#กรุวัดพนมรอก

Описание к видео #กรุวัดพนมรอก

10/9/67
#กรุวัดพนมรอก #เครื่องรางของขลังยอดนิยม #สตีมสด 166 #หลวงพ่อเดิมแตกกรุวัดพนมรอก #อาชีพมหัศจรรย์

✳️พระรูปหล่อหลวงพ่อเดิม
✅กรุวัดเขาพนมรอก นครสวรรค์
✅เป็นพระเนื้อสัมฤทธิ์โบราณ
✅ขนาดห้อยคอ
✅แตกกรุที่วัดเขาพนมรอก พิสูจน์ที่มาที่ไปแล้วว่าเก่าถึงยุคจริงๆ ประวัติการสร้างชัดเจน เซียนใหญ่ห้างดังไปเหมามาทำกำไรแทบหมดวัด ราคาขยับขึ้นรายวัน ยิ่งนานวันหลักฐานยิ่งชัดเจน พิสูจน์ด้วยวิทยาศาสตร์มาแล้วว่าเก่า แท้ ทันยุคหลวงพ่อเดิมเกือบร้อยปีจริง ถือเป็นโอกาสดีของพวกเรา ที่จะได้มีรูปหล่อหลวงพ่อเดิมที่แท้ ทันไว้ใช้บูชากัน
✅ยิ่งนานวัน การยอมรับยิ่งขยายวงกว้างมากขึ้น ทหาร ตำรวจ ข้าราชการ เจ้าของร้านทอง ฯลฯ ไปเหมาจนเกลี้ยงหน้าวัด ราคาหน้าวัดข้ามหมื่นไปแล้ว แถมหาของยากด้วย ยิ่งออกตัวช้ายิ่งต้องจ่ายแพง
✅หลวงพ่อเดิมท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่ดังทั่วประเทศ ดังนั้น ไม่ว่าจะส่วนไหนของประเทศไทย ต่างมีความต้องการพระของท่านเอาไปไว้บูชาด้วยกันทั้งสิ้น ยิ่งแท้ทันยิ่งเป็นที่ต้องการ
✅รูปหล่อหลวงพ่อเดิมที่สากลนิยม สวยแชมป์ องค์นึงราคาถึงสิบล้านแล้ว ดังนั้น จึงเป็นโอกาสดีที่สุดในชีวิต ที่จะได้พระแท้ทันหลวงพ่อเดิมไปบูชากัน
✳️พิมพ์พระขึ้นกรุดังนี้
✅พิมพ์หลวงพ่อเดิม แยกได้ ดังนี้
-พิมพ์ มีลูกกระเดือก นิยมสุด
-พิมพ์ฐานสูง
-พิมพ์ฐานกลาง
-พิมพ์ฐานเตี้ย
✅พิมพ์หลวงพ่อคล้าย
-พิมพ์ไหล่กว้าง (พิมพ์ใหญ่)
-พิมพ์ไหล่แคบ (พิมพ์เล็ก)
✅พระปิดตา
-พิมพ์ยันต์นูน
-พิมพ์ยันต์จม
❤️❤️❤️กรุวัดพนมรอก❤️❤️❤️
✳️หลวงพ่อเดิม - หลวงพ่อคล้าย
กรุวัดพนมรอก ต.พนมรอก อ.ท่าตะโก จ. นครสวรรค์
✅ประวัติวัดพนมรอก
วัดพนมรอก เป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่ ที่หมู่ที่ ๔ ตำบลพนมรอก อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์
ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๕ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ. ๒๔๗๑ สาเหตุที่ชื่อ "วัดพนมรอก" นั้นเนื่องจากทางวัดนำชื่อหมู่บ้านบ้านพนมรอกมาตั้ง ปัจจุบันมี พระครูใบฎีกากันตภณ (หลวงพี่นะโม) เป็นเจ้าอาวาสวัดพนมรอก
ประวัติ หลวงพ่อคล้าย จนฺทโชโต วัดพนมรอก (พระนิพันธรรมาจารย์) หลวงพ่อคล้าย เป็นคนพนมรอกโดยกำเนิด เกิดที่บ้านพนมรอก เกิดเมื่อวันอังคาร ปีฉลู วันที่ 16 สิงหาคมพ.ศ. 2420
เป็นบุตรคนที่ 5 ของขุนขจร คชสาร และ นางอ่อง อนุวัตร เมื่ออายุครบ 21 ปี วันที่ 5 มีนาคมพ.ศ. 2440 ได้เข้าอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดพนมรอก
โดยมี
-พระอาจารย์ภู่ วัดทับกฤษใต้ เป็นพระอุปัชฌาย์
