วีดิทัศน์โครงการจัดทำการใช้ประโยชน์ที่ดินรอบสถานีรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน EEC สถานีพัทยา

Описание к видео วีดิทัศน์โครงการจัดทำการใช้ประโยชน์ที่ดินรอบสถานีรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน EEC สถานีพัทยา

วีดิทัศน์ประกอบประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน สัมมนาสรุปผลการศึกษา
โครงการจัดทำแผนผังการใช้ประโยชน์ในที่ดินบริเวณพื้นที่รอบสถานี เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน
วันศุกร์ที่ 26 เมษายน 2567 เวลา 08.30 – 14.00 น.
ณ ห้องรัตนโกสินทร์ โรงแรมอีสเทิร์น แกรนด์ พาเลซ พัทยา อ.บางละมุง จ.ชลบุรี
โดย สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)
****************************************************************
โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน เป็นโครงการสำคัญในการขับเคลื่อนการพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor) เพื่อสร้างงาน สร้างโอกาส ยกระดับมูลค่าทางเศรษฐกิจ สร้าง New S-Curve โดยมีรถไฟความเร็วสูงขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่เวทีโลก ซึ่งหนึ่งในการต่อยอดให้เกิดประโยชน์สูงสุด คือการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีตามหลักการ TOD
ด้วยเหตุนี้ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก จึงได้ดำเนินการจัดทำแผนผังการใช้ประโยชน์ในที่ดินบริเวณพื้นที่รอบสถานี เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษฯ เพื่อรองรับการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟความเร็วสูง 2 แห่ง ได้แก่ สถานีพัทยา จังหวัดชลบุรี และ สถานีฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อให้รถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินมีความคุ้มค่า ด้วยการสร้างเมือง TOD ยกระดับคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจ
“พัฒนา TOD รอบสถานีรถไฟความเร็วสูง ให้เป็นเมืองน่าอยู่ ส่งเสริมคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจสู่ชุมชน”
โดยที่ผ่านมา โครงการได้ดำเนินการการศึกษาจัดทำผังการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณรอบสถานี ไปพร้อมกับรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมาพัฒนาโครงการให้มีความเหมาะสมมากที่สุด ซึ่งสรุปได้ดังนี้
สถานีพัทยา
ด้วยศักยภาพการเป็นเมืองท่องเที่ยวหลักที่สำคัญของพัทยา การเข้าถึงเมืองพัทยาด้วยสถานีรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินในอนาคตย่อมสนับสนุนให้พื้นที่โดยรอบ มีบทบาทและศักยภาพในการเป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่อเมืองพัทยาไปสู่นานาชาติ และ ศูนย์กลางการเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างเมืองและชุมชนโดยรอบ
หลังจากรถไฟความเร็วสูงเปิดให้บริการ คาดการณ์ว่าในปี 2580 สถานีพัทยาจะมีจำนวนผู้โดยสารจะมาเปลี่ยนถ่ายการเดินทางที่สถานีนี้กว่า 15,000คน เที่ยวต่อวัน

บริเวณสถานีพัทยานอกจากจะเป็นที่ตั้งของสถานีรถไฟทางคู่ สถานีรถไฟความเร็วสูงแล้ว ในอนาคตจะมีระบบขนส่งมวลชนรองสายสีเขียวของเมืองพัทยา (ซึ่งคาดว่าจะเป็นระบบขนส่งแบบรางยกระดับ) เชื่อมเส้นทางจากท่าเรือแหลมบาลีฮายมายังสถานีพัทยาอีกด้วย
ปัจจุบัน EEC ได้ประกาศขอบเขตพื้นที่ส่งเสริมฯ สถานีรถไฟความเร็วสูงพัทยาไปแล้วครอบคลุมเนื้อที่กรรมสิทธิ์ที่ดินของ รฟท. ทั้งหมด 97 ไร่
อย่างไรก็ตามพบว่า มีแปลงที่ดินข้างเคียงมากถึง 35 ราย รวม 64 แปลง (ประมาณ 142 ไร่) แสดงความสนใจจะเข้าร่วมเป็นเขตส่งเสริมด้วยหากมีโอกาสขยายเขตส่งเสริมเพิ่มขึ้น หลังจากการประชุมรับฟังความคิดเห็นและการวางแผนเพื่อป้องกันปัญหาการพัฒนาแบบไร้ทิศทางแล้วพบว่าสามารถขยายพื้นที่เขตส่งเสริมฯได้เนื้อที่รวมเป็น 280 ไร่
ในอนาคตสถานีรถไฟความเร็วสูงพัทยา จะมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนให้พื้นที่โดยรอบ มีบทบาทและศักยภาพในการพัฒนาภายใต้วิสัยทัศน์ ประสู่พัทยา ศูนย์กลางพาณิชย
กรรมและที่อยู่อาศัยใหม่นานาชาติ เดินทางสะดวกด้วย Smart Mobility
-ส่งเสริมการพัฒนาผสมผสานหนาแน่นสูงหลากหลายรูปแบบ ทั้งพาณิชยกรรม ที่อยู่อาศัย และอุตสาหกรรมเป้าหมายด้านอุตสาหกรรมการแพทย์เชิงท่องเที่ยว (Medical tourism) อุตสาหกรรมการจัดอบรมสัมมนาและการจัดประชุมต่าง ๆ และอุตสาหกรรมท่องเที่ยวสำหรับผู้มีรายได้สูง
-มีศูนย์การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (Intermodal Transit Facility) หรือ ITF เพื่อเชื่อมโยงสถานีกับพื้นที่ข้างเคียง และเชื่อมต่อการเดินทางไปยังต่างเมือง ต่างภูมิภาค และนานาชาติอย่างมีประสิทธิภาพ
-มีโครงข่ายถนนที่เพียงพอสามารถรองรับปริมาณจราจรในอนาคต และมีถนนที่ส่งเสริมการเชื่อมโยงพื้นที่โดยรอบเข้าสู่สถานีรถไฟ
-มีพื้นที่สีเขียวที่เพียงพอโดยมีพื้นที่สาธารณะตามมาตรฐาน TOD
-และมีพื้นที่รับน้ำ ตามแนวถนนสายหลักในบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำเดิม เพื่อบรรเทาปัญหาน้ำท่วม
และนี้ คือภาพแห่งอนาคตของสถานีพัทยา ที่จะเปลี่ยนไปด้วยการพัฒนาตามหลัก TOD สร้างการใช้ประโยชน์ที่ดินผสมผสาน และสร้างสรรค์กิจกรรมเป็นเมืองท่องเที่ยวระดับโลกที่มีความคึกคัก มีชีวิตชีวา ส่งเสริมพื้นที่เศรษฐกิจทุกระดับ มีโครงข่ายการเดินทางที่เข้าถึงง่าย ตามหลักสากล เอื้อต่อการเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะ รายล้อมไปด้วยพื้นที่สีเขียวทำให้การใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพและยั่งยืน

********************************************************************
บริษัท ดาวฤกษ์ คอมมูนิเคชั่นส์ จำกัด ดำเนินการด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน และด้านการประชาสัมพันธ์และการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์

Комментарии

Информация по комментариям в разработке