เล็บมือนาง ไม้เลื้อย ดอกหอมแรง หอมไกล หอมนาน ให้ดอกตลอดปี

Описание к видео เล็บมือนาง ไม้เลื้อย ดอกหอมแรง หอมไกล หอมนาน ให้ดอกตลอดปี

๐ เล็บมือนาง จะมั่ง จ๊ามั่ง ไท้หม่อง อะดอนิ่ง

๐ ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name): Combretum indicum (double-flowered) ชื่อพ้อง Quisqualis indica
ชื่อสกุลมา 'Combretum' มาจากคำภาษากรีกโบราณ "κόμβρος" (kombros) หมายถึง "เถา" หรือ "ไม้เลื้อย" อ้างอิงถึงลักษณะการเจริญเติบโตของพรรณไม้ในสกุลนี้
ชื่อชนิดพันธุ์ ภาษาละติน 'indicum' หมายถึง 'ของอินเดีย' แสดงถึงมีถิ่นกำเนิดในอินเดีย
๐ ชื่อสามัญ (Common Name): Rangoon creeper, Chinese honey Suckle, Drunken sailor
๐ ชนิด (Type): ไม้เถาเลื้อยไม่ผลัดใบ (Evergreen vine)
๐ วงศ์ (Family): Combretaceae
๐ ถิ่นกำเนิด (Native Range) : ภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบได้ในประเทศอินเดีย ศรีลังกา เนปาล ภูฏาน พม่า ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และปาปัวนิวกินี
๐ ความสูงของทรงพุ่ม (Height) : 6-15 เมตร
๐ ความกว้างของทรงพุ่ม: 6-15 เมตร
๐ ระยะเวลาดอกบาน (Bloom Time): ตลอดทั้งปี อออกช่อดอกออกที่ปลายกิ่งหรือตามซอกใบ มีช่อดอกรวมแบบช่อกระจุก (cymose type) ช่อดอกที่มีดอกย่อยที่เกิดก่อนอยู่ตรงกลาง หรือปลายช่อดอกการบานของดอกเริ่มที่ดอกย่อยบริเวณกลางหรือด้านปลายบนของช่อดอก ดอกย่อยมีกลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดเล็ก ปลายแหลมแยกเป็น 5 แฉก กลีบดอกมีโคนดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด มีทั้งสายพันธุ์กลีบดอกชั้นเดียวและดอกซ้อน ดอกเริ่มบานมีสีขาวหรือสีชมพูอ่อน เมื่อดอกบานเต็มที่เปลี่ยนเป็นสีชมพูเข้ม ดอกย่อยทยอยบาน เมื่อใกล้โรยเปลี่ยนเป็นสีแดง หรือชมพูเข้ม
๐ ความต้องการแสง (Sun): แดดเต็มวัน
๐ ความต้องการน้ำ (Water): ปานกลาง ในช่วงระยะเวลาที่ต้องการให้พวงครามแทงช่อดอกควรงดน้ำเป็นระยะ
๐ การดูแลรักษา (Maintenance): เป็นไม้เลื้อยที่มีการเจริญเติบโตเร็วจึงจำเป็นต้องมีการจัดรูปทรงของการเลื้อยให้ไปในทิศทางที่ต้องการ รวมไปถึงการตัดแต่งกิ่งที่มีการเลื้อยออกไปนอกทิศทาง ซึ่งจะทำสนับสนุนการแตกยอดใหม่ได้ดีขึ้นด้วย
๐ การใช้งานที่แนะนำ (Suggested Use): นิยมปลูกเป็นไม้เลื้อยขึ้นคลุมหลังคาไม้ระแนง รั้วไม้ระแนง นอกจากนี้แล้วยังนิยมปลูกควบคุมทรงพุ่มให้มีขนาดตามต้องการ รวมไปถึงควบคุมทรงพุ่มในรูปแบบไม้กระถางแขวน
๐ ใบไม้ (Leaf): ลำต้นรูปแบบไต่ขึ้นที่สูง (Twining stem) โดยเล็บมือนางใช้ลำต้นพันหลักเป็นเกลียวขึ้นกับหลักขึ้นไป ลำต้นที่มีอายุมากมีเนื้อไม้ เปลือกมีสีน้ำตาลเข้ม เปลือกลำต้นแตกเป็นร่อง ทรงพุ่มกว้างจากการแตกกิ่งก้าน มีใบเดี่ยวขึ้นเรียงตรงข้าม ใบรูปรี (Elliptic) แผ่นใบผายกว้างมากที่สุดตรงกลางแผ่นใบ แล้วค่อยเรียวไปทางปลายและฐานของใบ เนื้อใบหนาบาง ผิวใบมีขนอ่อน ๆ ขึ้นปกคลุมบาง ๆ ประกอบกับเส้นใบและร่องเส้นใบชัดมาก
๐ การเพาะปลูก (Culture)
การปลูกเล็บมือนางให้ได้ผลดีควรเตรียมดินปลูกที่มี โครงสร้างของดินร่วนระบายน้ำและถ่ายเทอากาศได้ดี โดยที่มีความอุดมสมบูรณ์ของอินทรีย์วัตถุสูง โดยเล็บมือนางเป็นพืชที่สามารถเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ได้รับน้ำน้อยหรือเป็นพื้นที่ทนทานต่อการขาดน้ำเป็นระยะเวลานานหลายวันติดต่อกันได้ จึงทำให้ในการดูแลรักษารดน้ำไม่จำเป็นจะต้องให้น้ำเป็นประจำได้เช่นกัน อย่างไรก็ตามในช่วงที่เล็บมือนางออกดอกพอสมควรแล้วการรดน้ำเพื่อรักษาความชื้นอย่างต่อเนื่องจะทำให้สามารถรักษาการออกดอกได้อย่างต่อเนื่อง
แม้ว่าเล็บมือนางจะเป็นต้นไม้ที่ให้ดอกตลอดทั้งปีก็ตาม สำหรับต้นไม้ที่ซื้อมาใหม่จากร้านค้าและมีการให้ดอกติดมาด้วยนั้น จำเป็นต้องบำรุงดูแลรักษาให้ต้นมีความอุดมสมบูรณ์เพิ่มขึ้น โดยอาจจะเลือกปลูกลงดินโดยตรงหรือปลูกย้ายลงในกระถางใหม่ ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ของดินสูง แนะนำให้เพิ่มปริมาณอินทรีย์วัตถุลงไปในวัสดุปลูกให้มากขึ้น
การขยายพันธุ์ทำได้โดยใช้เมล็ด และวิธีการที่นิยมก็คือการตอนกิ่ง ทำให้ได้ต้นที่มีความแข็งแรงและพร้อมที่จะออกดอกต่อไปได้ อย่างไรก็ตามสามารถทำการขยายพันธุ์ด้วยการปักชำได้เช่นกันแต่มีอัตราการงอกรากยากสักเล็กน้อยจำเป็นต้องใช้สารกระตุ้นการงอกรากประกอบด้วย

