เรียนรู้จากข่าว : รู้จักโรคอัลไซเมอร์จนถึงระดับ Cell

Описание к видео เรียนรู้จากข่าว : รู้จักโรคอัลไซเมอร์จนถึงระดับ Cell

เรียนรู้จากข่าว : รู้จักโรคอัลไซเมอร์จนถึงระดับ Cell
โรคอัลไซเมอร์ Alzheimer
ภาวะสมองเสื่อมคืออะไร

สมองเสื่อม เป็นภาวะที่สมรรถภาพการทำงานของสมองถดถอยบกพร่องในด้านการรู้คิด ได้แก่ ความจำ การตัดสินใจ การวางแผน และบริหารจัดการ การรับรู้รูปทรง และการกะระยะ การใช้ภาษา สมาธิ หรือ ความใส่ใจ ความสามารถในการรับรู้เกี่ยวกับสังคมรอบตัว โดยมีผลกระทบต่อความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันและการเข้าสังคม
สมองเสื่อมเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งสาเหตุที่แก้ไขได้และแก้ไขไม่ได้ เช่น โรคอัลไซเมอร์ โรคหลอดเลือดสมอง โรคพาร์กินสัน เนื้องอกสมอง โพรงน้ำในสมองขยายตัว โรคขาดฮาร์โมนต่อมไทรอยด์ โรคติดเชื้อบางชนิด เช่น ชิฟิลิสและเอดส์ เป็นต้น ปัจจบันพบโรคอัลไซเมอร์เป็นสาเหตุของภาวะสมองเสื่อมที่พบบ่อยที่สุด
โรคอัลไซเมอร์คืออะไร
โรคอัลไซเมอร์ เป็นสาเหตุหนึ่งของภาวะสมองเสื่อม และเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด โดยความชุกของโรคจะเพิ่มขึ้นตามช่วงอายุ พบความชุกร้อยละ 10-15 ในประชากรที่อายุมากกว่า 65 ปี และพบร้อยละ 20-30 ในประชากรที่อายุมากว่า 80 ปี
สาเหตุของโรคอัลไซเมอร์
โรคอัลไซเมอร์เกิดจากการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างในสมองจนบางส่วนของสมองทำหน้าที่ลดลง เกิดการฝ่อ ทำให้กระทบกับการทำงานของสมองส่วนนั้น และแสดงอาการต่าง ๆ ออกมา เช่น หลงลืม ถามซ้ำ ๆ ฯลฯ อย่างไรก็ตามยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดของโรคอัลไซเมอร์ มีการศึกษาพบว่าในสมองของผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้มีการสะสมของโปรตีนบางชนิด เช่น อะไมลอยด์ (amyloid) และ ทาว (tau) มากกว่าปกติ
อาการของโรคอัลไซเมอร์เป็นอย่างไร
ผู้ป่วยจะมีปัญหาด้านความจำเป็นอาการหลัก ผู้ป่วยจะไม่สามารถจดจำ และเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ได้ จึงมักจะลืมว่าวางของไว้ที่ไหนทั้งที่พยายามจำ ถามซ้ำ ๆ พูดซ้ำ ๆ เป็นต้น
เมื่อโรคดำเนินไปจะทำให้เกิดความบกพร่องของการรู้คิดด้านอื่นร่วมด้วย เช่น หลงทาง คิดเลขไม่ได้ ไม่สามารถจัดการกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐานได้เอง มีปัญหาด้านอารมณ์ ปัญหาพฤติกรรม และความผิดปกติทางจิตตามมา เช่น หงุดหงิด เฉื่อยชาและเฉยเมย ขาดการยับยั้งชั่งใจ มีอาการหลงผิด ประสาทหลอน เป็นต้น

ปัจจัยเสื่องของการเกิดโรคอัลไซเมอร์

อายุที่เพิ่มขึ้นเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุด โดยพบว่าหลังอายุ 65 ปี ผู้ป่วยจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเพิ่มเป็น 2 เท่าในทุก ๆ 5 ปีที่อายุมากขึ้น อย่างไรก็ตามมีผู้ป่วยที่มีอายุต่ำกว่า 65 ปีด้วยเช่นกัน

พันธุกรรม เช่น มีญาติสายตรงในครอบครัวที่ป่วยด้วยโรคนี้หลายคน , มียีนบางอย่างเช่น ApoE4 เป็นต้น
การได้รับอุบัติเหตุที่ศีรษะ มีรายงานการศึกษาทางระบาดวิทยาหลายรายงานพบว่า ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์และภาวะสมองเสื่อมจากสาเหตุอื่น ๆ มีประวัติเคยได้รับอุบัติเหตุที่ศีรษะมากกว่าคนที่ไม่มีสมองเสื่อม อย่างไรก็ตามในบางการศึกษาไม่พบว่าการได้รับอุบัติเหตุที่ศีรษะมาก่อนเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะสมองเสื่อม

