บทสวดมาติกา

Описание к видео บทสวดมาติกา

การสวดมาติกา คือ การสวดบทมาติกาของอภิธรรมเจ็ดคัมภีร์หรือที่เรียกว่า "สัตตัปปกรณาภิธรรม" ซึ่งมีการบังสุกุลเป็นที่สุด เป็นประเพณีนิยมจัดให้สงฆ์สวดในงานทำบุญหน้าศพย่างหนึ่ง เรียกโดยโวหารทางราชการในงานหลวงว่า "สดัปปกรณ์" แต่ราษฎรสามัญทั่วไปเรียกว่า "สวดมาติกา" โดยจัดเป็นพิธีต่อ จากสวดพระพุทธมนต์เย็นบ้าง ถ้ามีเทศน์ต่อจากสวดพระพุทธมนต์เย็น ก็จัดพิธีต่อจากสวดมาติกาต่อจากพิธีเทศน์และจัดให้มีต่อจากพิธีเลี้ยงพระในวันรุ่งขึ้นบ้างจัดให้มีก่อนฌาปนกิจศพบ้าง นับเป็นพิธีทำบุญแทรกในระหว่างงานทำบุญศพ ระยะใดระยะหนึ่งได้ทั้งนั้น ตามแต่ศรัทธาของเจ้าภาพจะพึงเห็นเหมาะและจัดให้มีในระยะไหน ระเบียบการจัดพิธีสวดมาติกานี้ ทั้งฝ่ายเจ้าภาพ และฝ่ายพระภิกษุสงฆ์ ไม่พิสดารอะไร

http://www.kalyanamitra.org/th/articl...

ทำไมจึงใช้สวดศพคนตาย

ประการแรก พระอภิธรรมนั้น เป็นธรรมล้วนๆ ไม่กล่าวถึงบุคคล มีเนื้อหาสาระที่ลึกซึ้ง แม้จะฟังคำแปลแล้วก็ยังเข้าใจได้ยาก การที่นำเอาพระอภิธรรมมาสวดในงานศพ ก็เพื่อให้ผู้ฟังได้เข้าใจความจริงของสังขารที่เกิดมาแล้วก็จะต้องพบกับความแก่ ความเจ็บ และความตาย โดยมีศพเป็นตัวอย่างมองเห็นเฉพาะหน้า แต่ถ้าผู้ฟังพอจะรู้คำแปลอยู่บ้าง ก็จะเข้าใจความหมายได้ลึกซึ้งดีขึ้น

ประการที่สอง มีคตินิยมว่า การสวดพระอภิธรรมเป็นการสนองพระคุณของมารดาบิดา ตามแบบอย่างที่พระจริยาวัตรขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ได้เสด็จขึ้นไปบนสวรรค์ชั้นดาวดึงโปรดพุทธมารดา ที่ได้สิ้นพระชนม์แล้ว ต่อมา แม้ผู้วายชนม์นั้นๆ จะมิใช่มารดาบิดาก็ตาม แต่ก็ถือเป็นประเพณีที่ผู้บำเพ็ญกุศลจะได้อุทิศไปให้ผู้วายชนม์นั้น

ประการที่สาม การที่นำเอาพระอภิธรรมเข้ามาเกี่ยวโยงสัมพันธ์กับกุศลพิธีเนื่องในงานศพดังกล่าว จะเป็นวิธีหนึ่งของการป้องกันมิให้พระสัทธรรม คือพระอภิธรรมอันตรธานหายไป

ประเพณีการสวดพระอภิธรรมหน้าศพ นั้นเกิดขึ้นมายาวนาน นับแต่พระพุทธศาสนาเข้ามาสู่ประเทศไทยแล้ว แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าเริ่มเมื่อใด รู้เพียงว่าเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาตั้งแต่ดั้งเดิม นับแต่ประเทศไทยรับเอาพระพุทธศาสนามาเป็นศาสนาประจำชาติ ประจำจิตใจชาวไทยมาแต่โบราณกาลตั้งแต่ยุคล้านนา ยุคกรุงสุโขทัย ยุคกรุงศรีอยุธยา ยุคกรุงธนบุรี และมาถึงยุครัตนโกสินทร์ จวบจนปัจจุบัน

http://www.dhammajak.net/forums/viewt...

พระอภิธรรมปิฎก ประมวลพระพุทธพจน์หมวดพระอภิธรรม คือ หลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชา
ล้วนๆ ไม่เกี่ยวด้วยบุคคลหรือเหตุการณ์ แบ่งเป็น ๗ คัมภีร์ (เรียกย่อหรือหัวใจว่า สํ วิ ธา ปุ ก ย ป) คือ
๑. สังคณี หรือ ธัมมสังคณี รวมข้อธรรมเข้าเป็นหมวดหมู่แล้วอธิบายทีละประเภท ๆ
๒. วิภังค์ ยกหมวดธรรมสำคัญ ๆ ขึ้นตั้งเป็นหัวเรื่องแล้วแยกแยะออกอธิบายชี้แจงวินิจฉัยโดยละเอียด
๓. ธาตุกถา สงเคราะห์ข้อธรรมต่าง ๆ เข้าในขันธ์ อายตนะ ธาตุ
๔. ปุคคลบัญญัติ บัญญัติความหมายของบุคคลประเภทต่างๆ ตามคุณธรรมที่มีอยู่ในบุคคลนั้นๆ
๕. กถาวัตถุ แถลงและวินิจฉัยทัศนะของนิกายต่างๆ สมัยสังคายนาครั้งที่ ๓
๖. ยมก ยกหัวข้อธรรมขึ้นวินิจฉัยด้วยวิธีถามตอบ โดยตั้งคำถามย้อนกันเป็นคู่ๆ
๗. ปัฏฐาน หรือ มหาปกรณ์ อธิบายปัจจัย๒๔ แสดงความสัมพันธ์เนื่องอาศัยกันแห่งธรรมทั้งหลายโดยพิสดาร

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka3...

Комментарии

Информация по комментариям в разработке