เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง เจอเพลี้ย เพลียใจ แถมได้ราดำบุกเป็นกองทัพ ทำเอาถึงตาย ถ้าไม่จัดการ มือเย็น QnA

Описание к видео เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง เจอเพลี้ย เพลียใจ แถมได้ราดำบุกเป็นกองทัพ ทำเอาถึงตาย ถ้าไม่จัดการ มือเย็น QnA

๐ เพลี้ยอ่อน อยู่ในวงศ์ Aphididae มีลำตัวอ่อนนุ่มและบอบบาง อีหัวเรียวเล็กต้นโตและมีลักษณะปลายหางมนต์ ด้านท้ายของลำตัวมีท่อยื่นออกมาคล้ายหางจำนวนสองท่อ
๐ เพลี้ยแป้ง อยู่ในวงศ์ Coccidae ผลิตสารสีขาวที่มีลักษณะคล้ายแป้งออกมาคุมลำตัว จึงเรียกว่า เพลี้ยแป้ง

๐ วิธีการเข้าทำลาย
ใช้อวัยวะส่วนปากดูด เจาะแทงลงไปในส่วนเนื้อเยื่อของพืช ดูดกินน้ำเลี้ยงตามส่วนต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่วนของพืชที่เกิดใหม่ เช่น ใบอ่อน ใบ ยอด และตาใบ เพลี้ยแป้งดูดน้ำเลี้ยงจากพืชโดยใช้ปากที่มีลักษณะเป็นท่อยาวแทงเข้าไปในส่วนของใบ ยอด หรือตา เพื่อใช้ในกระบวนการเจริญเติบโตของตน จากนั้นก็จะขับถ่ายของเสียที่มีลักษณะเป็นของเหลวเมือกเหนียวๆ เรียกว่า “มูลหวาน” ซึ่งจะเป็นที่อาศัยและอาหารที่เหมาะสมอย่างยิ่งต่อการเจริญเติบโตของราดำ เมื่อราดำเจริญเติบโตทำให้การสังเคราะห์แสงของพืชทำได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ

๐ ช่วงเวลาระบาด
เพลี้ยแป้ง สามารถระบาดและเข้าทำลายได้ในทุกช่วงฤดู แต่จะระบาดรุนแรงในฤดูแล้งมากกว่าในช่วงฤดูฝน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ฝนทิ้งช่วงเป็นระยะเวลาเวลานาน ทั้งนี้การระบาดทำได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจาก เพลี้ยแป้ง ส่วนใหญ่หลายสายพันธุ์ สามารถขยายพันธุ์ได้โดยไม่อาศัยเพศ กล่าวคือ เพศเมียไม่ต้องได้รับการผสมพันธุ์จากเพศผู้ โดยมีระยะเวลาตั้งแต่ระยะไข่จนฟักเป็นตัว เจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัย ใช้เวลาเพียง 21-23 วันเท่านั้น ทั้งนี้ในการวางไข่แต่ละครั้งสามารถมีจำนวนไข่ได้มากถึง 500 ฟอง

๐ อาการที่แสดงออกของพืช

หากเข้าทำลายในส่วนของต้นที่ยังเกิดใหม่หรืออ่อนอยู่นั้น ยอดที่ถูกทำลายจะแสดงอาการใบหงิกงอ แตกเป็นพุ่มถี่ ลำต้นอาจมีอาการบิดเบี้ยวประกอบด้วย มีช่วงข้อของต้นเกิดถี่ขึ้น หรือการงอกของกิ่งกรือก้านใบถี่ขึ้น ต้นไม้แคระแกรน เจริญเติบโตช้า ในไม้ดอกอากเลือกิ้งดอกไม่เจริญเติบโตหรือบานต่อไป หากมีการระบาดรุนแรงยอดจะแห้งตาย ถ้ามีระบาดในช่วงที่พืชมีอายุน้อย อาจทำให้ต้นพืชตายหรือไม่สามารถเจริญเติบโตต่อไปได้

๐ การป้องกันกำจัด
ต้นพืชที่อุดมสมบูรณ์แข็งแรงนั้นเพลี้ยแป้งและเพลี้ยอ่อนจะไม่เข้าทำลาย นอกจากนี้แล้วถึงแม้ว่าช่วงฤดูฝนเป็นช่วงที่มีการเข้าทำลายของเพลี้ยได้ดี หากมีปริมาณฝนตกหนักติดต่อกันก็จะทำให้การระบาดลดลง ในกรณีที่มีการเข้าทำลายแล้วแนะนำให้ทำดังนี้
๐ ในกรณีที่มีปริมาณการระบาดไม่มากนัก ไม่ใช่เหล็กแหลมหรือไม้แข็ง ขูดทำลายเสียออกจากบริเวณที่เข้าทำลายพืชในส่วนนั้น ประกอบกับการรดน้ำให้เป็นฝอยลงไปที่ส่วนของพืชที่มีการเข้าทำลายของเพลี้ยแป้งเพื่อชะล้างเอาตัวแมลงบางส่วนออกไปรวมไปถึงราดำที่เริ่มเข้ามาโจมตีตามการทำลายของเพลี้ยแป้ง
๐ ในกรณีที่มีปริมาณการระบาดมาก ให้ทำการตัดแต่งกิ่ง หรือส่วนของพืชบริเวณที่มีการเข้าทำลาย ออกทั้งหมด เพื่อรอการเจริญเติบโตหรืองอกยอดใหม่
๐ ใช้สารสกัดจากสะเดา
๐ ใช้สารชีวพันธุ์ เชื้อราเมธาไรเชียมผสมเชื้อราบิวเวอร์เรียฉีดพ่น
๐ ใช้เแมลศัตรู เช่น ด้วงเต่า แมงมุม
๐ ใช้สารเคมี ไดโนทีฟูแรน ( dinotefuran)...............1% GR มีชื่อการค้าหลายชื่อ อาทิ สตาร์เกิล จี (Starkle G) ที่ออกฤทธิ์ดูดซึมเข้าไปในเซลล์พืชซึ่งทำลายอันตรายต่อแมลงปากดูด ทั้งนี้สารเคมีดังกล่าวจะเคลื่อนย้ายไปสู่ส่วนต่างๆของพืชและมีฤทธิ์ทำลายแมลงประมาณหนึ่งเดือน หากอาการยังไม่บรรเทาลงแนะนำให้เติมสารเคมีดังกล่าวลงไปเพิ่มเติมทุก 30 วัน ทั้งนี้ควรใช้ในอัตราที่ระบุไว้ตามข้างฉลาก สำหรับพืชระดับที่นำส่วนของต้นมาใช้ในการบริโภคควรต้องทิ้งระยะให้สารเคมีหมดระยะการทำลายหรือความเป็นพิษลงก่อนอย่างน้อยควรใช้ระยะเวลามากกว่า 30 วัน

Комментарии

Информация по комментариям в разработке