ร้อน แล้ง ใบแห้งร่วงหล่น แก้ไขด้วยวิธีนี้ และลดการตายของไม้ปลูกใหม่ ทำแบบนี้ Work I มือเย็น QnA

Описание к видео ร้อน แล้ง ใบแห้งร่วงหล่น แก้ไขด้วยวิธีนี้ และลดการตายของไม้ปลูกใหม่ ทำแบบนี้ Work I มือเย็น QnA

๐ ในช่วงฤดูแล้งมีปริมาณความชื้นทั้งในดินและในอากาศน้อย มีอัตราการสูญเสียน้ำของดินผ่านการคายระเหย (evapotranspiration) ซึ่งการคายระเหย ก็คือ ผลรวมของกระบวนการทั้งหมดที่น้ําเคลื่อนที่จากพื้นผิวดินสู่ชั้นบรรยากาศผ่านการระเหยและการคายน้ํา ซึ่งการคายน้ำของพืช (transpiration) เป็นกระบวนการทางชีววิทยาที่จำเป็นต่อพืช โดยมีเหตุผลหลัก 2 ประการ คือ
1. ทำให้เกิดการดูดน้ำและแร่ธาตุ โดยการคายน้ำเป็นแรงขับเคลื่อนหลักในการลำเลียงน้ำและแร่ธาตุจากรากขึ้นสู่ใบ ทั้งนี้น้ำจะระเหยจากเซลล์ปากใบบนใบ จนเกิดแรงดึงดูดน้ำจากเซลล์ด้านล่าง โดยแรงดึงนี้เองจะดึงน้ำและแร่ธาตุที่ละลายในน้ำขึ้นไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของพืช
2. เพื่อการลดอุณหภูมิของต้นพืช โดยการคายน้ำเป็นกลไกหลักในการลดอุณหภูมิของใบ น้ำที่ระเหยจากใบจะดึงความร้อนออกไป ช่วยให้ใบมีอุณภูมิลดลง ลดโอกาสการเกิดอาการใบไหม้จากแสงแดด

๐ กระบวนการคายน้ำของพืช ประกอบด้วยขั้นตอนหลัก ๆ 3 ขั้นตอน คือ 1) การดูดซึมน้ำ โดยรากพืชดูดซึมน้ำจากดิน น้ำจะเคลื่อนที่ผ่านท่อลำเลียงน้ำ (xylem) ขึ้นสู่ใบ 2) น้ําเคลื่อนผ่านเนื้อเยื่อของพืช ทําหน้าที่เผาผลาญและสรีรวิทยาที่สําคัญในพืช ทำให้เกิดการระเหยนำ้ โดยน้ำจากเซลล์เมโซฟิลล์ในใบจะเคลื่อนที่ไปยังเซลล์ปากใบ น้ำจะระเหยจากเซลล์ปากใบผ่านช่องปากใบ (stomata) ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ 3) การไหลเวียนของน้ำ ผลจากการการระเหยของน้ำจากเซลล์ปากใบจะสร้างแรงดึงดูดน้ำ (transpiration pull) โดยแรงดึงดูดนี้ดึงน้ำจากเซลล์ด้านล่าง ทำให้เกิดการไหลเวียนของน้ำจากรากขึ้นสู่ใบ ซึ่งกระบวนการนี้จะเกิดหมุนเวียนไปอย่างต่อเนื่อง

