การแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ ตอนทศกัณฐ์ขาดเศียรขาดกร

Описание к видео การแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ ตอนทศกัณฐ์ขาดเศียรขาดกร

การแสดงนาฏศิลป์ไทย ภายในงานเฉลิมพระเกียรติ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ประจำปี ๒๕๖๗ ณ โรงละครกลางแจ้งกฤษฎารณฤทธิ์ อุทยานพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม วัน เสาร์ ที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๗

บทละครใน เรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยนั้น ทั้งพระราชนิพนธ์แก้มาจากบทละครใน เรื่องรามเกียติ์ พระราชนิพนธ์ในพระราบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ด้วยทรงมีพระราชวินิจฉัยว่าบทละครใน เรื่องรามเกียรติ์ ในพระราชบิดานั้นทรงพระราชนิพนธ์เป็นคำกลอนบรรยายเรื่องยืดยาว ราวกับทรงต้องการบันทึกเรื่องราวรามเกียรติ์เสียมากกว่า ไม่เหมาะสมแก่การนำมาใช้ทำเป็นบทการแสดงละครรำ จึงได้ทรงพระราชนิพนธ์แก้ใหม่ จับตอนตั้งแต่พระรามรับสั่งให้หนุมานนำแหวนไปถวายนางสีดา หนุมานเผากรุงลงกา พิเภกถูกขับ พระรามจองถนน องคตสื่อสาร สุครีพหักฉัตร ศึกไมยราพ ศึกกุมภกรรณ ศึกมังกรกัณฐ์และแสงอาทิตย์ ศึกอินทรชิต พิเภกครองกรุงลงกา นางสีดาลุยไฟ นางสีดาวาดรูปทศกัณฐ์ พระรามรับสั่งให้พระลักษมณ์นำ นางสีดาไปฆ่า นางสีดาประสูติพระมงกุฎ ฤๅษีชุบพระลบ พระรามปล่อยม้าอุปการ พระรามขอคืนดีกับ นางสีดา พระรามเข้าโกศ นางสีดาไปอยู่เมืองบาดาล พระอิศวรไกล่เกลี่ยและอภิเษกพระรามกับนางสีดาที่ เขาไกรลาส จบลงตอนสองกษัตริย์กลับคืนอยุธยา

สำหรับในตอนทศกัณฐ์ขาดเศียรขาดกรนี้ เป็นศึกครั้งที่ ๕ ของทศกัณฐ์ เนื้อเรื่องกล่าวถึงเมื่อครั้งทศกัณฐ์ยกกองทัพกลับเข้าเมืองลงกาก็ทราบข่าวว่านางมณโฑต้องกลหนุมานมาลวงทำลายพิธีหุงน้ำทิพย์ก็เสียใจและแค้นใจมาก วันรุ่งขึ้นทศกัณฐ์จึงได้ยกกองทัพออกไปรบด้วยตนเอง แต่เมื่อเข้าสู้รบก็กลับเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ถูกพระรามแผลงศรมาตัดร่างกายขาดเป็นท่อน ๆ แต่ไม่ถึงแก่ความตาย ด้วยทศกัณฐ์ได้ร่ายเวทมนตร์ให้ร่างกายกลับมาต่อติดได้ดังเดิม แล้วแสร้งร่ายรำและพูดจาเยาะเย้ยพระราม แต่ในใจ ก็รำพึงว่าตั้งแต่ทำสงครามมาไม่เคยพ่ายแพ้ยับเยินเหมือนครั้งนี้ ครั้นเห็นว่าล่วงเวลาใกล้ค่ำจึงออกอุบายถอยทัพกลับเข้ากรุงลงกา โดยให้สัญญากับพระรามว่าจะยกกองทัพออกมารบใหม่ในวันรุ่งขึ้น

รูปแบบการแสดง เป็นการแสดงโขนกลางแปลง ที่ใช้แบบแผนการแสดงอย่างโขนโรงใน โขนโรงใน คือ แบบแผนการแสดงโขนที่ได้รับอิทธิพลจากแบบแผนของการแสดงละครใน เรื่องรามเกียรติ์ จึงมีการนำเอากลอนบทละครมาขับร้องประกอบการแสดงอย่างการแสดงละครใน แทนการพากย์อย่างหนังใหญ่ที่เป็นแบบแผนของการแสดงโขนมาแต่เดิม เรียกอีกอย่างว่า โขนทางละคร เป็นวิวัฒนาการของแบบแผนการแสดงโขนในตำราลำดับที่สาม โดยจะมีการรำตีบทประกอบคำร้องที่บรรเลงไปตามทำนองเพลง การรำตีบทในการใช้บทเจรจาที่มีทั้งบทเจรจากระทู้และด้นสด และการรำประกอบเพลงหน้าพาทย์ อาทิ เพลงหน้าพาท์เสมอมารของทศกัณฐ์ การรำหน้าพาทย์กราวนอกของกองทัพลิง และหน้าพาทย์เชิดฉิ่งศรทนงของพระราม
จัดทำบทการแสดง โดย นายจรัญ พูลลาภ
บรรจุเพลง โดย นายสมชาย ทับพร ศิลปินแห่งชาติ
ตรวจ / แก้ไข โดย นายปกรณ์ พรพิสุทธิ์
นำแสดงโดย
พระราม - นายพิพัฒน์ รจนากร นาฏศิลปิน โขนพระ สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
พระลักษมณ์ - นายปริญเมศร์ จูไหล นาฏศิลปิน โขนพระ สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
ทศกัณฐ์ - นายวัชรวัน ธนะพัฒน์ นาฏศิลปิน โขนยักษ์ สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
ร่วมด้วยนาฏศิลปิน สำนักการสังคีต กรมศิลปากร และนักศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม

บทการแสดงอยู่ในคอมเมนต์นะจ๊ะ / หรือ
  / 1112411993519174  

Khon, Representative List of the Intangible Cultural Heritage of Humanity, on the occasion of His Majesty the King Buddha Lertla Napalai's Day, February 3rd, 2024 @ King Buddha Lertla Napalai Royal Monument Park, Amphawa District, Samut Songkhram Province
#khon #IntangibleCulturalHeritage #UNESCO #maskeddancedrama #thailand #thaiclassicalperformance #LivingHeritage

Комментарии

Информация по комментариям в разработке