"พระธาตุภูเพ็ก" สุริยะปฏิทินไทยสุริยะปฏิทินโลก!...ชี้ตำแหน่งดวงอาทิตย์ในจักรราศีสำคัญได้อย่างแม่นยำ

Описание к видео "พระธาตุภูเพ็ก" สุริยะปฏิทินไทยสุริยะปฏิทินโลก!...ชี้ตำแหน่งดวงอาทิตย์ในจักรราศีสำคัญได้อย่างแม่นยำ

"พระธาตุภูเพ็ก" สุริยะปฏิทินไทยสุริยะปฏิทินโลก!...ชี้ตำแหน่งดวงอาทิตย์ในจักรราศีสำคัญได้อย่างแม่นยำ
---------/////---------
fb :   / sansonthi.boonyothayan  

Page:
http://www.yclsakhon.com/
---------/////---------
พระธาตุภูเพ็ก

เป็นโบราณสถานที่เรียกว่าปราสาทขอมสร้างด้วยหินทรายตั้งอยู่บนฐานศิลาแลง สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่๑๖

มีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุม ด้านหน้าเชื่อมต่อกับมณฑป รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ชั้นที่ ๑ สูง๑.๕๘ เมตรชั้นที่ ๒ สูงประมาณ๐.๗๐ เมตร

ตัวปราสาทสูง ๗.๖๗ เมตรซึ่งยังสร้างไม่แล้วเสร็จ ไม่มีหลังคา และยอดปราสาท เพียงแต่ทำขื่อตั้งไว้เท่านั้น

"ในวันที่ ๒๑ ดวงอาทิตย์ขึ้นตรงกลางของประตูห้องวิมาน และเรืองแสงสีแดงอย่างสวยงาม

เหนือแท่งศิวลึงค์ที่ตั้งอยู่หน้าประตู ปราสาทภูเพ็กไม่ได้เป็นเพียงแค่ศาสนสถานแบบธรรมดาดังตำนานดาวเพ็ก ตามที่เราๆ ท่านๆ เคยได้ยินมา

แต่ที่นี่มีอุปกรณ์ดารา แห่งศาสตร์ไฮเทค เรียกว่า สุริยปฏิทินสามารถบ่งชี้ตำแหน่งดวงอาทิตย์ในจักรราศีสำคัญได้อย่างแม่นยำ ไม่แพ้คอมพิวเตอร์"

นี่เป็นคำยืนยันของ นายสรรค์สนธิ บุณโยทยาน ผู้เชี่ยวชาญด้านดาราศาสตร์และผู้เขียนหนังสือสุริยปฏิทินพันปี

พร้อมกันนี้นายสรรค์สนธิ ยังบอกด้วยว่า สิ่งที่มหัศจรรย์ไปกว่านั้นคือ สถานที่ตั้งปราสาทภูเพ็ก สกลนคร ปราสาทหินพิมาย นครราชสีมา และปราสาทนครทม เสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา

ทำมุมเป็นรูปสามเหลี่ยมสวยงาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งปราสาทภูเพ็ก กับปราสาทนครทม อยู่เส้นตรงเดียวกันในแนวเหนือใต้ เป็นความบังเอิญ หรือผู้สร้างจงใจเช่นนั้นก็ไม่ทราบ

ปราสาทภูเพ็ก เป็นวัตถุพยาน ที่สะท้อนภาพในแง่มุมของศาสนา ดาราศาสตร์ และข้อขัดแย้งทางการเมืองอย่างชัดเจน

เริ่มต้นจากการเลือกสถานที่ก่อสร้างปุโรหิตผู้รับผิดชอบโครงการ ต้องมองหาภูเขาที่สูงที่สุด และมีรูปร่างเหมือน เขาพระสุเมร

ต้องมีการปรับแต่งพื้นดินบนยอดเขาให้ราบเรียบ เพื่อให้ตัวปราสาทตั้งอยู่ริมหน้าผา ด้านทิศตะวันออก และทำมุมกวาด ๙๐ องศา จากทิศเหนือ

ตามความเชื่อวันศักดิ์สิทธิ์ของปฏิทินมหาศักราช (Saka calendar) ที่กำหนดให้ตรงกับวสันตวิษุวัต (Vernal equinox) กลางวันเท่ากับกลางคืนดวงอาทิตย์ขึ้นที่ทิศตะวันออกแท้ (Due east) แสงอาทิตย์ยามเช้าตรู่จะส่องตรงเข้าไปยังประตูห้องวิมานเพื่อเป็นพลังในการประกอบพิธีของเจ้านายชั้นสูง

จากการสำรวจอย่างละเอียดพบว่า หินทรายที่ใช้ก่อสร้างถูกนำมาจากหน้าผาด้านทิศตะวันตก อยู่ห่างออกไปประมาณ ๔๐๐ เมตร ปัจจุบันยังมีร่องรอยของการตัดหินทุกขั้นตอน

