหรือเปล่า ? เพราะถ้าหากบริษัทมีโครงสร้างที่ดี บริหารการเงินดี กรรมการไม่น่าจะต้องมายุ่งกับบริษัท เราอาจจะกำหนดผลตอบแทนไม่เหมาะสมหรือเปล่า โดยมาพัวพันกับเงินของธุรกิจกับเงินส่วนตัว แบบนี้ถ้าอนาคตจะขยายธุรกิจหรือหาหุ้นส่วน คนมาลงทุนเพิ่ม ก็อาจจะเกิดคำถามได้

ข้อสาม ประเด็นทางภาษี อันนี้คือข้อสำคัญเลยครับ เพราะการกู้ยืมเงินจากบริษัทนั้น เมื่อเป็นเงินกู้ กฎหมายภาษีกำหนดไว้ว่าต้องมีการคิดดอกเบี้ยในอัตราตลาดด้วย (อัตราตลาด คือ อิงตามแหล่งที่มาของเงิน ถ้าเงินเหลือ ก็ดอกเบี้ยเงินฝากประจำตามระยะเวลาที่กู้ ถ้าเงินกู้มาจากที่อื่นก็ต้องไม่ต่ำกว่าดอกเบี้ยที่กู้มา) ซึ่งตรงนี้จะมีปัญหานั่นคือรายได้ดอกเบี้ยเพิ่มครับ ต้องเอารายได้ส่วนนี้มาเสียภาษีด้วย ถือเป็นเงินได้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้ และภาษีธุรกิจเฉพาะอีกด้วยครับ

แต่ยังไม่พอครับ ไม่ใช่แค่ดอกเบี้ยแล้วจบ แต่การมีรายการเงินกู้แบบนี้ ทางสรรพากรเองจะสงสัยต่อว่า แล้วรายการพวกนี้มันใช่การกู้เงินจริงไหม อาจจะตามไปดูถึงสัญญาเงินกู้ รายละเอียดต่างๆ เพราะมันอาจจะเป็นรายการอื่นที่ไม่ใช่ก็ได้แต่มาใส่ไว้ก็ได้ และอาจจะเป็นปัญหามากมายกว่านี้ได้ครับ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่คลิปนี้เลยครับผม

0:00 Intro
0:36 ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับบริษัท
1:17 ดึงเงิน = กู้ยืมเงิน
2:07 ทำไมกรรมการไม่ควรดึงเงินจากบริษัท
2:38 ประเด็นเรื่องบริหารจัดการเงิน
3:36 ประเด็นเรื่องความน่าเชื่อถือของบริษัท
4:55 ประเด็นปัญหาด้านภาษี
5:20 กรรมการกู้เงินต้องถูกคิดดอกเบี้ย
6:55 แต่อาจจะไม่ได้กู้เงินจริงก็ได้
7:30 สรุป

พรี่หนอมทำรายการ #ภาษีONLINE เป็นรายการตอบปัญหาภาษีและแชร์เทคนิคดี ๆ เกี่ยวกับการจัดการการเงินและภาษี เจอกันประจำก่อนใครได้ที่ Line OA @TAXBugnoms ครับ

มาเป็นเพื่อนกันได้ที่นี่ : https://lin.ee/Wl40cki

Комментарии

Информация по комментариям в разработке