วิธี ฝังรากฟันเทียม เจ็บไหมมาดูกัน!!

Описание к видео วิธี ฝังรากฟันเทียม เจ็บไหมมาดูกัน!!

การรักษารากฟัน หมายถึง กรณีที่ใช้กับการรักษากรณีคนไข้มีฟันผุลึก จนไม่สามารถอุดได้แล้ว จำเป็นที่ต้องการรักษารากฟัน แต่สำหรับ #การทำรากฟันเทียม เป็นกรณีที่คนไข้มีการสูญเสียฟันไปแล้ว แต่ต้องการใส่ฟันเข้ามาใหม่

โดยสรุปง่าย ๆ คือ การรักษารากฟันจะเป็นกรณีที่ฟันเดิมเรายังอยู่ แต่กรณีรากฟันเทียมเป็นกรณีที่คนไข้สูญเสียฟันเดิมไปแล้วแล้วต้องการใส่ฟันใหม่

รากฟันเทียมคืออะไร
ตัวรากฟันเทียมก็เป็นสิ่งที่มาใช้ทดแทนในกรณีที่คนไข้มีการสูญเสียฟันไป ไม่ว่าจะเป็นเกิดจากต้องถอนจากฟันผุ ต้องถอนจากฟันหัก หรือว่าเคยรักษารากแล้วตัวรากมีการแตกร้าวจะต้องถอนออกไป
ตัวรากฟันเทียมนี้ก็ทำมาจากไทเทเนียมซึ่งจะมีความแข็งแรงมาก วัสดุที่เป็นไทเทเนียมมักมีการนำไปใช้กับทางการบิน ซึ่งปัจจุบันก็มีการพัฒนานำมาใช้กับทางการแพทย์

ข้อดีของตัวไทเทเนียม คือ เป็นวัตถุที่มีน้ำหนักเบา รวมถึงมีความไม่เป็นพิษต่อร่างกาย สามารถนำมาใช้รองรับฟันซึ่งมีการบดเคี้ยวที่มีแรงมาก ๆ ได้ โดยหลังจากที่เราฝังตัวรากเทียมเข้ามาในกระดูกแล้ว จึงค่อยมาทำการใส่ฟันทีหลังเพื่อให้คนไข้สามารถบดเคี้ยวได้

วิธีการรรักษารากฟันเทียม
ก่อนที่เราจะเริ่มทำการรักษาก็จำเป็นจะต้องมีการเอกซเรย์คนไข้ก่อน โดยเอกซเรย์บริเวณกระดูกที่จะทำการฝังตัวรากฟันเทียม ซึ่งในปัจจุบันแนวทางการเอกซเรย์ เราจะแนะนำให้ใช้เป็นการเอกซเรย์ 3 มิติ ซึ่งจะเป็นแตกต่างเอกซเรย์ 2 มิติจากสมัยก่อน ตัวเอกซเรย์ 3 มิตินี่ เราสามารถที่จะเห็น ความกว้าง, ความยาว, ความอูมของกระดูกคนไข้ ได้เป็น 3 มิติเลย ในขณะที่ 2 มิติ เราจะให้ข้อมูลไม่ชัดเท่าภาพ 3 มิติ ซึ่งเราจะเห็นเส้นทางการวิ่งไม่ว่าจะเป็นการวิ่งของเส้นเลือด เส้นประสาท ทำให้ทันตแพทย์สามารถวางแผนการรักษา และ เพื่อลดความเสี่ยงที่การฝังรากเทียม จะมีโอกาสไปกระทบกระเทือนกับเส้นเลือดเส้นประสาทได้

หลังจากที่เราเอกซเรย์แล้วเราก็จะทราบได้เลยว่า กระดูกคนไข้นั้นมีปริมาณมากน้อยเพียงใด ถ้าคนไข้มีปริมาณกระดูกที่เพียงพอเราก็สามารถที่จะฝังรากเทียมได้เลย โดยไม่จำเป็นต้องมี #การปลูกกระดูกร่วมด้วย แต่ถ้าเกิดสมมุติคนไข้มีกระดูกไม่เพียงพอบางที หรือบางกรณีนั้นเราก็จำเป็นที่จะต้องฝังรากเทียมร่วมกับการมีการปลูกกระดูกร่วมด้วย หรือถ้าในกรณีที่แย่มากจริง ๆ หรือว่ากรณีที่คนไข้มีกระดูกน้อยมาก ๆ จริง ๆ อย่างกรณีนี้เราก็จำเป็นที่ต้องมีการปลูกกระดูกก่อน จากนั้นจะต้องรอประมาณ 6 - 9 เดือน เพื่อให้กระดูกของคนไข้พร้อมก่อน หลังจากนั้นเราจึงค่อยทำการฝังตัวรากฟันเทียมไปทีหลัง

ถ้าเป็นกรณีสุดท้ายก็ต้องใช้กินระยะเวลานาน รวมถึงคนไข้มีการผ่าตัดหลายรอบมากขึ้น หลังจากกระบวนการฝังรากเทียมเสร็จเรียบร้อยแล้ว เราก็จะต้องรออีกประมาณอย่างน้อย 2-3 เดือน ให้ตัวกระดูกมันยึดกับตัวรากฟันเทียมให้ดีก่อน แล้วหลังจากนั้นประมาณ 2-3 เดือน ทันตแพทย์ก็จะนัดคนไข้มาเพื่อพิมพ์ปากแล้วก็ทำตัวครอบฟันอีกที

การดูแลรักษาหลังฝังรากฟันเทียม
หลังจากทำรากฟันเทียมไปแล้วหลาย ๆ คนคิดว่าตัวรากฟันเทียมมันก็แข็งแรง ไม่หัก ไม่แตก อย่างไรก็ตามการรักษารากฟันเทียมก็จำเป็นที่ต้องมีการบำรุงรักษา หรือว่าคนไข้ต้องมาติดตามอาการอยู่เป็นประจำทุก ๆ ปี เพื่อดูว่ามีส่วนของรากเทียมตัวไหน ที่แตกหักหรือว่ามีการจำเป็นต้องเปลี่ยนหรือเปล่า โดยทันตแพทย์จะแนะนำว่าถ้าคนไข้ทำรากเทียมที่ไหนก็แนะนำให้ติดตามอาการกับสถานที่คนไข้ไปทำที่นั่น


💬 หากพบปัญหาในช่องปาก ปรึกษาหมอเคนได้ด้านล่างได้เลยครับ
.
👍 ฝากกด Like กด Subscribe ด้วยนะครับ
.
💬 และถ้ามีคำถาม ข้อสงสัย เกี่ยวกับรากเทียม comment ไว้ใต้โพสได้เลยนะครับ
.
✔️เดี๋ยวจะมาคัดเลือกไปทำคลิปครับ ขอบคุณครับ
.
#ฟันเทียม #หมอเคน #ขั้นตอนทำรากฟันเทียม

Комментарии

Информация по комментариям в разработке