พิธีกรรมฟ้อนผีเม็งบ้านเชียงราย นครลำปาง ๑๖ มิถุนายน ๒๕๖๑

Описание к видео พิธีกรรมฟ้อนผีเม็งบ้านเชียงราย นครลำปาง ๑๖ มิถุนายน ๒๕๖๑

พิธีกรรมฟ้อนผีเม็งบ้านเชียงราย นครลำปาง ๑๖ มิถุนายน ๒๕๖๑

สันนิษฐานว่าพิธีกรรมนี้สืบเนื่องมาจากชาวมอญโบราณ โดยสังเกตได้จากการเครื่องแต่งกายแบบ “พาดเกิ่งตุ้มเกิ่ง”(พาดครึ่งหนึ่งห่มครึ่งหนึ่ง) เมื่อผีเข้ามาประทับทรงจะเป็นเครื่องแต่งตัวของมอญโบราณที่เมืองมอญ ประเทศพม่า เรียกว่า “กลิก-ฮาโลน” ซึ่งชาวมอญที่อาศัยอยู่ในแถบภาคเหนือของประเทศไทย จะเรียกว่า “เม็ง”

ผีเม็งบ้านเชียงรายในเมืองนครลำปาง
สืบทอดมาจาก เจ้าฟ้าเชียงราย นามว่าเจ้าฟ้าเพชรเม็ง(เจ้าหน้อยจิตตะ) ๒๓๐๙-๒๓๒๓ เจ้าเมืองเชียงรายในยุคประเทศราช พม่าปกครอง ต่อมาในสมัยเจ้าหลวงกาวิละได้ทำการต่อต้านพม่า และอพยพครอบครัวเจ้าฟ้าเชียงราย เจ้าฟ้าเมืองสาด(ตั้งชุมชนบริเวณวัดเมืองศาสน์) เจ้าฟ้าเมืองปุ เจ้าฟ้าเมืองพะเยา(ตั้งชุมชนบริเวณวัดปงสนุก)มาอยู่ที่เมืองนครลำปาง ครอบครัวเจ้าฟ้าเชียงรายตั้งชุมชนและสร้างวัด ชื่อว่าวัดพระเกิดแก้วเชียงราย(วัดเชียงราย) เจ้าฟ้าเพชร(เจ้าหน้อยจิตตะ) เสกสมรสกับเจ้านางสมนา มีบุตรธิดา เกิดเป็นต้นตระกูลใหญ่ดังนี้ วงษาลังการ, รายะนคร, มณฑาทอง, ขัติยะเชียงราย นอกจากนี้ยังสมรสกับตระกูลของเจ้านายสายเจ้าเจ็ดตนนครลำปาง ในยุคสมัยเจ้าแม่สุ้ม(เจ้าหญิงบัวระมวล) ประเพณีเลี้ยงผีและฟ้อนผีเม็งได้รับการทำนุบำรุงจากเจ้าหลวงเป็นอย่างดี และถือเป็นผีเม็งโฮงหลวงของเมืองนครลำปางในยุคนั้น เรียกว่า "ผีโฮงเจ้าสุ้ม" ซึ่งต่อมาเมื่อสิ้นยุคของเจ้านายแล้ว มีการแบ่งผีออกไปเพื่อประกอบพิธีตามกลุ่มสายสกุลลูกหลาน ทำให้เมืองลำปางมีตระกูลผีเม็งมากกว่า10ตระกูล

ตระกูล เจ้าฟ้าเพชรเม็ง เจ้าฟ้าเมืองเชียงราย ที่ปรากฏและเข้ามาตั้งถิ่นฐานกลุ่มใหญ่ที่บ้านเชียงราย เมืองนครลำปาง จำนวน ๕ องค์ เป็นต้นสกุลหลักที่ปรากฏหลักฐานคือ
๑. เจ้าอุปราช (เจ้าน้อยจิตวงศ์) เมืองเชียงราย และเป็นพระยาชมภู (พ.ศ.๒๓๒๖ - ๒๔๐๑) เมืองนครลำปาง
๒. พระยาชมภู (เจ้าน้อยคัมภีระ) เมืองนครลำปาง
๓. เจ้าหนานอุตมะ
๔. เจ้าหนานวงษา (ต้นสกุล “วงษาลังการ”)
๕.เจ้าชายคำแสน (ต้นสกุล “รายะนาคร” “รายะนคร”)

ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่บทความ “เจ้าเชื้อเชียงราย” ในเมืองนครลำปาง : ภูเดช แสนสา เล่าเรื่องเมืองลำปาง สำนักศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

Комментарии

Информация по комментариям в разработке