#ดอยลีซู

Описание к видео #ดอยลีซู

——สวัสดีครับเพื่อนๆพี่น้องลีซูทุกท่านและแขกที่มีเกียรติทุกท่านครับครับ----------------------
ผมชื่อ AGNI อาหงิครับ เป็นชาติพันธ์ุลีซูครับ มีความชื่นชอบในประเพณีและวัฒนธรรมลีซูครับ

***********และเพื่อเป็นกำลังใจให้กับเราอย่าลืมกดติดตามช่องของเรากันด้วยนนะครับ ขอบคุณครับ----- และทางเราคาดหวังว่าทั้งเราและท่านจะได้ร่วมกันทำงานเพื่อชนเผ่าของเรานะครับ ขอบคุณครับ

สำหรับพี่น้องชาวลีซูทุกท่าน หรือสมาชิกท่านใด ที่ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่วกับลีซู หรือมีความสนใจเกี่ยวกับความเป็นลีซูเพิ่มเติม ท่านสามารถติดต่อเราได้ทางช่องทาง
เพจชองเราหรือช่องของเรา

ช่องทางตามสะดวกเลยครับ

Facebook Fan page //
#AGNI
  / agni-1091743527537159  

Youtube//
Doi Lisu
https://www.youtube.com/channel/UCQVR...


“เราคือลีซูครับ”

ชนเผ่าลีซู (Lisu) ข้อมูลจาก--
---- สมาคมศูนย์รวมการศึกษาและวัฒนธรรมของขาวไทยภูเขาในประเทศไทย (ศ.ว.ท.) https://impect.or.th/?p=14991
[สืบค้นเมื่อวันที่18 มิถุนายน 2562]
ชนเผ่าลีซู (Lisu)ชื่อชนเผ่าพื้นเมืองลีซู (Lisu) หมายถึง ชนผู้ใฝ่รู้แห่งชีวิต มีความหมายมาจากรากศัพท์ 2 คำ คือคำว่า“ลี”มาจากคำว่าอิ๊หลี่ ซึ่งหมายถึง จารีตประเพณี วัฒนธรรม และวิถีปฏิบัติแห่งชีวิต ส่วนคำที่สอง คือคำว่า “ซู” มีความหมายว่า ศึกษา การเรียนรู้ ทั้งการเรียนรู้ในเชิงทฤษฏีและเชิงปฏิบัติ

ประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐาน/ถิ่นที่อยู่เป็นชนกลุ่มเชื้อสายโล – โล มีต้นกำเนิดมาจากชนผิวเหลืองหรือมองโกลอยด์ จากหลักฐานและคำบอกเล่าจากผู้เฒ่าชาวลีซู ชาวลีซูมีการมาตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนครั้งแรกอยู่ที่บ้านห้วยส้าน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย เมื่อปี พ.ศ 2451 ในปัจจุบันชาวลีซูกระจายกันตั้งบ้านเรือนอยู่ในพื้นที่ 9 จังหวัดภาคเหนือของประเทศไทย ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน จังหวัดตาก พะเยาลำปาง สุโขทัย เพชรบูรณ์และกำแพงเพชร ปัจจุบันมีชาวลีซูที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย จำนวนประมาณ 50,000 คน

ระบบครอบครัวและเครือญาติครอบครัวของชาวลีซูเป็นลักษณะครอบครัวขยาย การสืบสายตระกูล จะถือการสืบสายโลหิต ทางฝ่ายบิดาเป็นสำคัญ เมื่อบุตรชายคนโตแต่งงานต้องนำภรรยาเข้ามาอยู่บ้านบิดามารดาของตน เพราะถือว่าบุตรชายเป็นผู้ได้รับมรดกสืบแซ่สกุลและบุตรชายคนโตเป็นใหญ่ในบรรดาพี่น้อง ถ้าน้องชายแต่งงาน บุตรชายคนโตที่มีครอบครัวแล้ว จะแยกเรือนออกไปอยู่ต่างหาก การนับญาติก็จะนับถือกันไปตามศักดิ์และอายุเป็นสำคัญ ชาวลีซูใช้ระบบสายสกุลหรือตระกูล ตระกูลที่มีอยู่ในไทย ได้แก่ ต๊ะหมิ (ตามี่หรือแสนมี่) หย่าจา (แซ่ย่าง) หลี่จา (แซ่ลี้) นุหลี่ (แซ่ลี้) ซญ่อหมิ (แซ่มี่) โอชือ (แมวป่า) จูจา (แซ่จู) จญาจา (สินจ้าง) งั่วผ่า (เลายี่ปา) หว่าจา (แสนว่าง) ซือผ่า และตอจา (สีตอน)

