ภาวะเข่าเบียด EP.1 : ทำความรู้จักภาวะเข่าเบียดและวิธีตรวจว่าตนเองเป็นหรือไม่

Описание к видео ภาวะเข่าเบียด EP.1 : ทำความรู้จักภาวะเข่าเบียดและวิธีตรวจว่าตนเองเป็นหรือไม่

♻️ ทำความรู้จักกับภาวะเข่าเบียดขาเป็ดและวิธีตรวจว่าตนเองเป็นหรือไม่? (How to Test & Understand the Knock knee?) EP.1 ♻️
🎖Understanding and How to Test the Knock knee 🎖
มาทำความรู้จักกับภาวะขาเป็ด หรือ knock knee กันค่า ภาวะขาเป็ดจะมีลักษณะเข่าบิดเข้าด้านใน ข้างเดียวหรือ 2 ข้างก็ได้ และขาบิดเป๋ออกด้านนอก ทำให้ส่งผลต่อบุคคลิกและท่าทางการเดินต่อผู้พบเห็น นอกจากนี้ยังมีโอกาสเกิดการบาดเจ็บตามมาได้อีกด้วย
🌈 สาเหตุของการเกิดโรคนี้เป็นไปได้หลายอย่างดังนี้
1️⃣ โครงสร้างสรีระตั้งแต่เด็ก จากพันธุกรรม โรคทางระบบประสาทและกระดูก
2️⃣ อาจจะเกิดขึ้นภายหลังจากท่าทางในชีวิตประจำวัน เช่น ท่าทางการนั่ง การยืน และการเดิน
3️⃣ ภาวะอ้วนน้ำหนักตัวมาก
4️⃣ ความเสื่อมของกระดูกและข้อต่อ
5️⃣ อาการบาดเจ็บเรื้อรังของกล้ามเนื้อหรือเอ็นข้อกระดูก
6️⃣ กล้ามเนื้อบางมัดอ่อนแรง
7️⃣ โครงสร้างกระดูกผิดรูป เช่น เท้าล้ม เป็นต้น
♥️ จากโครงสร้างที่ข้อสะโพกและเข่ามีการบิดเข้าด้านใน ชนเข้าหากัน และขาด้านล่างเป๋ออก เกิดได้จากกล้ามเนื้อสะโพก ที่ทำหน้าที่กางขา และ หมุนขาออกด้านนอกเกิดการอ่อนแรง ประกอบกับกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่หุบขา ก็อยู่ในภาวะหดสั้นมีความตึงตัว ซึ่งอาจส่งผลไปถึงข้อเท้าหรือกระดูกเชิงกรานได้ เช่น ทำให้เท้าล้ม หรือเชิงกรานบิดไปด้านหน้ามากไปหลังแอ่น มากขึ้นได้นะคะ
🔑 ซึ่งบางคนอาจจะมีเข่าบิดขาเป๋ออกเยอะจนสังเกตเห็นชัดเจน หรือบางคนอาจจะเป็นไม่เยอะแต่ทำให้มีอาการปวดรวบกวนตามมา ทีนี้เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราเป็นภาวะนี้อยู่หรือไม่? ให้ลองตรวจด้วยตัวเองง่ายๆ ดังนี้
1️⃣ เอาเข่าชิดกัน แล้ววัดระยะห่างระหว่างตาตุ่มทั้ง2ข้าง หากมีระยะห่างมากกว่า 8 ซม. จะถือว่ามีภาวะขาเป็ด( knock knee )
2️⃣ ตรวจด้วยการยืนขาเดียวแล้วย่อเข่า ถ้าเข่ามีการบิดเข้าด้านใน ก็มีความเสี่ยงเช่นกันค่ะ
3️⃣ ถ้าหากลองวัดด้วยตนเองแล้วยังสงสัยไม่แน่ใจว่ามีปัญหาหรือไม่ สามารถเข้ามาปรึกษากับทางเราได้นะคะ จะมีการตรวจวัดมุมการบิดและเป๋ของเข่า(Q angle) หรือทำการ X-ray เพื่อความแม่นยำที่มากยิ่งขึ้นค่ะ
🔰 นอกจากนี้หากมีภาวะขาเป็ดเข่าเบียดแล้วปล่อยไว้ไม่ได้แก้ไขอย่างถูกต้อง อาจทำให้เกิดอาการบาดเจ็บของร่างกายตามมาได้ ซึ่งใครที่สังเกตุว่าตัวเองกำลังมีภาวะนี้อยู่ ลองติดตามดูวิธีแก้ไขได้ในคลิปถัดไปได้เลยค่ะ แต่หากใครมีภาวะนี้อยู่หรือมีอาการปวดร่วมด้วย สามารถติดต่อสอบถามหรือเข้ามาปรึกษากับทางเราเพื่อหาแนวทางการรักษาที่เหมาะสมกับแต่ล่ะท่านได้เลยนะคะ 😊
—————————————————————
🎖 Physioman Clinic
🏥 ฟิสิโอแมนคลินิกกายภาพบำบัด
☎️โทร : 091-562-9969
♻️ LINE ID : @physiomanclinic
📺 YouTube : Physiomanclinic
🔑 IG : Physioman.Clinic
📍เกษตรนวมินทร์ ตอม่อ 111
🚆 BTS : สถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (N13)

Комментарии

Информация по комментариям в разработке