เจาะเวลาหาที่ประทับสมเด็จพระนเรศวร!...จากวังจันทน์เมืองพิษณุโลก ถึง "วังจันทน์เกษม กรุงศรีอยุธยา"

Описание к видео เจาะเวลาหาที่ประทับสมเด็จพระนเรศวร!...จากวังจันทน์เมืองพิษณุโลก ถึง "วังจันทน์เกษม กรุงศรีอยุธยา"

เจาะเวลาหาที่ประทับสมเด็จพระนเรศวร!...

จาก...วังจันทน์เมืองพิษณุโลก ถึง "วังจันทน์เกษม กรุงศรีอยุธยา"
---------/////---------
พระราชวังจันทน์

ตั้งอยู่ติดกับ ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช กองทัพภาคที่ 3 ถนนวังจันทน์ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.พิษณุโลก เป็นที่ตั้งศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ในอดีตยังเคยเป็นที่ตั้งของโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม ปัจจุบัน กรมศิลปากร ได้เข้ามาทำการบูรณะค้นหาแนวเขตพระราชวังจันทน์ ระยะที่ 1 เสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

พระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท) เป็นพระราชโอรสใน พระยาเลอไท พระมหากษัตริย์องค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์พระร่วง ของอาณาจักรสุโขทัย

ทรงครองกรุงสุโขทัยระหว่าง พ.ศ. 1890 - พ.ศ. 1904 ทรงขึ้นครองสิริราชสมบัติ เป็นพระมหากษัตริย์ พระองค์ที่ 6 ของราชวงศ์พระร่วง พระมหาธรรมราชาที่ 1 เสด็จครองราชสมบัติ กรุงสุโขทัย ณ เมืองพิษณุโลก

ทรงครองเมืองพิษณุโลกระหว่าง พ.ศ. 1905 - พ.ศ. 1912 เป็นเวลา 7 ปี พระองค์ทรงสร้างพระราชวังจันทน์บนเนินดินบนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำน่าน

สันนิษฐานว่าเคยเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ไทยมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย จนถึงอยุธยา

เมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ กษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาทรงย้ายราชธานีมาอยู่ที่เมืองพิษณุโลกใน พ.ศ. 2006 ทรงใช้พระราชวังจันทน์เป็นที่ประทับตลอด เชื่อว่ามีการก่อสร้างเพิ่มเติมในสมัยพระองค์ด้วย

จากนั้นพระราชวังจันทน์ก็มักจะเป็นที่ประทับของพระมหาอุปราชของกรุงศรีอยุธยาในสมัยต่อ ๆ มา

จนถึงสมัยของสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชทรงให้สมเด็จพระนเรศวรเสด็จไปประทับอยู่ ณ ที่นั่น จากนั้นก็ไม่ปรากฏว่ามีเชื้อพระวงศ์พระองค์ใดไปอยู่ที่พระราชวังจันทน์อีก


สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงกล่าวถึงวังจันทน์เมืองพิษณุโลก ในสาสน์สมเด็จลายพระหัตถ์ลงวันที่ 5 พฤษภาคม 2481 ว่า

คำว่าวังจันทน์ น่าจะมาจากคำว่า ตำหนักจันทน์หรือเรือนจันทน์ ในสมัยโบราณเรือนที่อยู่อาศัยทำด้วยไม้ทั้งสิ้น

แต่สำหรับเรือนของพระเจ้าแผ่นดิน และเจ้านายที่ศักดิ์สูง เรือนจะสร้างด้วยไม้จันทน์ที่มีกลิ่นหอม คำว่าวังจันทน์ จึงน่าจะมาจากวังตำหนักจันทน์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงครองเมืองพิษณุโลก เสด็จประทับที่วังจันทน์มาก่อน ต่อมาทรงสร้างวังสำหรับประทับเวลาที่เสด็จลงมากรุงศรีอยุธยา พระราชพงศาวดารเรียกวังที่สร้างใหม่ว่า วังใหม่ จนสมัยเมื่ออพยพผู้คนเมืองเหนือลงมากรุงศรีอยุธยา พวกชาวเมืองเหนือที่ตามเสด็จเรียกวังใหม่ว่า วังจันทน์ เหมือนวังที่เคยประทับที่เมืองพิษณุโลก

วังจันทน์เมืองพิษณุโลกจึงเป็นต้นเค้าชื่อเรียกวังจันทน์เกษมของกรุงศรีอยุธยา เรื่องราวเกี่ยวกับพระราชวังจันทน์พิษณุโลก ปรากฏหลักฐานในหนังสือจดหมายระยะทางไปพิษณุโลก พระนิพนธ์สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ พ.ศ.2444 คราวเสด็จเมืองพิษณุโลก เกี่ยวกับการหล่อพระพุทธชินราชที่จะอัญเชิญมาประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร ทรงกล่าวถึงวังเมืองพิษณุโลกว่า “..มีกำแพงสองชั้น ด้านทิศตะวันออกคงจะเป็นหน้าวัง ส่วนนอกกำแพงวังด้านทิศตะวันตกมีสระใหญ่ เรียกหนองสองห้อง และมีรับสั่งให้ขุนศรีเทพบาลทำแผนที่วัง...” ในปี พ.ศ.2444 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสหัวเมืองฝ่ายเหนือ เพื่อทรงนมัสการพระพุทธชินราช และทรงหล่อพระพุทธชินราชจำลองที่เมืองพิษณุโลก มีพระราชหัตถเลขาเกี่ยวกับพระราชวังจันทน์ไว้ว่า “มีกำแพงวังสองชั้น กำแพงวังชั้นนอกทรุดโทรมเหลือพ้นดินเล็กน้อย กำแพงวังชั้นในยังเหลือถึง 2 ศอกเศษ ในวังยังมีฐานซึ่งเข้าใจว่าเป็นพระที่นั่ง โดยยาว 22วา กว้าง 7วา มีกำแพงแก้วล้อมรอบ เหมือนพระที่นั่งจันทรพิศาล เมืองลพบุรี ฝีมือจะเป็นครั้งกรุงเก่า”

Комментарии

Информация по комментариям в разработке