-หลวงพพ่อเทศน์ วัดสระทะเล เป็นพระกรรมวาจาจารย์
-หลวงพ่อเงิน วัดพระปรางค์เหลือง เป็นอนุสาวนาจารย์
ได้รับฉายา "จนุทโชโต"
เป็นศิษย์ผู้น้องของหลวงพ่อเดิม
เมื่อพ.ศ. 2442 ได้ศึกษาพระธรรมวินัยกับหลวงพ่อเดิม พุทธสโร ที่วัดหนองโพ หลวงพ่อเดิมให้ความช่วยเหลือทุกอย่าง
ในปี พ.ศ. 2468 หลวงพ่อเดิม หลวงพ่อคล้าย รวมทั้งชาวพนมรอกได้ร่วมกันสร้างโบสถ์ขึ้น ณ วัดพนมรอก แล้วเสร็จ เมื่อปี 2471 ในปี 2483 ได้สร้างเหรียญคู่บารมี ทวิภาคี หลวงพ่อเดิม หลวงพ่อคล้าย ฉลองอุโบสถวัดพนมรอก โดยมี หลวงพ่อเดิมร่วมนั่งปรกอธิษฐานจิตปลุกเสก
พ.ศ. 2490 หลวงพ่อคล้าย ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดสามัคคียาราม จวบจนกระทั่งมรณภาพ เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายนพ.ศ.2500 รวมอายุได้ 80 ปี 60 พรรษา ได้รับพระราชทานเพลิงศพ วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2502 ณ วัดสามัคคียาราม อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์
ปัจจุบันวัดพนมรอก มี พระครูใบฎีกากันตภณ (หลวงพี่นะโม) ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส ในปี 2567 ได้ร่วมกับชาวบ้านและผู้มีจิตศรัทธา คิดปรับปรุงบูรณะให้ดีขึ้น ได้มีรื้อพื้นไม้
โบสถ์เพื่อเปลี่ยนพื้นเนื่องจากพื้นไม้ผุพังตามกาลเวลา
และในวันที่ 3 พฤษภาคม 2567 ภายหลังจากที่ พระครูใบฎีกากันตภณ (หลวงพี่นะโม) พร้อมด้วยชาวบ้านจึงทำพิธีบวงสรวง ดำเนินการรื้อพื้นโบสถ์ปรากฏว่าได้พบลูกนิมิตรถูกฝังอยู่ใต้โบสถ์ตรงกับพระประธาน ไม่เพียงเท่านั้น ยังพบพระเครื่องบรรจุไหถูกฝังอยู่ใต้ดินโดยบังเอิญ
จากนั้นจึงได้ทำการขุดขึ้นมา โดยระหว่างค้นพบจวบจนกระทั่งขุดลูกนิตร และพระเครื่องท่านเจ้าอาวาสได้ไลฟ์สดอยู่พอดี จึงทำให้มีผู้ร่วมเห็นเหตุการณ์เป็นประจักษ์พยานจำนวนมาก
จากนั้นท่านเจ้าอาวาสได้แจ้งตำรวจ และผู้มีความชำนาญในเรื่องพระเครื่อง รวมทั้งผู้ใหญ่บ้าน กำนัน และคนในพื้นที่ดั้งเดิมเข้าตรวจสอบ ก่อนจะลงความเห็นว่าพระเครื่องชุดนี้อาจจะเป็นพระเครื่องที่หลวงพ่อเดิม และหลวงพ่อคล้ายร่วม
กันปลุกเสก เมื่อครั้งสร้างโบสถ์หลังเดิม
ซึ่งพระเครื่องที่ค้นพบประกอบด้วย รูปหล่อหลวงพ่อเดิม, รูปหล่อหลวงพ่อคล้าย และ พระปิดตา โดยภายหลังจากที่เผยแพร่ออกไป ส่งผลให้มีผู้เดินทางมาที่วัดพนมรอก เพื่อพิสูจน์และขอเช่าบูชา ทางท่านเจ้าอาวาส คณะกรรมการวัดพนม
รอก ไวยาวัจกรวัด ผู้นำชุมชน จึงได้นำพระเครื่องเปิดให้เช่าบูชา เพื่อนำรายได้จากการให้บูชาวัตถุมงคลพระเครื่องทั้งหมดนี้ไปบูรณะพระอุโบสถวัดพนมรอก ที่มีอายุมากกว่า 100 ปีต่อไป
✳️✳️✳️✳️✳️

Комментарии

Информация по комментариям в разработке