ทำใบสะสมอาหารอย่างไร เพื่อเปิดตาดอกทุเรียน

Описание к видео ทำใบสะสมอาหารอย่างไร เพื่อเปิดตาดอกทุเรียน

สำหรับใบชุดแรก จะทำใบให้ใหญ่และก็สมบูรณ์ไว้หนาที่สุด คือเรียกได้ว่าอยากได้ใหญ่ขนาดให้ก็จัดให้เต็มที่…โดยการใส่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนหรือเน้นปุ๋ยตัวหน้า.แต่ก็ใช่ว่าจะไม่ใส่ปุ๋ยตัวกลางหรือตัวท้าย..โดยใช้ ปู๋ยสูตร 30-0-0 หรือ 15-0-0 ผสมกับสูตรเสมอ ว่าจะเป็น 15-15-15หรือ 16-16-16 อัตรา 1-3 กิโลกรัม/ต้น (ใช้ร่วมกับฮิวมิคอัตรา 1000มิลลิลิตร/น้ำ 200ลิตร ฉีดพ่นลงดินด้วยเครื่องฉีดแรงดันสูง ทุกๆ 7 วันจำนวน 3 ครั้ง เพื่อกระตุ้นราก...อย่าลืมนะครับ รากกับยอดมีความสัมพันธ์กัน...เมื่อมีการแตกยอดนั่นหมายความว่า...รากดูดธาตุอาหารได้แล้ว)..(จริงๆแล้วสำหรับอัตราการใส่ปุ๋ยทางดิน ผมเคยสอบถามเกษตรกรทางภาคตะวันออก หลายๆท่านบอกว่าอัตราการใช้ปุ๋ยก็ขึ้นอยู่กับการตอบสนองของทุเรียนในปีที่ผ่านมา และถามว่าควรใส่ปุ๋ยตอนไหน..การใส่ปุ๋ยก็ดูว่ามีการแตกยอดมาหรือยัง การแตกยอดของทุเรียนนั้นก็หมายความว่า...รากเดินแล้ว..เมื่อรากเดินแสดงว่าทุเรียนสามารถดูดธาตุอาหารได้แล้ว..เมื่อนั้นละครับ..เราสามารถใส่ปุ๋ยได้แล้ว) และนอกจากปุ๋ยทางดินที่เป็นธาตุหลัก เราจำเป็นต้องให้ธาตุอาหารรองอาหารเสริมทางใบด้วย...โดยการใช้ปุ๋ยเกล็ด 15-30-15 หรือ 10-20-30 ที่มีธาตุรอง อัตรา 60 กรัม ผสมสารจับใบ ฉีดพ่น 1-2 ครั้งเพื่อกระตุ้นให้แตกใบอ่อนเร็วขึ้น
หลังจากให้ปุ๋ย 10-15 วันทุเรียนก็จะเริ่มแตกใบ เมื่อมีการแตกใบอ่อนระยะที่เห็นปลายใบแดงๆหรือว่าระยะหางปลาทูให้ทำการฉีดพ่นสารป้องกันและกำจัดพวกแมลง พวกเพลี้ยไก่แจ้ และเพลี้ยจั๊กจั่นที่สร้างปัญหาให้ใบอ่อนทุเรียน..และหลังจากนั้น 45-60 หลังใบอ่อนชุดแรกแก่เต็มที่

เมื่อได้ใบแรกเราก็จะมาทำใบชุดที่ 2 กันครับ..ในการทำใบชุดที่ 2 และชุดที่ 3 จะต้องทำให้เล็กกว่าชุดแรก คำว่าใบเล็ก ต้องเป็นใบเล็กที่สมบูรณ์....ไม่ใช่ใบเล็กแบบใบเหลืองขาดธาตุอาหาร...และทำไมเราต้องทำให้ใบที่ 2 ใบที่ 3 เล็กกว่าชุดแรก ...เหตุผลก็คือ ใบเล็กจะไม่ดึงอาหารไว้ที่ใบ...อาหารจะส่งมาที่ท้องกิ่งเพื่อเตรียมการออกดอก ออกผลผลิต