โครงสร้างการปกครองและสังคมในอดีตโครงสร้างการปกครองที่ไม่เป็นทางการมีบทบาทสำคัญมากในชุมชน เช่น (1) มือหมือผะ (ผู้นำด้านพิธีกรรม) ทำหน้าที่ด้านพิธีกรรม (2) หนี่ผะ (หมอผี) ทำหน้าที่เชื่อมโยงระหว่างโลกมนุษย์กับโลกของวิญญาณ (3) โชโหม่วโชตี (ผู้อาวุโส) บุคคลที่มีอายุ และเป็นที่เคารพนับถือของชุมชน ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาในกิจกรรมหรือข้อพิพาษต่าง ๆ ของชุมชน ในปัจจุบัน มีโครงสร้างการปกครองทางการเหมือนนเช่นชุมชนทั้ว สำหรับโครงสร้างการปกครองที่ไม่เป็นทางการนั้น ในปัจจุบันได้ลดบทบาทน้อยลง

ความเชื่อ ประเพณี และพิธีกรรมต่าง ๆประชากรส่วนใหญ่ของลีซูนับถือศาสนาดั้งเดิม (Animism) มีส่วนน้อยที่นับถือศาสนาคริสต์ ปัจจุบันชุมชนลีซูยังมีกิจกรรมวัฒนธรรม และพิธีกรรมตามความเชื่อแบบดั้งเดิมปฏิบัติกันอยู่ เช่นเทศกาลปีใหม่ งานบูรณะอาปาโหม่ฮี หลี่ฮีฉัว (บูรณะหลุ่มฝังศพ) และพิธีทำบุญเรียกขวัญ เป็นต้น นอกจากตัวอย่างพิธีกรรมต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้นแล้วยังมีพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรธรรมและพิธีกรรมต่าง ๆ ก็มีความสำคัญและเกี่ยวข้องกับพืช ผักต่างๆ เช่นกัน

การทำมาหากิน และวิถีการผลิตพื้นบ้านอาชีพที่สำคัญของชาวลีซูคือ การทำไร่ข้าว ซึ่งในไร่ข้าวจะมี พริก ทานตะวัน ถั่ว แตง บวก และผักต่าง ๆ การทำไร่ข้าวเพียงเพื่อบริโภคภายในครอบครัวตลอดปีมากกว่าขายเป็นสินค้า การทำไร่ข้าวโพดมีความสำคัญรองจากการทำไร่ข้าว ข้าวโพดที่ผลิตได้นำไปเลี้ยงสัตว์ เช่น หมู ไก่ บริโภคเองบ้างและบางส่วนนำมาหมักต้มกลั่นเป็นสุราข้าวโพด เพื่อดื่มในระหว่างงานพิธีฉลองปีใหม่ หรืองานพิธีอื่นภายในครัวเรือนและหมู่บ้าน ส่วนพืชผักอื่น ๆ ก็ปลูกแต่เพียงพอสำหรับบริโภคในครอบครัวเท่านั้น นอกจากนี้แล้วชาวลีซูยังเลี้ยงสัตว์ต่าง ๆ เช่น ไก่ หมู แพะ แกะ ม้าอีกด้วย โดยเฉพาะหมูและไก่นั้นเป็นสัตว์เลี้ยงที่จะขาดเสียมิได้ ทุกหลังคาเรือนจะเลี้ยงสัตว์ทั้งสองชนิดนี้ ทั้งนี้เพื่อใช้ในการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ตามประเพณีของเผ่า

**หมายเหตุข้อมูลดังกล่าวอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามช่วงเวลาปัจจุบันครับ

Комментарии

Информация по комментариям в разработке