หัวรถจักร GEK ในวันนี้ ตำนานที่ขับเคลื่อน รับใช้ รฟท.

Описание к видео หัวรถจักร GEK ในวันนี้ ตำนานที่ขับเคลื่อน รับใช้ รฟท.

สวัสดีครับ วันนี้เทคโฟโต้ ถ่ายไปเรื่อย พาผู้ชมมารู้จักรถจักรในตำนาน ที่หลายๆ คนที่ชื่นชอบรถไฟเห็นแล้ว ต้องรู้จักเป็นอย่างดี ส่วนคนที่ยังไม่รู้จัก ไม่รู้ความเป็นมานั้น วันนี้ก็จะมาเล่าให้ฟัง และชมภาพไปพร้อมๆ กัน
รถที่เห็นตอนนี้ คือรถจักรดีเซลไฟฟ้า เจเนอรัล อิเล็กทริก ยูเอ็ม12ซี (General Electric UM12C) หรือ จีอี (GE) เป็นรถจักรดีเซลไฟฟ้า ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย นำเข้าจาก จาก บริษัท General Electric Transportation, สหรัฐอเมริกา ซึ่งการรถไฟแห่งประเทศไทย มีรถจักรรุ่นนี้ใช้งานอยู่มากเป็นอันดับสอง รองจากรถจักร เอแอลเอส (ALS) ที่มีรถในรุ่นมากสุด ถึง 54 คัน ตั้งแต่หมายเลข 4101-4154 นำเข้ามาบ้านเรา พ.ศ. 2517 – พ.ศ. 2518 แต่รถ GEK มีจำนวนทั้งสิ้น 50 คัน
หมายเลขรถของ GEK เริ่มตั้งแต่ 4001 - 4050
นำเข้ามาและเริ่มใช้งาน ช่วงปี พ.ศ. 2507 - พ.ศ. 2509 โดยนำเข้าทั้งหมด 2 ชุด
โดยชุดแรก หมายเลข 4001-4040 นำเข้ามาก่อนในปี พ.ศ.2507
ส่วนชุดที่ 2 (4041-4050) นำเข้ามาในปี พ.ศ.2509
ปัจจุบันก็ถือเป็นรถจักรดีเซลไฟฟ้าอายุมากที่สุด ที่ยังคงใช้งานเป็นหลักอยู่

และในปัจจุบัน รถจักรดีเซลไฟฟ้า จีอี (GE) คงเหลือใช้การได้ทั้งหมด 45 คัน
ตัดบัญชีทั้งหมด 5 คัน คงเหลือตัวโครงรถอยู่ 3 คัน คือหมายเลข 4003 , 4032 และ 4035
และถูกตัดเป็นเศษเหล็กไม่เหลือเค้าโครงรถเดิม 2 คัน คือหมายเลข 4046 และ 4049

ราคาต่อคัน 4,590,384.30 บาท

ทำไมจึงเรียกันว่า GEK นั่นเพราะช่วงที่มีการเปลี่ยนเครื่องยนต์ใหม่ มาเป็นเครื่องยนต์ตะกูล KTL ทำให้ช่วงนั้นมีเครื่องยนต์ในรถจักร จีอี ถึงสองแบบ จึงมีการแยกประเภทด้วยการเติม -K ต่อท้ายชื่อรุ่น เป็น GE-K ในเอกสารการซ่อมบำรุง เพื่อแยกรถที่เปลี่ยนเครื่องยนต์แล้วกับรถที่ใช้เครื่องยนต์เดิม ปัจจุบัน GE เปลี่ยนเครื่องยนต์ครบทุกคันแล้ว จึงไม่มีความจำเป็นต้องแยกประเภท ปัจจุบัน จีอี ใช้เครื่องแบบ KT38L ซึ่งเป็นการเปลี่ยนเครื่องครั้งที่ 3 แต่ในบัญชีและเอกสารข้อมูลต่าง ๆ ยังคงใช้ GE เหมือนเดิม แต่ก็มีการเรียกติดปากเป็น GE-K อยู่บ้าง