๐ ปัจจัยที่มีผลต่อการคายน้ำ
1. อุณหภูมิ ในสภาพบรรยากาศที่มีอุณหภูมิสูง อากาศภายนอกรอบ ๆ ต้นพืชสามารถอุ้มไอน้ำเอาไว้ได้มากขึ้น น้ำจะระเหยเร็ว พืชคายน้ำได้มากขึ้นด้วย
2. ความชื้น ถ้าความชื้นในบรรยากาศมีความชื้นสูง เช่น ช่วงฤกูฝน ช่วงเช้ามืด หรือช่วงก่อนและหลังฝนตกใหม่ๆ กระบวนการคายน้ำจะเกิดขึ้นได้ปริมาณน้อย ในทางกลับกันถ้าปริมาณความชื้นในบรรยากาศมีน้อย ตัวอย่างเช่น ในช่วงฤดูหนาว ฤดูร้อน หรือช่วงกลางวัน ปริมาณความชื้นที่มีในบรรยากาศแตกต่างกับความชื้นในใบมาก กระบวนการคายน้ำจะเกิดขึ้นได้ปริมาณมากและรวดเร็ว
3. แสงสว่าง ถ้าแสงแดดมีความเข้มข้นของแสงสว่างมากจะทำให้ปากใบเปิดกว้างขึ้น เนื่องจากเซลล์คุมที่มีเม็ดคลอโรพลาสต์อยู่นั้นจะดูดเอาพลังงานแสงสว่างไปใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง และเกิดเป็นน้ำตาลมากขึ้น กระบวนการคายน้ำจึงเกิดได้มากขึ้น
4. การเคลื่อนไหวของลมและอากาศ ลมช่วยพัดพาไอน้ำที่ระเหยออกมาจากใบและอยู่บริเวณรอบใบให้พ้นไปจากผิวใบ ด้วยเหตุนี้ในกรณีที่มีลมพัดแรง น้ำระเหยได้เร็ว พืชมีการคายน้ำมากขึ้น
5. ปัจจัยอื่น ๆ อาทิ ความกดดันของบรรยากาศ ชนิดของพืช ละลักษณะโครงสร้างของใบพืช พืชบางชนิดที่เติบโตในพื้นที่แห้งแล้ง เช่น แคคติกและไม้อวบน้ํา พยายามรักษาน้ําอันมีค่า โดยมีกลไกลการคายน้ําน้อยกว่าพืชชนิดอื่น เป็นต้น

๐ วิธีการลดการคายน้ำของพืชด้วยระบบรดน้ำแบบพ่นฝอย โดยใช้ Sprinkler ให้น้ำบริเวณยอดพุ่มไม้ ทำการเลือกระบบ Sprinkler ที่เหมาะสมกับขนาดพื้นที่และชนิดของพืช ติดตั้งหัวจ่ายน้ำให้กระจายทั่วถึงบริเวณยอดพุ่มไม้ และตั้งเวลาการรดน้ำให้เหมาะสม โดยวิธีการนี้จะลดโอกาสที่พืชคายน้ำมากในช่วงระยะเวลากลางวัน ในช่วงเวลาที่มีอุณหภูมิสูง ซึ่งการให้น้ำแบบพ่นฝอย จะรดน้ำให้ดินชุ่มโชก น้ำจะซึมลงสู่รากลึก พืชมีน้ำสำรองดูดซึมเข้าสู่ต้นพืชได้มากขึ้น ชดเชยปริมาณน้ำที่สูญเสียไปจากการคายน้ำได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังสามารถใช้วิธีการอื่นร่วมด้วย เช่น ใช้วัสดุคลุมดินบริเวณโคนต้นด้วยวัสดุอินทรีย์ เช่น ฟาง ใบไม้ เป็นต้น จะช่วยลดการระเหยของน้ำจากดินได้เป็นอย่างดี

๐ คติความเชื่อแต่โบราณนานมาเรียกขานคนที่ปลูกอะไรก็งาม ปลูกอะไรก็ขึ้นว่าเป็นคน “มือเย็น” ตรงกับภาษาอังกฤษคำว่า “Green Thumb” หรือพวกหัวแม่โป้งเขียว ก็คือคนมือเย็นน้่นเอง

๐ Muuyehn Studio หรือ มือเย็น สตูดิโอ เป็นช่องที่จัดทำขึ้นเพื่อเป็นกำลังใจให้คนทั้งมือเย็น มือไม่เย็น มืออุ่น มือร้อน มือไหนๆ ก็ปลูกต้นไม้ได้งอกงามดี ขอแค่ทำความรู้จักและรักที่จะปลูก
ถึงปลูกแล้วตาย ปลูกแล้วโตช้าก็อย่าได้แคร์ ขอให้ปลูกกันต่อไปนะครับผม

Комментарии

Информация по комментариям в разработке