ฝึกจิต เส้นทางดับทุกข์ *ปล่อยวางคำเดียว* ไม่ยึดมั่นถือมั่น โดยหลวงพ่อพุทธทาสภิกขุ

Описание к видео ฝึกจิต เส้นทางดับทุกข์ *ปล่อยวางคำเดียว* ไม่ยึดมั่นถือมั่น โดยหลวงพ่อพุทธทาสภิกขุ

ความว่าง สุญญตา และ จิตว่าง ในพุทธศาสนา

สุญต หรือ ศูนยตา (สันสกฤต: ศูนฺยตา) แปลว่า ความว่างเปล่า, ความเป็นของสูญ คือความไม่มีตัวตน ถือเอาเป็นตัวตนไม่ได้

สุญตามีความหมาย 4 นัย คือ

ความเป็นสภาพที่ว่างจากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาวะที่ขันธ์ 5 เป็นอนัตตา คือ มิใช่ตัวตน ไม่มีอัตตา ว่างจากความเป็นตน ตลอดจนว่างจากสารัตถะต่าง ๆ เช่น ความเที่ยง ความสวยงาม ความสุข เป็นต้น,

โดยปริยายหมายถึง หลักธรรมฝ่ายปรมัตถ์ดัง เช่น ขันธ์ ธาตุ อายตนะ และปฏิจจสมุปบาท ที่แสดงแต่ตัวสภาวะให้เห็นความว่างเปล่าปราศจากสัตว์ บุคคล เป็นเพียงธรรมหรือกระบวนธรรมล้วน ๆ

ความว่างจากกิเลส มีราคะ โทสะ โมหะ เป็นต้น ก็ดี สภาวะที่ว่างจากสังขารทั้งหลายก็ดี หมายถึง นิพพาน

โลกุตตรมรรค ได้ชื่อว่าเป็นสุญตา ด้วยเหตุผล 3 ประการ คือ เพราะลุด้วยปัญญาที่กำหนดพิจารณาความเป็นอนัตตา มองเห็นสภาวะที่สังขารเป็นสภาพว่าง (จากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน) เพราะว่างจากกิเลสมีราคะเป็นต้น และเพราะมีสุญตา คือ นิพพาน เป็นอารมณ์

ความว่าง ที่เกิดจากความกำหนดหมายในใจ หรือทำใจเพื่อให้เป็นอารมณ์ของจิตในการเจริญสมาบัติ เช่น ผู้เจริญอากิญจัญญายตนสมาบัติกำหนดใจถึงภาวะว่างเปล่าไม่มีอะไรเลย

เรื่อง “สุญญตา” นี้ เป็นเรื่องสำคัญของชาวพุทธฝ่ายเหนือ หรือมหายาน เช่นเดียวกับเรื่อง “อนัตตา” เป็นเรื่องสำคัญของชาวพุทธฝ่ายใต้หรือเถรวาทของเรา แต่ความจริงคำว่า “สุญญตา” ก็มีใช้ในคัมภีร์ฝ่ายใต้เป็นอันมาก ถึงกับจัดเป็นหมวดหมู่หรือวรรคหนึ่ง คือ “สุญญตวรรค” ได้แก่หมวดที่ว่าด้วยสุญญตา อันเกี่ยวกับสมาบัติเป็นที่อยู่หรือเป็นวิหารธรรมของพระพุทธองค์ ดังที่ตรัสไว้ว่า พระองค์มีปกติอยู่ด้วยสุญญตสมาบัติ แท้จริงก็เป็นธรรมะทั่วไปในพระพุทธศาสนา เป็นแต่ว่าชาวพุทธฝ่ายมหายานยกเรื่อง “สุญญตา” ขึ้นมาเน้นเป็นพิเศษเช่นเดียวกับที่ชาวพุทธฝ่ายเถรวาทเน้นเรื่อง “อนัตตา” เป็นพิเศษ ฉะนั้น

คำว่า “สุญญตา” นี้ไม่ได้แปลว่า “ไม่มีอะไร” “สุญญตา” กับ “นัตถิตา” มีความหมายแตกต่างกัน นัตถิตา หรือ อุจเฉทะ ในภาษาบาลี เป็นคำที่ปฏิเสธว่า “ไม่มีอะไร” “หรือขาดสูญอย่างสิ้นเชิง” ส่วน “สุญญตา” หมายเพียง ปฏิเสธวาทะที่มีอยู่เองโดยมิต้องอิงอาศัยเหตุปัจจัย แต่มิได้ปฏิเสธสภาวะที่อาศัยเหตุปัจจัยปรากฏขึ้น

ที่มาคำแปล วิกิพีเดีย / หนังสือที่ใช้ประกอบในการเรียบเรียง/gotoknow.org
ปาฐกถา “สุญญตา” อาจารย์เสถียร โพธินันทะ ๒๕๑๐

Комментарии

Информация по комментариям в разработке