๐ ปัญหา (Problems)
ไม่มีโรคและศัตรูที่ร้ายแรงเข้าทำลาย แต่ควรมัดระวังเพลี้ยต่างๆ อาทิ เพลี้ยอ่อนและเพลี้ยแป้ง ในการดูดกินน้ำเลี้ยงของต้นพืชทำให้เกิดการเจริญเติบโตช้าลง

๐ คติความเชื่อแต่โบราณนานมาเรียกขานคนที่ปลูกอะไรก็งาม ปลูกอะไรก็ขึ้นว่าเป็นคน “มือเย็น” ตรงกับภาษาอังกฤษคำว่า “Green Thumb” หรือพวกหัวแม่โป้งเขียว ก็คือคนมือเย็นน้่นเอง

๐ Muuyehn Studio หรือ มือเย็น สตูดิโอ เป็นช่องที่จัดทำขึ้นเพื่อเป็นกำลังใจให้คนทั้งมือเย็น มือไม่เย็น มืออุ่น มือร้อน มือไหนๆ ก็ปลูกต้นไม้ได้งอกงามดี ขอแค่ทำความรู้จักและรักที่จะปลูก
ถึงปลูกแล้วตาย ปลูกแล้วโตช้าก็อย่าได้แคร์ ขอให้ปลูกกันต่อไปนะครับผม

Комментарии

Информация по комментариям в разработке