Vacuum ทำงานอย่างไร ..? คอมฯทำ Vacuum-ได้มั๊ย ..??เอาความชื้นออกจากระบบ ..ให้ได้ผลดี ???

Описание к видео Vacuum ทำงานอย่างไร ..? คอมฯทำ Vacuum-ได้มั๊ย ..??เอาความชื้นออกจากระบบ ..ให้ได้ผลดี ???

… มีคำถามที่เกี่ยวกับเครื่องมือในการทำสุญญากาศในระบบของแอร์และตู้เย็น นั่นก็คือตัวแวคคั่ม [Vacuum]ว่า เราจะสามารถนำคอมเพรสเซอร์ทั้งของแอร์และตู้เย็นมาทำหน้าที่แทนตัวแวคคั่ม ...ได้หรือไม่ ซึ่งก็มีคำตอบทั้ง 2 ฝั่งก็คือได้และไม่ได้
... เพราะฉะนั้นเรามาหาคำตอบกันดีกว่าว่า เราจะสมควรนำเอาคอมเพรสเซอร์มาทำเป็นเครื่องแวคคั่มหรือไม่ ก่อนอื่นเรามาดูหน้าที่และการทำงานของเครื่องแวคคั่ม [Vacuum] กับคอมเพรสเซอร์ [Compressor] ที่แตกต่างกันก่อน
- คอมเพรสเซอร์ [Compressor] ทำหน้าที่ดูด/อัดน้ำยา หมุนเวียนภายในระบบ เพื่อให้น้ำยาที่มีในระบบเปลี่ยนสภาพหลังจากไอหรือก๊าซถูกอัดออกไปด้วยแรงดันที่สูง แล้วกลายสภาพเป็นของเหลวแรงดันสูง ก่อนถูกลดแรงดันด้วยแคปทิ้ว หรือท่อรูเข็มหรือหัวฉีดน้ำยา เป็นของเหลวแรงดันต่ำ จนเดือดระเหยภายในอีแวปเปอร์เรเตอร์ แลกเปลี่ยนความร้อนภายในห้องหรือตู้ และกลายสภาพเป็นไอหรือก๊าซ กลับเข้าสู่คอมฯ ทางด้านดูด
- เครื่องทำสุญญากาศ [Vacuum] ทำหน้าที่นำเอาอากาศที่อยู่ภายในระบบที่ปิดของระบบท่อ [ไม่ว่าจะเป็นระบบของตู้เย็นหรือแอร์] โดยใช้หลักการของการลดแรงดันของบรรยากาศภายในระบบให้ต่ำลง พร้อมกับดูดความชื้นที่มีอยู่ในระบบออกไป จนกระทั่งไม่มีอากาศและความชื้นหลงเหลืออยู่
... หลักการของเครื่องแวคคั่มที่พอจะอธิบายให้เข้าใจได้ง่ายๆก็คือ ภายในตัวแวคคั่มจะมีปั๊มสูญญากาศ ที่จะทำให้เกิดแรงดันต่ำ เพื่อให้อากาศแรงดันสูงไหลเข้ามาเติมเต็มภายในห้องทำสูญญกาศ ที่เปรียบเสมือนกับดัก ดักเอาอากาศแรงดันสูงอัดออกไปทิ้งภายนอก อย่างต่อเนื่อง ทำให้ระบบที่เราแวคคั่มเป็นสูญญากาศได้
... เช่นเดิมก็หวังว่าคลิปวีดีโอนี้คงจะเป็นประโยชน์ได้บ้างไม่มากก็น้อย สำหรับท่านที่มีข้อสงสัยในคำอธิบายสามารถโทรสอบถาม ได้ที่เบอร์ 084-6663328 ได้ตลอดเวลา ถ้าไม่ได้รับสายก็พักซักครู่แล้วลองโทรใหม่ อาจจะขับรถ หรืออยู่หน้างาน อาจจะไม่สะดวกรับสายในขณะนั้น
“ ขอให้ความรู้จงสถิตอยู่กับตัวท่าน “
“ ขอให้ประสบความสำเร็จในงานที่ทำ “
.... กราบขอบพระคุณสำหรับการรับชมและติดตาม สามารถสนับสนุนช่องยูทูปของเราได้ที่ ธ.กสิกรไทย สาขาบางพลัด เลขที่บ/ช 089-8-70371-1 นายพสิษฐ์ ชัยสนองพัฒน์
ออกอากาศเมื่อวันอาทิตย์ที่ 2 กรกฏาคม พ.ศ.2566 เวลา 16.30 น.

Комментарии

Информация по комментариям в разработке