เรื่องที่ทุกคนอยากรู้! คาถาเงินล้าน สวดอย่างไรให้ปัง l พงศ์มาเล่า

Описание к видео เรื่องที่ทุกคนอยากรู้! คาถาเงินล้าน สวดอย่างไรให้ปัง l พงศ์มาเล่า

โดยเฉพาะเรื่องของพระคาถาเงินล้าน อาตมาภาวนาแบบสบาย ๆ ทุกวัน วันละ ๓๖๐ จบ เป็นเวลา ๓ ปีเต็ม ๆ แล้วก็เคยลองเร่งรัดดูว่า ถ้ามากกว่านั้นผลจะเป็นอย่างไร ก็มี ๔๘๐ จบ ๖๐๐ จบ ๗๒๐ จบ ๙๖๐ จบ ไปถึง ๑,๒๐๐ จบต่อวัน มีใครทดลองขนาดนี้บ้าง ? ไม่มีหรอก เพราะว่าขนาด ๑,๒๐๐ จบนี่เริ่มตั้งแต่ตี ๓ ไปเลิกเอา ๑ ทุ่มทุกวัน เป็นเวลา ๒ เดือนกว่าเกือบ ๓ เดือน ไม่มีเวลาทำอย่างอื่นเลย นอกจากฉันมื้อเดียวประมาณ ๑๐ กว่านาที แล้วก็ไปห้องน้ำ แม้กระทั่งอยู่ในห้องน้ำก็ภาวนา นี่คือการที่เรายอมลำบากก่อน เมื่อถึงเวลาแล้วผลที่เกิดขึ้นมาสนอง จนกลายเป็นความคล่องตัวในปัจจุบัน

สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ พวกเรามาเห็น เพื่อนฝูงมาเห็น ผู้บังคับบัญชามาเห็น ตอนที่ทุกอย่างประสบความสำเร็จแล้ว แต่ไม่ได้เห็นตอนที่ยากลำบาก เดินจงกรมจนพื้นเป็นร่อง เดินภาวนาทั้งวันจนฝ่าเท้าแตก หรือภาวนาไม่ได้กินไม่ได้นอนเป็นวันเป็นคืน เพราะว่าต้องการทดสอบหลายอย่างด้วยกัน อย่างแรกก็คือ กำลังสมาธิของเรายืนหยัดได้นานเท่าไร ? ก็ได้ ๑๑ วัน ๑๑ คืน ลองดูได้นะ ๒๐๐ กว่าชั่วโมงเท่านั้น..!
แล้วถ้าหากว่าเราทรงสมาธิตั้งเวลาแต่ละช่วง นานเท่าไรที่จะไม่ลำบากตัวเรามากนัก ? ช่วงละประมาณ ๔ ชั่วโมงจะเหมาะสมที่สุด แล้วการเข้าสมาธิภาวนาของเรา ถ้าเรากำหนดใจมุ่งมั่นว่าไม่ครบ ๑,๒๐๐ จบ เราจะไม่เลิก สมาธิก็จะทรงตัวต่อเนื่องแล้วไปคลายเอาจบสุดท้าย เท่ากับเป็นการซักซ้อมการทรงสมาธิแบบตั้งเวลา และท้ายที่สุด ส่วนที่เป็นผลพลอยได้ก็คือความคล่องตัวที่เกิดขึ้น

ดังนั้น..พวกเราที่ไม่ช่างค้นคว้า ไม่ขี้สงสัย ขอให้ทำตามก็ยังดี ไม่ต้องมากมายถึงขนาดที่อาตมาเคยทำ บอกแล้วว่าขอแค่ ๑๐๘ จบต่อวัน ถ้ารู้สึกว่ามากไปก็แบ่งเป็น ๓ ช่วง ช่วงละ ๓๖ จบเท่านั้น ก็จะไม่หนักเกินกำลังของพวกเรา แต่คราวนี้ก็อย่างที่ว่า พวกเราส่วนใหญ่แล้วมักง่าย อะไรลำบากไม่ทำ ในเมื่อเป็นอย่างนั้นถึงเวลาแล้วเราลำบาก ก็ต้องบอกว่าโทษใครไม่ได้ ถ้าเราใช้ความพยายามได้เพียงพอ มั่นใจเลยว่าในหมู่ลูกศิษย์สายหลวงพ่อวัดท่าซุง จะไม่มีใครลำบากในเรื่องของการทำมาหากิน หรือว่าเรื่องของความสะดวกคล่องตัว เพียงแต่ว่าเรายอมทนลำบากหรือไม่ ?