เมื่อรู้เหตุผลของการทำให้ใบเล็กกันแล้ว...แล้วจะทำยังไง...ให้ใบเล็กละ...ซึ่งในใบชุดแรกนั้นเราบอกแล้วว่าต้องทำใบให้ใหญ่ คือต้องให้ไนโตรเจนสูงๆ เอาให้ใบใหญ่สะใจเราไปเลย..แต่มาใบชุดที่ 2 เราต้องควบคุมเรทค่า C:N Ratio โดยใบชุด 2 ต้องควบคุมสัดของไนโตรเจน คือ N ให้ต่ำกว่า ค่า C ก็คือคาร์โบไฮเดรต (หรือควบสัดส่วนของไนโตรเจนให้ห่างกับคาร์โบไฮเดรต) ซึ่งคาร์โบไฮเดรตเราก็รู้อยู่ว่าได้มาจากการสังเคราะห์แสงของพืชซึ่งจะอยู่ในรูปของแป้ง... เอาง่ายๆ ก็คือใบชุดที่ 2 เราจะลดปุ๋ยตัว N หรือไนโตรเจนเพื่อควบคุมโครงสร้างของใบให้เล็กลง.. โดยใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ 15-15-15 หรือ 16-16-16 ร่วมกับ สูตรหน้าต่ำ กลางท้ายสูง อาจจะใช้ปุ๋ยเกล็ดสูตร 10-52-17 หรือ 0-42-56 ฉีดพ่นทางใบ เพื่อกดโครงสร้างใบให้เล็ก

และเช่นเคยครับห้ามลืมเด็ดขาดเรื่อง แมลง เพลี้ย หนอน....เมื่อมีการแตกใบอ่อนระยะที่เริ่มหางปลา…ให้ทำการฉีดพ่นสารป้องกันและกำจัดพวกแมลง พวกเพลี้ย หนอน....และให้เพิ่มยาราในช่วงใบชุดที่ 2 เพราะระยะนี้ ฝนเริ่มหนัก ความชื้นเริ่มมา...เชื้อราก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญของทุเรียน โดยเฉพาะเชื้อราไฟท็อปเธอร่าครับ...สำหรับใครทำสาร ก็สามารถตบด้วย 8-24-24 ในใบชุดที่ 2 ได้เลย..หลายๆสวนบอกว่าการใช้ 8-24-24 ไม่ควรใช้เยอะเพราะฟอสฟอรัสจะตกค้างในดิน..ซึ่งจะส่งผลให้ฟอสฟอรัสในบล็อกจุลธาตุอื่นๆ ไว้ ทำให้พืชไม่สามารถนำไปใช้งานได้ ก็อาจจะใช้ปุ๋ยเกร็ด หน้าต่ำ กลาง ท้ายสูงๆฉีดพ่นทางใบแทนครับ

และในการทำใบชุด 3... เราจะทำให้เล็ก หรือเท่าใบชุดที่ 2 ก็ได้ สำหรับเรื่องปุ๋ยก็เหมือนใบชุด 2 ครับ ใช้สูตรเสมอ…ตบด้วย 8-24-24 ให้ปุ๋ยตัว P สูงๆ (หรือจะใช้ปุ๋ยเกร็ดสูตรหน้าต่ำกลางท้ายสูงฉีดพ่นทางใบ) ซึ่งการทำงานของฟอสเฟตจะไปบล็อคธาตุอาหารตัวอื่นตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น...เมื่อทุเรียนไม่ได้รับธาตุอาหาร ทุเรียนจะเริ่มเครียด...ซึ่งเมื่อทุเรียนเครียดจะมีการออกดอก...แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นปัจจัยการออกดอกของทุเรียนก็ขึ้นอยู่กับสภาพดิน สภาพภูมิอากาศ... โดยปกติสภาพภูมิอากาศทางเขตร้อนอย่างไทย...เมื่อทุเรียนผ่านกระบวนการสะสมอาหารในฤดูฝนมา..พอเริ่มเข้าปลายฝนต้นหนาวอากาศจะเริ่มเปลี่ยนแปลง..เริ่มมีลมหนาวเข้ามากระทบ...เมื่อทุเรียนผ่านสภาพอากาศที่แล้งในระยะหนึ่ง มีการโศกของทุเรียน ทำให้ทุเรียนเครียด...เมื่อทุเรียนเครียด...คิดว่าตัวเองกำลังจะตายจึงทำการออกดอกเพื่อขยายเผ่าพันธ์ นี่เป็นปฏิทินธรรมชาติของทุเรียนและผลไม้เมืองร้อนครับ....แต่ถ้าปัจจุบัยสภาพอากาศมีการเปลี่ยนแปลงสูง ไม่ว่าจะเป็นฝนหลงฤดู ฝนมาต่อเนื่อง ก็จะส่งผลต่อการออกดอกของทุเรียนได้ครับ


ติดต่อฅนเกษตร :   / konkaset89  
ติดต่อทีมงาน Production :   / korkai.studio9  

Комментарии

Информация по комментариям в разработке