ระบบห้ามล้อ
• ลมดูดอย่างเดียว หมายเลข 4001 - 4028 (ยกเว้น 4003 4004 4005 4006 4007 4008 4011 4016 4017 4018 4023 4026)
• ลมดูด/ลมอัด หมายเลข 4003, 4004, 4005, 4006, 4007, 4008, 4011, 4016, 4017, 4023, 4026, 4029 - 4050 (ยกเว้น 4038)
• ลมอัดอย่างเดียว หมายเลข 4018, 4038
รถจักรพิเศษ
• หมายเลข 4035 จะมีกระดิ่งหู
• หมายเลข 4030 จะมีหูสีแดงสองข้าง หลายคนเรียกว่า มิกกี้เมาส์
• หมายเลข 4001 4002 4005 4006 4007 4008 4011 4015 4016 4017 4019 4020 4021 4023 4025 4026 4029 4030 4031 4033 4034 4036 4038 4039 4042 4043 4047 4048 เป็นรถจักรที่มีการทำสีตัวรถใหม่
• หมายเลข 4029 4033 4047 เป็นรถจักรที่มีการหุ้มเกราะกันกระสุน


เหตุการณ์หัวรถจักรพุ่งชนสถานีกรุงเทพ พ.ศ. 2529 เป็นอุบัติเหตุที่เกิดเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2529[1] เวลาประมาณ 08.50 น. เมื่อขบวนรถไฟประกอบด้วยหัวรถจักรจำนวน 6 คันพ่วงติดกัน ซึ่งได้แก่หมายเลข 4029, 4042, 4044, 4010, 4006, 4043 กำลังซ่อมบำรุงอยู่ที่โรงเก็บหัวรถจักร สถานีรถไฟชุมทางบางซื่อ พนักงานขับรถไฟได้ติดเครื่องยนต์และลงจากรถโดยไม่ดับเครื่อง และทำท่าคันกลับอาการ (เกียร์ของรถไฟ) ไว้ที่ตำแหน่งเดินหน้า โดยล็อกคันเร่งไว้ที่สูงสุด เนื่องจากรถไฟใช้ระบบลมดูด เมื่อติดเครื่องยนต์ไว้สักครู่ ลมจะหมุนเวียนครบวงจร รถไฟจึงวิ่งเข้าสู่รางประธาน รถไฟวิ่งไปตามเส้นทาง ผ่านทางแยกตัดกับถนนพระรามที่ 6, ถนนประดิพัทธ์ ผ่านสถานีรถไฟสามเสน, ถนนนครไชยศรี, ถนนราชวิถี, ถนนศรีอยุธยา และถนนเพชรบุรี เป็นระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร ด้วยความเร็วประมาณ 90 กิโลเมตร/ชั่วโมง โดยไม่มีพนักงานขับรถแต่อย่างใด
ไม่กี่นาทีต่อมา เสียงรถจักรจีอีทั้ง 6 คันก็ดังขึ้นเรื่อย ๆ ในขณะที่เจ้าหน้าที่ระดมเป่านกหวีดดังลั่น รถจักรทั้ง 6 คันพุ่งเข้าปะทะแผงกั้นที่สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) แล้วทะลุเลยเข้าไปในชานชาลาสถานี ชนป้ายตารางเวลาเดินรถ ร้านค้า และเคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์โดยพุ่งเลยไปเกือบถึงหน้าถนน ขณะที่มีผู้โดยสารจำนวนมากอยู่ในสถานี ก่อนเกิดเหตุ ทางสถานีได้ออกประกาศเตือนผู้โดยสารแล้ว แต่เนื่องจากความบกพร่องของระบบกระจายเสียง ทำให้เกิดเสียงก้องกังวานและผู้โดยสารจำนวนมากไม่ทราบการแจ้งเตือนล่วงหน้า
เหตุการณ์ครั้งนี้ได้รับการเรียกขานจากสื่อมวลชนว่าเป็น รถไฟผีสิง เนื่องจากหัวรถจักรตัวเปล่า โดยไม่มีคนขับเกิดวิ่งได้เองจนชนชานชาลาสถานีกรุงเทพ นับเป็นความผิดปกติอย่างมาก บางกระแสก็กล่าวเกินเลยไปถึงขนาดตั้งข้อสังเกตว่าเป็นการวินาศกรรมหรือไม่ เป็นต้น

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%...)

Комментарии

Информация по комментариям в разработке