พบว่าโรคอัลไซเมอร์มีส่วนที่เกิดจากโรคของหลอดเลือด รวมถึงพบร่วมกับโรคหลอดเลือดในสมองได้บ่อย ดังนั้นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองจึงอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์ด้วย ดังนี้

น้ำหนักเกินมาตรฐาน การขาดการออกกำลังกาย การสูบบุหรี่ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวานการป้องกันโรคอัลไซเมอร์

เนื่องจากยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดโรคอัลไซเมอร์ การป้องกันโรคจึงเป็นการลดปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดโรคดังนี้

รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว และโคเลสเตอรอลสูง
การดูแลรักษาผู้ป่วยสมองเสื่อมอัลไซเมอร์
ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานการรักษาโรคให้หายขาด จึงมุ่งเน้นการดูแลรักษาเพื่อช่วยลดความพกพร่องทางการรู้คิด และสนับสนุนให้ผู้ป่วยสามารถประกอบกิจวัตรประจำวันและเข้าสังคมได้มากที่สุด โดยแบ่งเป็น

การรักษาโดยไม่ใช้ยา (Non-Pharmacological Management)

การรักษาด้วยวิธีนี้มีอยู่หลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับภาวะความรุนแรงของโรคและขีดความสามารถในการเรียนรู้ของผู้ป่วยแต่ละราย โดยมุ่งเน้นให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสมตามระยะของโรค ดังนี้

1.1การดูแลเรื่องกิจวัตรประจำวันและการฝึกทักษะการเข้าสังคม

ให้ผู้ป่วยได้ร่วมดูแลเรื่องกิจวัตรประจำวันของตนเองโดยมีผู้ดูแลคอยสนับสนุนและให้ความช่วยเหลือตามขีดความสามารถของผู้ป่วย

สนับสนุนให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมที่มีส่วนร่วมในสังคมครอบครัวและสังคมภายนอกตามความเหมาะสม

1.2การดูแลปรับสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม

ลดสิ่งกระตุ้นที่ทำให้อาการแย่ลง เช่น เสียงรบกวน รวมถึงการปรับสภาพที่อยู่อาศัยให้ปลอดภัยง่ายต่อการใช้งาน เช่น ให้พื้นเรียบ ไม่มีของเกะกะทางเดินและแสงสว่างเพียงพอ เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุ

1.3การให้ความรู้กับผู้ดูแลผู้ป่วย

เนื่องจากผู้ป่วยจะเข้าสู่สภาวะที่ต้องพึ่งพา ผู้ดูแลเป็นบุคคลสำคัญที่สุดที่ต้องเข้าใจการดำเนินของโรค และความรู้เกี่ยวการดูแลผู้ป่วยในแต่ละระยะของโรค รวมไปถึงสนับสนุนการดูแลตนเองของผู้ดูแลผู้ป่วย

1.4การฟื้นฟูผู้ป่วยสมองเสื่อมด้านกายภาพ

เนื่องจากผู้ป่วยที่มีอาการสมองเสื่อมอาจมีขีดความสามารถในการใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ได้ลดลง การปรับอุปกรณ์ให้ง่ายต่อการใช้งานหรือปรับกิจกรรมให้เรียบง่ายและปลอดภัย รวมไปถึงการฝึกการกระตุ้นระบบประสาทสัมผัสโดยการบีบ จัด นวด การกระตุ้นกิจกรรมการเคลื่อนไหวจะทำให้ผู้ป่วยได้ฝึกสมรรถภาพทางกายภาพได้ดียิ่งขึ้น

1.5การดูแลด้านพฤติกรรมและจิตบำบัด

ปัญหาเรื่องพฤติกรรมและอารมณ์เป็นความผิดปกติที่พบได้บ่อย อาจต้องใช้การรักษาควบคู่ทั้งการรักษาด้วยยาและพฤติกรรมและจิตบำบัด อาจใช้การให้ความรู้แก่ผู้ดูแลเพื่อให้เข้าใจผู้ป่วยและมีวิธีการดูแลได้อย่างเหมาะสม เช่น การเบี่ยงเบนความสนในผู้ป่วยออกจากเรื่องที่กำลังหงุดหงิดหรือโมโห การเสริมสร้างด้านอารมณ์ด้วยดนตรีบำบัด เป็นต้น


"

Комментарии

Информация по комментариям в разработке