บริษัท กับ ห้างหุ้นส่วน ต่างกันยังไง แบบไหนดีกว่ากัน ? (ตอนแรก) | สร้างเสริมประสบการณ์ภาษี EP.34

Описание к видео บริษัท กับ ห้างหุ้นส่วน ต่างกันยังไง แบบไหนดีกว่ากัน ? (ตอนแรก) | สร้างเสริมประสบการณ์ภาษี EP.34

#บริษัท กับ #ห้างหุ้นส่วน ต่างกันยังไง เลือกจดแบบไหนดี ? เจ้าของธุรกิจที่กำลังสงสัย แนะนำดูคลิปนี้เลยครับ

อันดับแรก สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจ คือ ทั้งบริษัทและห้างหุ้นส่วนนั้น เป็นการทำธุรกิจในอีกรูปแบบหนึ่งที่แยกตัวเองออกจากบุคคลธรรมดา หรือที่เราเรียกกันด้วยคำว่า นิติบุคคลครับ ซึ่งแปลว่าภาษีเงินได้ที่บริษัทและห้างหุ้นส่วนจะต้องเสียนั้น ก็คือ #ภาษีเงินได้นิติบุคคล นั่นเองครับ

ทีนี้หลายคนคงเริ่มสงสัยต่อว่า เอ๊ะ ถ้าไม่ต่างกันที่เรื่องของภาษี แล้วมันต่างกันที่อะไรบ้าง พรี่หนอมสรุปนิยามเบื้องต้นของทั้งสองกลุ่มนี้ให้ฟังก่อนครับ

เริ่มที่ บริษัทกันก่อน ซึ่งชื่อเรียกเต็ม ๆ คือ บริษัทจำกัด หลักการของบริษัทเขาจะแบ่งเงินลงทุนเป็นหุ้นที่มีมูลค่าเท่า ๆ กันครับ เช่น เงินลงทุนรวม 1 ล้านบาท หุ้นละ 10 บาท ก็มีจำนวนทั้งหมด 100,000 หุ้น เจ้าของหุ้นที่ว่า เราจะเรียกในชื่อ ผู้ถือหุ้น ยิ่งมีหุ้นมากก็แปลว่ามีความเป็นเจ้าของมากครับ ซึ่งตรงนี้มีผลต่อสิทธิ์ความเป็นเจ้าของและตัดสินใจครับ โดยถ้าผู้ถือหุ้นรวมกันแล้วเกิน 50% ของทั้งหมดก็จะถือว่าอำนาจในการตัดสินใจนั่นเองครับ และการถือหุ้นจะมีผลในเรื่องของการได้รับส่วนแบ่งกำไรครับ ซึ่งส่วนแบ่งส่วนเงินปันผล จะจ่ายตามจำนวนหุ้นที่ถือครับ

อีกเรื่องที่ต้องรู้ไว้อีกเรื่องของบริษัท คือ เรื่องของความรับผิดในหนี้สินครับ ถ้ามีหนี้สินต้องชดใช้ขึ้นมา ความรับผิดของผู้ถือหุ้นจะมีแค่ส่วนของค่าหุ้นที่ชำระไม่ครบเท่านั้น ถ้าหากชำระแล้วก็จบครับ

นอกจากนั้น ธุรกิจในรูปแบบบริษัทจะมีการแยกระหว่างเจ้าของกิจการกับผู้บริหารงานอย่างชัดเจน ซึ่งกรรมการนี่แหละครับเป็นผู้ที่ทำหน้าที่บริหารบริษัท โดยกรรมการจะเป็นผู้ถือหุ้น หรือ เป็นคนอื่นที่ผู้ถือหุ้นแต่งตั้งขึ้นมาก็ได้ครับ

มาดูที่ฝั่งของห้างหุ้นส่วนกันบ้างครับ ในปัจจุบันห้างหุ้นส่วนที่เป็นนิติบุคคลจะ มีอยู่ 2 ประเภท คือ ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน กับ ห้างหุ้นส่วนจำกัด

ห้างหุ้นส่วนสามัญ ทุกคนที่เป็นหุ้นส่วนจะต้องรับผิดชอบในหนี้สินของห้างหุ้นส่วนทั้งหมด โดยไม่จำกัดจำนวนเงินร่วมกัน

ห้างหุ้นส่วนจำกัด จะมีหุ้นส่วน 2 แบบครับ หุ้นส่วนที่รับผิดจำกัด กับ หุ้นส่วนที่รับผิดไม่จำกัด ซึ่งก็ตรงตามชื่อเลยครับ หุ้นส่วนรับผิดจำกัดก็รับผิดแค่หนี้สินที่ตัวเองลงทุน กับหุ้นส่วนที่รับผิดไม่จำกัด

สำหรับการบริหารจัดการห้างหุ้นส่วน จะไม่ได้แยกออกเป็นกรรมการเหมือนบริษัท แต่จะใช้หุ้นส่วนในการบริหารจัดการครับ ในชื่อ หุ้นส่วนผู้จัดการ ซึ่งหุ้นส่วนผู้จัดการที่ว่า ต้องเป็นหุ้นส่วนแบบไม่จำกัดความรับผิดเท่านั้นนะครับผม

ส่วนการแบ่งกำไรนั้น ก็จะมีวิธีการแบ่งกำไรได้หลายรูปแบบครับ ขึ้นอยู่กับตามที่ตกลงกัน หรือจะแบ่งตามสัดส่วนเงินที่ลงทุนก็ได้ครับ

ลองฟังกันเต็ม ๆ ได้ที่คลิปนี้ครับผม
0:00 Intro
0:31 แยกธุรกิจออกมาในรูปแบบนิติบุคคล
1:26 บริษัทจำกัด คืออะไร?
2:47 ตัวอย่างการแบ่งหุ้นและสัดส่วนความเป็นเจ้าของ
3:42 รู้จักเงินปันผล (ส่วนแบ่งกำไร)
4:27 ความรับผิดในหนี้สินของผู้ถือหุ้น
5:54 เปิดบริษัทต้องมีกรรมการด้วยนะ
6:43 ห้างหุ้นส่วน คืออะไร?
7:12 ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน
7:22 ห้างหุ้นส่วนจำกัด
8:04 ห้างหุ้นส่วนต้องมีหุ้นส่วนผู้จัดการ
8:45 การแบ่งกำไรของห้างหุ้นส่วน
9:36 สรุป

#สร้างเสริมประสบการณ์ภาษี รายการใหม่ที่จะพาทุกคนไปรู้จักกับเรื่องราวต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน แต่ดันมาเกี่ยวข้องกับภาษีได้อย่างไร ? ฝากติดตามเป็นกำลังใจให้กันด้วยนะครับ

รายการนี้เกิดจากความเชื่อที่ว่าเราสามารถเรียนรู้เรื่องภาษีได้จากทุกเรื่องรอบตัว และภาษีไม่ใช่เรื่องน่ากลัวที่เราจะทำความรู้จักกับมันครับ

Комментарии

Информация по комментариям в разработке