เรื่องยากอธิบาย ตอนที่ 2 : ถ้ามีคนจากในอดีตชาติมาตามหา เพื่อขออโหสิกรรม ท่านจะทำอย่างไร ???

Описание к видео เรื่องยากอธิบาย ตอนที่ 2 : ถ้ามีคนจากในอดีตชาติมาตามหา เพื่อขออโหสิกรรม ท่านจะทำอย่างไร ???

ลิงค์ Probiotics ยี่ห้อ Longbiotic ครับ
  / longbiotic  
https://shopee.co.th/probiolife.th?ca...

เรื่องยากอธิบาย ตอนที่ 2 : ถ้ามีคนจากในอดีตชาติมาตามหา เพื่อขออโหสิกรรม ท่านจะทำอย่างไร ???
ในชีวิตของคนเราเวลาที่มีความทุกข์ พบกับอุปสรรคต่าง ๆ หลาย ๆ ท่าน ใช้วิธีการสวดมนต์บทต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้างกำลังใจ ให้มีความคิดดี คิดบวก พร้อมสู้อุปสรรค ซึ่งได้ผลกับหลาย ๆ คน

ในชีวิตของคนเราเวลาที่มีความสุข ได้โชคลาภ เชื่อกันว่า เป็นผลมาจากที่ผลบุญที่ทำมานั้นได้ส่งผล แต่เวลาพบกับความทุกข์ พบกับอุปสรรคต่าง ๆ ที่ฉุดรั้งชีวิตให้ตกต่ำลงเรื่อย ๆ มีแต่อุปสรรค ก็มีความเชื่อกันว่า อาจจะเป็นวิบากกรรมที่ได้เคยทำไว้แต่ชาติปางก่อนส่งผล ซึ่งหลาย ๆ ท่าน ใช้วิธีการสวดมนต์บทต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้างกำลังใจ ให้มีความคิดดี คิดบวก และมีสติ มีสมาธิ พร้อมต่อสู้กับอุปสรรคต่าง ๆ
การขออโหสิกรรมคืออะไร
อโหสิกรรม คือ กรรมเลิกให้ผล ไม่มีผลอีก ได้แก่ กรรมทั้งที่เป็นกุศลและอกุศล ที่เลิกให้ผล เหมือนพืชที่หมดยาง เพาะปลูกไม่ขึ้นอีก


คำว่า อโหสิกรรม มาจากคำ ๒ คำ คือ
- อโหสิ เป็นคำภาษาบาลีแปลว่า “ได้มีแล้ว” หมายความว่า ได้ให้ผลเสร็จสิ้นแล้ว
- กรฺม ซึ่งเป็นคำภาษาสันสกฤต แปลว่า การกระทำ หมายถึง การกระทำที่มีเจตนา
แปลรวมกันว่า กรรมที่ไม่ส่งผลแก่ผู้กระทำกรรมอีกต่อไป
ในภาษาไทยคำว่า อโหสิกรรม มีความหมายว่า การเลิกแล้วต่อกัน การไม่เอาโทษกัน การเลิกจองเวรกัน

ด้านดีของการอโหสิกรรม
ตามหลักพระพุทธศาสนา เชื่อว่า

1) กรรมเบาบาง อยู่ร่วมกันอย่างราบรื่น สำเร็จในชีวิตนี้ และส่งผลชีวิตหน้า
บุคคลที่ทำกรรมดีหรือกรรมชั่วโดยมีเจตนาในการทำกรรมนั้น จะต้องได้รับผลกรรมตามสมควรแก่การกระทำของตน คนที่ทำร้ายผู้อื่นคนที่คดโกงหรือฉ้อราษฎร์บังหลวงก็จะได้รับผลกรรมนั้น หรือแม้ไม่ได้รับกรรมในชาตินี้ กรรมก็จะติดตามไปส่งผลในชาติหน้า

แต่กรรมที่ทำไว้นั้นถ้าเป็นกรรมเบาอาจจะไม่ส่งผลก็ได้ หากทำให้กรรมนั้นเป็นอโหสิกรรม
นั่นคือ ในฐานะที่ชาวพุทธ เมื่อได้ประพฤติล่วงเกินผู้อื่น ก็ควรขอให้ผู้นั้นยกโทษให้ และในทำนองเดียวกันหากมีผู้มาขออโหสิกรรมจากเรา ก็ควรยกโทษให้ ไม่อาฆาต พยาบาท จองเวรกัน เมื่อปฏิบัติได้เช่นนี้ก็จะก่อให้เกิดความรักใคร่กัน และอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข

2) อานิสงส์สูง เพราะละการยึดมั่นถือมั่นในตัวตน ยกระดับก้าวสู่มรรคผลนิพพาน
อโหสิกรรมหรืออภัยทาน-สามารถทำได้จากความเมตตาที่มีอยู่เพียงพอในจิตใจ จึงมีอานิสงส์ใกล้เคียงกับธรรมทาน ที่ถือว่ามีอานิสงส์สูง เพราะเป็นการให้ปัญญา-แสงสว่างเพื่อพัฒนาจิตใจของผู้อื่นให้ก้าวหน้าไปสู่มรรค-ผล-นิพพานในที่สุดต่อไปตามวาสนาบารมีแห่งตน