เริ่มจากการทำเครื่องหมายตีเส้น กำหนดรูปร่างบนแท่งหิน การเซาะร่องได้เพียงบางส่วน หินที่ตัดเรียบเสร็จแล้วถูกทิ้งอยู่เรี่ยราดตามรายทาง แสดงให้เห็นว่า การทิ้งงานแบบกะทันหัน

ขณะเดียวกันก็มีรอยขีดที่พื้นประตูด้านทิศตะวันออก และผนังด้านทิศตะวันตก บ่งชี้ตำแหน่งดวงอาทิตย์ในวันวิษุวัต

ซึ่งตามปฏิทินสากลปัจจุบันตรงกับวันที่ ๒๑ มีนาคม (วสันตวิษุวัต : Vernal equinox) และ ๒๓ กันยายน (ศารทวิษุวัต : Autumnal equinox)

รวมทั้งรอยขีดที่ประตูด้านทิศเหนือทิศใต้ และทิศตะวันตก บ่งชี้ตำแหน่งทางดาราศาสตร์ที่เรียกว่า ทิศภูมิศาสตร์ทั้งสี่ (The four cardinals)

"ถ้าท่านได้มีโอกาสไปที่ปราสาทภูเพ็ก ตรงกับวัน วสันตวิษุวัต ๒๑ มีนาคมและ ศารทวิษุวัต ๒๓ กันยายน จะเห็นด้วยตาตนเองว่า

ดวงอาทิตย์ขึ้นตรงกลางประตูห้องวิมาน และเรืองแสงสีแดงอย่างสวยงาม เหนือแท่งศิวลึงค์ ที่ตั้งอยู่หน้าประตู

ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์เช่นเดียวกันนี้ ก็มีที่ปราสาทนครวัด ที่เมืองเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา และอีกหลายปราสาท เช่น

ปราสาทพนมบาเค็ง และปราสาทบายน" นายสรรค์สนธิ กล่าว

สุริยะปฏิทินโลก

๒๑ มีนาคมของทุกปี ถือเป็นช่วงเวลาที่กลางวันเท่ากับกลางคืน

ส่วนวันที่กลางคืนยาวนานที่สุด คือ วันที่ ๒๑ ธันวาคม หรือเรียกว่า "วันเหมายัน"

โดยเฉลี่ยแล้วในประเทศไทย วันดังกล่าวกลางคืนจะนานประมาณ ๑๓-๑๔ ชั่วโมง

ประเทศไทยตั้งอยู่บนเส้นรุ้งประมาณ ๘-๒๐ องค์ศาเหนือ

ในขณะที่วันที่กลางคืนแสนสั้นที่สุด คือ วันที่ ๒๑ มิถุนายน หรือเรียกว่า "วันครีษมายัน" โดยเฉลี่ยแล้วในประเทศไทยวันดังกล่าวกลางคืนจะนานประมาณ๑๐-๑๑ ชั่วโมงเท่านั้น

จากปรากฏการณ์ดังกล่าวของดวงอาทิตย์ มนุษย์ในยุคโบราณจึงสร้างโบรณสถานโดยใช้ข้อมูลดาราศาสตร์เป็นเครื่องกำหนดและยึดเอาสิ่งก่อสร้างนั้นเป็น "สุริยปฏิทิน" ซึ่งถือว่าเป็นต้นแบบของ ปฏิทินสากลที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้

ในต่างประเทศมีโบราณสถานที่ถือว่าเป็นสุริยปฏิทิน อันเป็นที่รู้จัก และมีชื่อเสียงไปทั่วโลก เช่น

ปราสาทรนครวัด ประเทศกัมพูชา ปราสาทมาชูปิกชู ประเทศเปรู ตัวสฟิงซ์ ประเทศอียิปต์ สโตนเฮนจ์ ประเทศอังกฤษ

ถ้ำนิวเกรน ประเทศไอซ์แลนด์ พีระมิด เอล คาสติโล ประเทศเม็กซิโก รวมทั้งมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ กรุงโรม ประเทศอิตาลี

อย่างไรก็ตามในวันที่ ๒๑ มีนาคม หากมีการถ่ายทอดสด ตำแหน่งของพระอาทิตย์จากโบราณสถานที่กล่าวมาข้างต้น ตำแหน่งของดวงอาทิตย์จะขึ้นตรงกับจุดกึ่งกลางของโบราณสถานทั้งหมด เช่น
สฟิงซ์ ดวงอาทิตย์จะขึ้นตรงบริเวณปลายจมูก

มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ ดวงอาทิตย์จะขึ้นตรงกับประตูด้านทิศตะวันออกของวิหาร

ส่วนที่ปราสาทมาชูปิกชู ดวงอาทิตย์จะขึ้นหน้าช่องกลาง (มี ๓ ช่อง) ในขณะที่ปราสาทนครวัด ดวงอาทิตย์จะขึ้นตรงกับยอดพระปรางค์องค์กลางพอดี

Комментарии

Информация по комментариям в разработке