สมัยหลวงปู่ปาน วัดบางนมโค เราจะเห็นตัวอย่างก็คือท่านนายห้างประยงค์ ตั้งตรงจิตร ตัวอย่างของลุงแจ่ม เปาเล้ง ที่ทำพระคาถาพระปัจเจกโพธิโปรดสัตว์ได้สำเร็จ หรือแม้กระทั่งนายเฉลิม คงทอง เราก็จะเห็นว่ามีแค่ไม่กี่คน ก็แปลว่าบุคคลที่ยอมทนลำบาก ยอมเหนื่อยในช่วงแรก จะประสบความสำเร็จทุกคน
พอมาถึงรุ่นของหลวงพ่อวัดท่าซุง อาตมาเองเห็นว่ารุ่นหลวงปู่ปานมีบุคคลตัวอย่าง รุ่นหลวงพ่อวัดท่าซุงยังไม่มี ในเมื่อไม่มีเราก็ไม่ต้องรอคนอื่น เราก็ทำเสียเอง แต่ว่าทั้งนี้ทั้งนั้นแรงบันดาลใจเริ่มต้นนอกจากตัวคาถาที่ช่วยให้ความคล่องตัวแล้ว ก็คือพี่ชายที่แสนดี หลวงตาวัชรชัย ท่านจะคอยกระตุ้นน้อง ๆ ให้ประพฤติปฏิบัติในเรื่องของการภาวนา มีการนำวิเคราะห์วิจัยแต่ละวันว่า ใครมีปัญหาติดขัดตรงไหน ? หรือว่ามีเคล็ดลับวิธีการอะไรที่ทำให้เกิดความคล่องตัวมากขึ้น ทรงสมาธิได้ดีขึ้น ใช้สมาธิไปในการพินิจพิจารณาแบบไหนถึงจะเกิดผลง่าย
หลวงตาท่านเริ่มว่า “เล็ก..ข้าติดใจบารมี ๓๐ ทัศของพระพุทธเจ้า เพราะฉะนั้น..คาถาเงินล้านข้าไม่เอา ๙ จบ ข้าจะเอา ๓๐ จบ” อาตมาก็ "โมทนาด้วยพี่ ๓๐ จบ ผมก็ ๓๐ จบด้วย" ทำไปทำมา..น้อยไปไหม ? ก็เลยเพิ่มเป็น ๖๐ เป็น ๙๐ เป็น ๑๐๘ ท้ายที่สุดก็ไปยืนพื้นอยู่ที่ ๓๖๐ จบ ที่บอกว่าทำอยู่ตลอด ๓ ปีเต็ม ๆ ถ้าถามว่าคล่องตัวถึงระดับไหน ? ก็ระดับจากวัดท่าซุงมากรุงเทพฯ จากกรุงเทพฯ กลับวัดท่าซุง ช่วงอยู่ในกรุงเทพฯ ใช้แท็กซี่ตลอด เสียค่าใช้จ่ายไป ๓ บาทถ้วน ๆ ที่ไปยัดให้รถสองแถวช่วงมโนรมย์-วัดท่าซุง เขาไม่เอาเหมือนกัน แต่อาตมาบอกว่าให้เก็บเอาไว้เป็นขวัญถุง อาตมาเต็มใจให้ ก็คือขึ้นรถคันไหนก็คันนั้น ไม่ทราบว่าเกิดอะไรขึ้น เขาบอกว่าเขารับพระ ขออนุญาตทำบุญไม่คิดค่าโดยสาร

แม้กระทั่งนั่งรถทัวร์มาด้วยกัน พระ ๔ รูป สมัยก่อนรถทัวร์เขาไม่ได้ตีตั๋วที่ท่ารถ เขาขึ้นมาเก็บบนรถเหมือนกัน จัดการเก็บ ๓ รูปด้านข้างหมด เว้นอาตมาไว้คนเดียว ทั้งที่ส่งเงินให้เขาก็เดินหนี..ไม่รับ จนกระทั่งพระอื่นคิดว่าอาตมาเป็นเด็กเส้น รู้จักกับเจ้าของรถ..! นี่คือความคล่องตัวที่พิสูจน์มาด้วยตัวเอง

ในเมื่อมีบุคคลตัวอย่าง ทางเราก็อย่ารอกินบุญคนอื่น ตอนนี้ที่ดีใจก็คือ ทางบริษัท มุลเลอร์ แมคคานิค จำกัด ที่เป็นหน่วยงานคุณธรรมในสังกัดชุมชนคุณธรรมวัดท่าขนุน ทำโครงการสวดคาถาเงินล้านในลักษณะของการแข่งขันกันทำความดี ตั้งเป้าไว้ที่ ๑ ล้านจบบ้าง เท่าโน้นเท่านี้บ้าง แล้วก็ทำได้สำเร็จ ซึ่งวันนี้จะมีการมอบรางวัลให้ผู้ที่ทำสำเร็จเป็นคนแรก

แต่คราวนี้การภาวนาในลักษณะแข่งขันกันทำความดี ขอให้ภาวนาแบบมีคุณภาพ ไม่ใช่เร่งให้ได้จำนวนจบมาก ๆ ถ้าเร่งให้ได้จำนวนจบมาก ๆ เราจะได้แต่ปริมาณไม่ได้คุณภาพ ให้ภาวนาไปแบบใจเย็น ๆ จับลมหายใจเข้าออกพร้อมกับคำภาวนาพระคาถา จะเอาสั้นเอายาวอย่างไรขึ้นอยู่กับลมหายใจของเรา ไม่ต้องไปจำกัดว่ามาถึงบทนี้ต้องหายใจเข้า มาถึงบทนี้ต้องหายใจออก ถ้าทำลักษณะอย่างนั้นได้ก็จะทำให้สมาธิสูงขึ้น
...................................
พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร. วัดท่าขนุน

Комментарии

Информация по комментариям в разработке