สอนเพาะเมล็ดผักสลัด เหมาะสำหรับมือใหม่ที่เริ่มปลูกผักสลัด วิธีเพาะให้งอก 100% และแก้ปัญหาต้นกล้ายืด

Описание к видео สอนเพาะเมล็ดผักสลัด เหมาะสำหรับมือใหม่ที่เริ่มปลูกผักสลัด วิธีเพาะให้งอก 100% และแก้ปัญหาต้นกล้ายืด

คู่มือปลูกผักในกล่องโฟมสำหรับมือใหม่
วันที่ 1
ชุบฟองน้ำให้ฟองน้ำชุ่มน้ำ จากนั้นทำการรินน้ำออก เริ่มเพาะเมล็ด วางเมล็ดรอยบากฟองน้ำหลุมละ 1 เมล็ด เสร็จแล้วใช้ฟอกกี้ฉีดหน้าฟองน้ำให้ชุม อีกครั้งแล้วคลุมถุงดำคลุมแล้วนำไปไว้ในที่มืดสนิท 1 คืน (น้ำในกะบะเพาะไม่ควรท่วมฟองน้ำให้พอดีหรือเสมอกับฟองน้ำ)
.
วันที่ 2
ให้เรานำออกรับแสงวางไว้ชายคาหน้าบ้าน พรมน้ำหน้าฟองน้ำให้ชุ่ม เช้าและเย็น (**ห้ามโดนแดดแรง และไม่ควรโดนฝน)
.
วันที่ 3
ใช้ฟอกกี้ฉีดพรมหน้าฟองน้ำให้ชุ่ม เช้า-เย็น เราจะสั่งเกตุเห็นว่าเมล็ดเริ่มงอกเกือบทุกเมล็ดแล้ว
.
วันที่ 4
ใช้ฟอกกี้ฉีดพรมหน้าฟองน้ำให้ชุ่ม เช้า-เย็น
.
วันที่ 5-6
ใช้ฟอกกี้ฉีดพรมหน้าฟองน้ำให้ชุ่ม เช้า-เย็น และทำการเติมน้ำเปล่าให้เต็มกะบะเพาะให้ฟองน้ำลอยน้ำ เวลารากผักงอกจะได้แทงรากได้ง่าย
.
วันที่ 7
ผ่านไป 7 วัน จะเริ่มมีใบที่ 3 ให้เริ่มเติมปุ๋ย A ปุ๋ย B อัตราส่วน น้ำเปล่า 1 ลิตร ต่อปุ่ย A 3ml. ปุ๋ย B 3ml. (หากเราเติมน้ำเปล่ากระบะเพาะเรา 10 ลิตร ก็ใส่ปุ๋ย A 30ml. ปุ๋ย B 30ml.)
.
วันที่ 8-วันที่16
พยายามให้ผักได้รับแสงแดดช่วงเช้า 06.00 - 09.00 น. กำลังดี แสงแดดไม่ร้อนมาก ผักจะสังเคราะห์แสงและโตได้ดี อย่าให้โดนแดดแรง และโดนน้ำฝน ส่วนน้ำปุ๋ยเราจะไม่ได้เติมเพราะต้นกล้ายังเล็กอยู่ยังกินน้ำปุ๋ยไม่เยอะ
.
วันที่17-วันที่21
ประมาณวันที่ 17-วันที่ 21 รางผักจะเริ่มยาวประมาณ 2-3 นิ้ว เราก็จะทำการย้ายลงกล่องโฟม ให้เราทำการเติมน้ำในกล่องโฟม 20 ลิตร (ให้เหลือพื้นที่วางอากาศในกล่องโฟม ประมาณ 1 นิ้ว)
เติมปุ๋ย A 100 ml. คนน้ำปุ๋ยA ให้เข้ากับน้ำเปล่า ทิ้งไว้สัก 5 นาที แล้วค่อยเติมปุ๋ย B 100 ml. ตามลงไป แล้วคนน้ำให้เข้ากัน
ค่า pH น้ำควรอยู่ที่ 6 - 7
ค่า EC น้ำควรอยู่ที่ 1.2-1.3
*ผักควรได้แสง 06.00 - 10.00 น. หรือประมาณ 3-4 ชั่วโมงต่อวัน
**ควรมีแสลนสีดำ 50% ช่วงพลางแสงในช่วงเวลา 11.00 - 17.00 น. หรือช่วงที่แสงแดดแรง ประมาณ 2 อาทิตย์หลังจากที่เรานำขึ้นกล่องโฟม
.
วันที่ 22-ถึงวันที่25
ผ่านไป 1 อาทิตย์หลังจากที่เรานำผักขึ้นกล่องโฟม ให้เปิดกล่องโฟมดูว่าน้ำในกล่องโฟมลดลงไหม ถ้าลดก็เติมน้ำ+ปุ๋ย ลงไปผสมกับน้ำปุ๋ยเก่าได้เลย แต่ถ้าน้ำไม่ลดก็ไม่ต้องเติมครับ