วิธีการขออโหสิกรรม
1) ด้วยการอโหสิร่วมกัน ต่างฝ่ายต่างเอ่ยให้อีกฝ่ายรับรู้ด้วยใจ
ยิ่งทั้งสองฝ่าย มีความหนักแน่น จิตใจคิดอโหสิอย่างบริสุทธิ์ใจเท่าไหร่ ก็ยิ่งขาดจากเวรได้เด็ดขาดเท่านั้น

มักไม่ใช่จู่ ๆ เดินเข้ามาออกปากอภัยกันดื้อ ๆ ส่วนใหญ่ต้องร่วมสถานการณ์เลวร้ายกันมาระยะหนึ่ง แล้วมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งสำนึกได้ จึงชักชวนกันทำดีแก่กัน เช่นพูดจาญาติดีกัน มีใจเห็นภัยของพยาบาทร่วมกัน แล้วจึงปลงใจคิดอโหสิแก่กัน และต่อมาไม่มีเวรทางกาย วาจา ใจร่วมกันอีกตลอดชีวิต (เชื่อว่า หากทำได้ระยะยาว นั่นคือ กำลังของเวรจากอดีตชาติพ่ายแพ้ต่อกำลังอโหสิในชาติปัจจุบัน)
ถ้าเจอกันใหม่ ก็คงเจอด้วยความรู้สึกด้านดี

๒) ด้วยการอาศัยสัจจวาจาในการทำบุญร่วมกัน
คือ เมื่อทำบุญใหญ่ร่วมกันแล้วอ้างบุญใหญ่ที่ทำร่วมกันว่า ทำด้วยใจมีไมตรีต่อกัน ขอให้อานิสงส์ จงช่วยล้างเวรภัยระหว่างกัน หากกำลังบุญนั้นถึงพร้อม (เช่น ถวายสังฆทานกับพระอริยสงฆ์) ก็จะทำให้เกิดความอบอุ่น เบิกบานใจร่วมกัน โดยผ่านพ้นแรงอาฆาตเก่า ๆ ได้ จะรู้สึกกันเดี๋ยวนั้นว่า หมดภัยหมดเวรต่อกันแล้ว

๓) ด้วยขอโทษ และมีการยกโทษให้จากใจจริง
เมื่อเกิดการประพฤติล่วงเกินผู้อื่นด้วยกาย วาจา หรือใจ แล้วไปขอให้ผู้ที่เราประพฤติล่วงเกินยกโทษให้ เมื่อท่านยกโทษให้แล้วก็ถือว่ากรรมนั้นเป็นอโหสิกรรม ไม่ให้ผลอีกต่อไปทั้งในชาตินี้และชาติหน้า

ความจริงใจในการอโหสิกรรม
ความสำคัญของความสมัครใจ / ความจริงใจที่จะอโหสิกรรมให้กันนั้น อยู่ที่ความคิดขออภัย ให้อภัย ไม่จองเวรซึ่งกันและกัน ซึ่งพึงระวัง เนื่องจากว่า โดยมากนั้น มักจะเป็นการขออโหสิแบบมีมานะ หรือเจือด้วยโทสะแฝงในใจลึก ๆ

บางท่านเจตนาขออภัย/ขออโหสิจริง ๆ แต่แล้วในวันหนึ่ง เกิดคิดเล็กคิดน้อยขึ้นมาอีกแบบอดไม่ได้ตามประสาปุถุชน จึงมีผลให้การอโหสิกรรมนั้นให้ผลไม่เต็มที่

ท่านถึงว่าอยู่ในสังสารวัฏแล้วจะหลีกเลี่ยงสิ่งไม่น่าพึงใจนั้น ไม่มีทางเลย
ถ้าเราอโหสิกรรมให้เขา โดยที่เขาไม่ทราบ จะสามารถหยุดการผูกเวรต่อกันได้ไหม ?
ไม่สามารถหยุดผูกเวรกรรมต่อกันได้ และต่อให้เขาทราบ แต่ถ้าใจไม่ยินดีไปด้วย เวรก็ไม่อาจระงับอยู่ดี ดังกรณีพระพุทธเจ้าและพระเทวทัตที่กล่าวข้างต้น

แต่แง่ดีของการอโหสิให้เขานั้น คือใจคุณเองจะต่างไป ไม่ผูกพันอยู่กับเขาเพื่อความสูญเปล่าอีก
ภพภูมิที่เหมาะกับผู้ให้อภัย คือภูมิของสัตบุรุษ ส่วนภูมิที่เหมาะกับผู้ไม่สำนึกผิด คือภูมิของอสัตบุรุษ
ฉะนั้นโอกาสที่สัตบุรุษกับอสัตบุรุษจะโคจรมาพบกันก็ยากขึ้น โอกาสได้รับความเดือดร้อนจากเขาก็น้อยลง

เวรนั้น แม้ไม่สิ้นก็ทำให้เบาบางลงได้ เมื่อให้อภัยเขาอย่างไร้เงื่อนไขได้ชาติหนึ่ง ชาติต่อ ๆ ไปก็จะทำได้อีก และมีแนวโน้มที่จะง่ายขึ้นเรื่อย ๆ และห่างชั้นจากเขาไปเรื่อย ๆ

บางท่านถึงกับมีความเชื่อว่า เมื่อยามเจ็บไข้ได้ป่วย ก่อนที่จะกินยาทุกครั้งให้สวดบทอธิษฐานจิต อโหสิกรรมทุกครั้ง จะหายจากโรคภัยอย่างไม่น่าเชื่อ นับว่า เป็นกุศโลบายการให้กำลังใจคนป่วยได้วิธีหนึ่ง

Комментарии

Информация по комментариям в разработке