3 สาเหตุ ทุเรียนใบเหลือง | ทุเรียนธาตุอาหาร | ทุเรียนขาดแมกนีเซียม | ทุเรียนขาดธาตุเหล็ก

Описание к видео 3 สาเหตุ ทุเรียนใบเหลือง | ทุเรียนธาตุอาหาร | ทุเรียนขาดแมกนีเซียม | ทุเรียนขาดธาตุเหล็ก

3 สาเหตุ ทุเรียนใบเหลือง
ทุเรียนใบเหลือง...มีสมาชิกแชทมาถามเยอะ ถามบ่อยมากครับ..ส่วนใหญ่จะเป็นทุเรียนเริ่มปลูกใหม่...วันนี้คนเกษตรเลยหาข้อมูลจากชาวสวนมมาฝากกัน
ทุเรียนใบเหลือง เกิดจากหลายสาเหตุแต่หลักๆก็มีอยู่ 3 สาเหตุ
1.สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม
2.โรคและแมลง
3.ขาดธาตุอาหาร
เรามาดูสาเหตุแรกกันเลยครับ สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมได้แก่
สภาพดิน ซึ่งถ้าหากพืชเจริญเติบโตในดินที่มีค่าความเป็นกรดต่ำเกินไป ใบก็จะเหลือง เนื่องจากไม่สามารถดูดธาตุเหล็กเข้าไปบำรุงต้นได้อย่างเต็มที่ ดังนั้นดินที่จะเหมาะกับการปลูกพืช จึงต้องมีค่าความเป็นกรดอยู่พอสมควร เพื่อที่ความเป็นกรดจะได้แปลงธาตุอาหารให้พืชดูดกินได้สะดวก...ดังนั้นดินที่เหมาะสมควรเป็นดินร่วนปนทราย มีค่าpH อยู่ที่ 5.5-6.5
อุณหภูมิและความชื้น ทุเรียนชอบอากาศร้อนชื้น อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ในช่วงประมาณ 25-30 องศาเซลเซียส หากปลูกในพื้นที่ที่มีอากาศแห้งแล้ง พื้นที่ที่มีอากาศร้อนจัด ก็เกิดอาการซันเบิร์น หรืออากาศเย็นจัด และมีลมแรง จะพบปัญหาใบเหลือง ไหม้หรือใบร่วงได้เช่นกัน
ใบเหลืองที่เกิดจากการให้น้ำ การให้น้ำก็สำคัญครับ ควรให้พอดี..ทุเรียนขาดน้ำหรือให้น้ำมากก็ทำให้ทุเรียนใบเหลืองได้....ดังนั้นช่วงแรกของการปลูกควรให้น้ำ 2-3 วัน/ครั้ง ปล่อยน้ำครั้งละ 20-30 นาที ดูตามสภาพดินครับ...ถ้ายังแฉะหรือชื้นอยู่ก็ไม่ต้องให้น้ำ.....วิธีสังเกตุง่ายๆว่าดินแห้งไม้แห้งก็ใช้มือนี้ละครับ..จิ้มลงไป ถ้ามีดินติดมือมา นั้นแสดงว่าดินมีความชื้นอยู่..แต่ถ้าดินแห้ง...ก็ควรรดน้ำครับ...
สาเหตุที่ 2 คือ โรคและแมลง
** ในส่วนของอาการใบเหลืองที่เกิดจากโรค
โรคยอดฮิต...นั่นก็คือโรครากเน่าโคนเน่า
*** สาเหตุที่ทำให้เกิดโรครากเน่าโคนเน่า
ใช้ต้นกล้าทุเรียนที่อยู่ในถุงชำนานกว่า 1 ปี ซึ่งทำให้รากขดหรือเกิดรากงอ (ต้อง )
-พื้นที่การปลูกทุเรียนมีการระบายน้ำไม่ดี (แก้ปัญหาโดยการปั้นโคก)
ที่เกิดจากเชื้อราไฟทอปธอรา...จะเกิดแผลที่ลำต้น...และมีน้ำเยิ้มๆออกมา ถ้าเป็นหนักถึงระบบราก ก็จะเกิดอาการเหลืองทั้งต้นได้