ค่า pH น้ำควรอยู่ที่ 6 - 7
ค่า EC น้ำควรอยู่ที่ 1.3-1.4
*ผักควรได้แสง 06.00 - 12.00 น. หรือประมาณ 4-5 ชั่วโมงต่อวัน
**ควรมีแสลนสีดำ 50% ช่วงพลางแสงในช่วงเวลา 11.00 - 17.00 น. หรือช่วงที่แสงแดดแรง ประมาณ 2 อาทิตย์หลังจากที่เรานำขึ้นกล่องโฟม
.
วันที่ 26-วันที่ 30
ถ้าผักแข็งแรงแล้วแนะนำให้นำแสลนพลางแสงออก แล้วสังเกตุดูว่าผักโดนแดดแรงๆ เหี่ยวไหม ถ้าเหี่ยวมากๆ ก็ควรมีสแลนช่วย แต่ถ้าผักไม่เหี่ยวก็ให้นำสแลนออกให้ผักได้รับแสงเต็มที่
เปิดกล่องโฟมดูว่าน้ำในกล่องโฟมลดลงไหม ถ้าลดก็เติมน้ำ+เติมปุ๋ย อัตราส่วน 5ml.ต่อน้ำ 1 ลิตร ลงไปผสมกับน้ำปุ๋ยเก่าได้เลย แต่ถ้าน้ำไม่ลดก็ไม่ต้องเติมครับ
ค่า pH น้ำควรอยู่ที่ 6 - 7
ค่า EC น้ำควรอยู่ที่ 1.4-1.5
*ผักควรได้แสง 06.00 - 14.00 น. หรือประมาณ 5-6 ชั่วโมงต่อวัน
.
วันที่ 31-วันที่ 35
เปิดกล่องโฟมดูว่าน้ำในกล่องโฟมลดลงไหม ถ้าลดก็เติมน้ำ+เติมปุ๋ย อัตราส่วน 5ml.ต่อน้ำ 1 ลิตร ลงไปผสมกับน้ำปุ๋ยเก่าได้เลย แต่ถ้าน้ำไม่ลดก็ไม่ต้องเติมครับ
ค่า pH น้ำควรอยู่ที่ 6 - 7
ค่า EC น้ำควรอยู่ที่ 1.6-1.8
*ผักควรได้แสง 06.00 - 15.00 น. หรือประมาณ 6-7 ชั่วโมงต่อวัน
.
วันที่ 36-วันที่ 40
ผักจะเริ่มกินน้ำเยอะ ยิ่งถ้าวันไหนแสงแดดแรงมากๆ ผักจะกินน้ำเยอะให้เราเปิดกล่องโฟมดูว่าน้ำในกล่องโฟมลดลงไหม ถ้าลดก็เติมน้ำ+เติมปุ๋ย อัตราส่วน 3ml.ต่อน้ำ 1 ลิตร ลงไปผสมกับน้ำปุ๋ยเก่าได้เลย แต่ถ้าน้ำไม่ลดก็ไม่ต้องเติมครับ
ค่า pH น้ำควรอยู่ที่ 6 - 7
ค่า EC น้ำควรอยู่ที่ 1.6-1.4 (เราจะเริ่มเติมน้ำเปล่าเข้าไปเพื่อให้ค่า EC ค่อยๆลดลง)
*ผักควรได้แสง 06.00 - 15.00 น. หรือประมาณ 7-8 ชั่วโมงต่อวัน
.
วันที่ 41-45
ถ้าเราวางแผนจะเก็บผัก อีก 1 อาทิตย์ ให้เราทำการเติมเฉพาะน้ำเปล่าลงไป งดการเติมปุ๋ย
ค่า pH น้ำควรอยู่ที่ 6 - 7
ค่า EC น้ำควรอยู่ที่ 1.4-0.8 (เราจะเริ่มเติมน้ำเปล่าเข้าไปเพื่อให้ค่า EC ค่อยๆลดลงให้เหลือน้อยที่สุด)
*ผักควรได้แสง 06.00 - 17.00 น. หรือประมาณ 7-8 ชั่วโมงต่อวัน
**ไม่ควรเลี้ยงน้ำเปล่านานเกินไป จะทำให้ผักยืด และน้ำหนังเบา
***ผักที่ปลูกสามารถเก็บกินได้เลย เช่นเราใส่ปุ๋ยไปแล้ว 1 อาทิตย์ แบบนี้อาทิตย์ถัดไปเราสามารถเก็บผักกินได้เลยโดยไม่ต้องเลี้ยงน้ำเปล่าอีก
.
หมายเหตุ
ค่า pH น้ำ ที่พืชดูดธาตุอาหารได้ดีคือ pH 6 - pH 7
ค่า EC ที่เหมาะสมปลูกผักสลัดคือ EC 1.2 - EC 1.8

Комментарии

Информация по комментариям в разработке