คนดังกับโรค : เอส กันตพงศ์ Sudden Cardiac Arrest หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน เกิดจากอะไรได้บ้าง

Описание к видео คนดังกับโรค : เอส กันตพงศ์ Sudden Cardiac Arrest หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน เกิดจากอะไรได้บ้าง

update ข่าว คุณเอส กันตพงศ์
30/5/66
ภรรยาคุณเอส เผยโฉมหน้าหมอที่เป็นคน CPR ช่วยชีวิต
https://liff.line.me/1454988218-NjbXb...

....
วันที่ 20/5/66 https://women.kapook.com/view269200.html
สาเหตุจาก กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
ดูจากคลิปที่เคยพูดไว้ เมื่อวันที่ 13/5 เวลา 12.30

คนดังกับโรค : เอส กันตพงศ์ Sudden Cardiac Arrest หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน เกิดจากอะไรได้บ้าง
“ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน” คืออะไร

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน Sudden Cardiac Arrest คือภาวะที่หัวใจทำงานผิดปกติ จนไม่มีการบีบตัวหรือหยุดเต้นทันที โดยไม่มีอาการเตือนล่วงหน้า เมื่อเกิภาวะนี้ จะไม่มีการไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย ทำให้การทำงานของอวัยวะผิดปกติ ซึ่งอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือการทำงานของสมอง เมื่อไม่มีเลือดมาเลี้ยงก็ทำให้หมดสติ การช่วยเหลือจึงจำเป็นต้องทำอย่างทันท่วงที

“ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน” VS “ภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน”
ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) ต่างกับภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน (Heart Attack) ตรงที่กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute myocardial infarction; AMI) หรือรู้จักกันว่า ภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน (Heart Attack) เกิดจากการไหลของเลือดเพื่อเลี้ยงส่วนของหัวใจถูกรบกวนทำให้เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจบางส่วนตาย ซึ่งส่วนมากเกิดจากการอุดตันของหลอดเลือดโคโรนารีที่เลี้ยงหัวใจ โดยที่หัวใจอาจจะไม่ได้หยุดเต้นขณะเกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษา อาจทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายและเสียชีวิตได้ แต่จริงๆแล้ว ภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน (Heart Attack) ก็คือสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิด ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) ได้ แต่ก็อาจเกิดจากภาวะอื่นๆ ได้อีกเหมือนกัน

เราพบ “ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน” ได้บ่อยแค่ไหน
ถึงแม้ว่าในประเทศไทยจะยังไม่มีการเก็บสถิติการเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันที่ชัดเจน แต่จากข้อมูลของประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่ามีการเกิดภาวะนี้มากถึงปีละ 300,000 – 400,000 ราย โดยจะพบมากในกลุ่มที่เป็นนักกีฬา

"สาเหตุ” ที่ทำให้หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน
ส่วนใหญ่แล้วการเกิดภาวะนี้ก็เนื่องมาจากการที่หัวใจเต้นผิดปกติ ที่เรียกว่า Ventricular Fibrillation ซึ่งในภาวะปกติ หัวใจจะผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อกระตุ้นให้หัวใจบีบตัวเป็นจังหวะ เพื่อส่งเลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย แต่เมื่อหัวใจเต้นผิดปกติชนิด Ventricular Fibrillation กระแสไฟฟ้าที่ส่งออกจากหัวใจจะเร็วและไม่เป็นจังหวะ จนทำให้หัวใจไม่บีบตัวและเลือดไม่สามารถไปเลี้ยงร่างกายได้ ผู้ป่วยจะหมดสติภายในไม่กี่วินาทีและเสียชีวิตได้ทันที แต่เราอาจให้ความช่วยเหลือได้โดยการช็อคด้วยกระแสไฟฟ้า (Electrical Shock) จากเครื่องมือที่เรียกว่า Defibrillator ซึ่งเมื่อก่อนเครื่องมือชนิดนี้มีใช้แต่เฉพาะในโรงพยาบาลหรือรถพยาบาลเท่านั้น แต่ในปัจจุบันเราอาจจะพบเครื่องมือชนิดนี้ที่สามารถใช้งานได้โดยทั่วไปที่เรียกว่า AEDs (Automatic External Defibrillators) ตามสถานที่ต่างๆ เช่น สนามบิน, โรงเรียน, สนามกีฬา หรือแม้แต่ห้างสรรพสินค้า

ใคร คือกลุ่มเสี่ยง
ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันมักจะเกิดในคนที่ดูปกติและไม่ทราบว่าเป็นโรคหัวใจมาก่อน ซึ่งความเป็นจริงแล้วเขาเหล่านั้นมักจะมีโรคหัวใจแฝงอยู่โดยที่ไม่รู้ตัว ซึ่งมีสาเหตุหลักๆ คือ
"ประเมินความเสี่ยง" ด้วยการทดสอบ
มีการตรวจหลายชนิดที่อาจจะประเมินความเสี่ยงได้ เช่น

การตรวจเลือด เช่น ระดับน้ำตาล, ไขมัน
คลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram)
คลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ (Echocardiogram) ซึ่งเป็นการตรวจที่สามารถวัด Ejection Fraction
การติดตามการเต้นหัวใจ (Holter Monitoring) โดยใช้อุปกรณ์ขนาดเล็กประมาณโทรศัพท์มือถือติดที่บริเวณหน้าอก ซึ่งจะบันทึกการเต้นของหัวใจได้ตลอดเวลานานถึง 24-48 ชม
ป้องกันไว้ก่อนได้ ด้วยไลฟ์สไตล์ “Heart Healthy Life”
พฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ดีจะสามารถลดความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน รวมทั้งโรคหัวใจได้ เริ่มตั้งแต่การกินอาหารสุขภาพ เช่นผัก, ผลไม้, พืชเมล็ดถั่ว, ปลา ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เช่นเดินเร็วประมาณ 30 นาทีให้ได้เกือบทุกๆวัน ควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม ไม่สูบบุหรี่ และดูแลรักษาโรคประจำตัว โดยเฉพาะเบาหวาน, ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง

ถ้าเจอคน “หมดสติ” นี่คือสิ่งที่ควรทำ
สิ่งแรกที่ต้องทำคือตรวจดูผู้ป่วยหมดสติ โดยเรียกหรือเขย่าตัวดูว่ายังมีการตอบสนองหรือไม่ ถ้าไม่มีการตอบสนอง ให้สังเกตว่าผู้ป่วยมีอาการกระตุกหรือชักเกร็งบ้างหรือเปล่า หรือหายใจเฮือก หรือหยุดหายใจ ถ้ามีให้สันนิษฐานไว้ก่อนเลยว่าผู้ป่วยอาจมีภาวะหัวใจหยุดเต้นฉับพลัน หลังจากนั้นจากนั้นให้รีบโทรศัพท์แจ้งเพื่อขอความช่วยเหลือ จากโรงพยาบาลทันที และเริ่มการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานด้วยการนวดหัวใจ ซึ่งอาจจะยังไม่จำเป็นต้องเป่าปากร่วมด้วย เพียงเท่านี้ก็ช่วยลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยได้แล้ว หรือถ้าบริเวณนั้นมีเครื่อง Automated External Defibrillator หรือ AED ให้รีบนำเครื่องมาใช้ทันที

Комментарии

Информация по комментариям в разработке