**กรณีโรคเข้าทำลายรุนแรง
ให้ถากหรือขูดผิวเปลือกบริเวณที่เป็นโรคออก จากนั้นทาแผลด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช ฟอสอีทิล-อะลูมิเนียม 80% WP อัตรา 80-100 กรัม/น้ำ 1 ลิตร หรือสารเมทาแลกซิล 25% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 50-60 กรัม/น้ำ 1 ลิตร หรือสารเมทาแลกซิล+แมนโคเซบ 65% WP อัตรา 100 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร ทุก 7 วัน จนกว่าแผลจะแห้ง

หากพบใบเหลืองทั้งต้น ให้ราดดินด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชฟอสอีทิล-อะลูมิเนียม 80% WP อัตรา 30-50 กรัม/น้ำ 20 ลิตร หรือสารเมทาแลกซิล 25% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 30-50 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ใช้ร่วมกับการใช้ฟอสโฟนิก แอซิด 40% SL ผสมน้ำสะอาด อัตรา 1:1 ใส่กระบอกฉีดยาแล้วฉีดเข้าลำต้น

*** แต่ถ้าใบเหลืองเกิดจากแมลง... เราสามารถเปิดดูตามใบได้เลยจะเห็นตัวแมลงอย่างชัดเจน
*** ในกรณีใบเหลืองที่เกิดจากเพลี้ย..จะเกิดใบเหลืองๆด่างๆ ตอนใบเพลสะหลาด
หมายเหตุ : อาการเหลืองจากโรคและแมลงเราก็รักษาตามอาการได้เลยครับ...

สาเหตุที่ 2 ใบเหลือง เพราะขาดธาตุอาหารรองและธาตุอาหารเสริมรวมถึงธาตุหลักอย่างไนโตรเจน
**ลักษณะอาการทุเรียนใบเหลืองที่เกิดจากการขาดธาตุแมกนีเซียม…เกิดที่ใบเพสลาด อาการเหลืองจะเป็นที่แผ่นใบ แต่เส้นกลางใบจะเป็นสีเขียว ลักษณะคล้ายใบหอก คือ แถบกว้างจากขั้วใบ แล้วเรียวแหลมลงไป จนถึงปลายใบ ซึ่งเป็นอาการขาดธาตุแมกนีเซียม


**ลักษณะอาการทุเรียนใบเหลืองที่เกิดจากการขาดธาตุเหล็ก ใบเหลืองเฉพาะที่ใบอ่อน หรือใบเพสลาด ถ้าเป็นใบอ่อน ใบจะมีขนาดเล็กกว่าปกติ แผ่นใบ และเส้นกลางใบจะเหลืองซีดทั้งแผ่น ซึ่งเป็นอาการขาดธาตุเหล็ก

**อาการใบเหลืองของทุเรียนที่พบบ่อยอีกประการหนึ่งคือ การใช้ปุ๋ยยูเรียเพื่อเร่งการเจริญเติบโต…ทุเรียนที่มีธาตุไนโตรเจนมากเกินไปจะลดอัตราการดูดซึมธาตุแมกนีเซียมลง จึงทำให้ต้นทุเรียนขาดธาตุแมกนีเซียม ส่งผลทำให้ธาตุเหล็กมีประโยชน์ลดลงด้วย ทำให้ต้นทุเรียนแสดงอาการใบเหลือง ที่เกิดจากการขาดธาตุแมกนีเซียมและธาตุเหล็ก ซึ่งจะเป็นปัญหาสำหรับการเตรียมต้นทุเรียนให้พร้อมสำหรับการออกดอกได้ทัน กับสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมได้

*** วิธีแก้เรื่องใบเหลืองจากการขาดธาตุอาหาร..ง่ายๆ ขาดตัวไหน ก็ไปหาธาตุอาหารตัวนั้นมาใส่... ส่วนการฉีดพ่นควรทำในช่วงปากใบเปิด ในช่วงเช้า เพื่อให้ธาตุอาหารเข้าทางปากใบนะครับ

ทุกปัญหามีทางออก มีวิธีสังเกต สำหรับมือใหม่แล้วก็ลองสังเกตุและแก้ปัญหาไปทีละจุดครับ....แต่ที่สำคัญควรป้องกันไว้ดีกว่าแก้..แย่แล้วจะแก้ไม่ทัน เพราะการปลูกทุเรียนนั้นลงทุนสูง ทั้งกล้าพันธุ์ ทั้งปุ๋ยยา...การดูแล และการจ้างคนงาน..ถ้าแย่เกินเยียวยา อาจเจ้งได้ครับ

+++++++++++++++++

facebook :   / konkaset89  

Комментарии

Информация по комментариям в разработке