เฉลยข้อสอบ กพ ภาค ก วิชาภาษาไทย ระดับ ปวช/ปวส/อนุปริญญา EP.2

Описание к видео เฉลยข้อสอบ กพ ภาค ก วิชาภาษาไทย ระดับ ปวช/ปวส/อนุปริญญา EP.2

เฉลยข้อสอบจากเว็บไซต์สำนักงาน ก.พ. วิชาภาษาไทย สำหรับการสอบ ภาค ก กพ ในระดับ ปวช. / ปวส. / อนุปริญญา หัวข้อ การจับใจความสำคัญ ตอนที่ 2

เฉลยตัวอย่างข้อสอบ กพ ภาค ก วิชาภาษาไทย จากเว็บไซต์สำนักงาน ก.พ.
Update ล่าสุด! ตัวอย่างแนวข้อสอบภาค ก. ที่ปรับหลักสูตรใหม่
"ตัวอย่างแบบทดสอบเข้ารับราชการ ที่ปรับหลักสูตรใหม่" ตาม Link นี้
https://job.ocsc.go.th/exam_expo/

การสอบภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ของ ก.พ. จะประกอบด้วยวิชา ดังนี้

หลักสูตรและวิชาที่ใช้ในการสอบ ก.พ.
ทดสอบวิชาความสามารถทั่วไป (คะแนนเต็ม 200 คะแนน)
โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังต่อไปนี้
(1.) วิชาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ (คะแนนเต็ม 100 คะแนน) เป็นการสอบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ครอบคลุมประเด็น ดังนี้
(ก) การคิดวิเคราะห์เชิงภาษา ได้แก่ การใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ความเข้าใจในการอ่านภาษาไทย การจับใจความสำคัญ การสรุปความ การตีความจากบทความ ข้อความ หรือสถานการณ์ต่างๆ
(ข) การคิดวิเคราะห์เชิงนามธรรม ได้แก่ การคิดหาความสัมพันธ์เชื่อมโยงคำ ข้อความหรือรูปภาพ ตลอดจนการหาข้อสรุปอย่างสมเหตุสมผลจากข้อความ สัญลักษณ์ รูปภาพ สถานการณ์ หรือแบบจำลองต่างๆ และ
(ค) การคิดวิเคราะห์เชิงปริมาณ ได้แก่ ความเข้าใจ ความคิดรวบยอด และแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เบื้องต้น การเปรียบเทียบและวิเคราะห์เชิงปริมาณ ตลอดจนการประเมินความเพียงพอข้อมูล

(2.) วิชาภาษาอังกฤษ (คะแนนเต็ม 50 คะแนน) เป็นการทดสอบทักษะภาษาอังกฤษเพื่อวัดความเข้าใจในหลักการสื่อสาร โดยใช้ศัพท์ สำนวน โครงสร้างประโยคที่เหมาะสมทั้งในเชิงความหมายและบริบท แสดงถึงความสามารถในการสื่อสารทที่มีประสิทธิภาพ การวัดความสามารถด้านการอ่าน โดยทดสอบการทำความเข้าใจในสาระของข้อความหรือบทความ และการวัดความสามารถด้านการเขียนภาษาอังกฤษในระดับเบื้องต้น

(3.) วิชาความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี (คะแนนเต็ม 50 คะแนน) เป็นการทดสอบความรู้ที่เป็นพื้นฐานของการเป็นข้าราชการที่ดี ความรู้ดังกล่าวได้แก่ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง หน้าที่และความรับผิดในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ ตลอดจนเจตคติและจริยธรรมสำหรับข้าราชการ
#กพ64 #ท้องถิ่น64 #ภาษาไทยกพ #ภาษาไทยท้องถิ่น

Комментарии

Информация по комментариям в разработке