เปิดต้นตอ ‘ปลาหมอคางดำ’ ระบาด แนะช่วยกินคนละโล กำจัดเอเลี่ยนสปีชีส์ ‘ณัฐชา’ จ่อเรียกสอบเอกชนนำเข้า

Описание к видео เปิดต้นตอ ‘ปลาหมอคางดำ’ ระบาด แนะช่วยกินคนละโล กำจัดเอเลี่ยนสปีชีส์ ‘ณัฐชา’ จ่อเรียกสอบเอกชนนำเข้า

อธิบดีกรมประมง นำทีมประมงเพชรบุรี จัดกิจกรรม 'กำจัดเอเลี่ยนสปีชีส์แห่งเมืองเพชร' ชี้ ไม่วิกฤตเหมือนจังหวัดอื่น พบขณะจับ มีปลาชนิดอื่นมาด้วย สะท้อนว่าอยู่ด้วยกันได้ในระบบนิเวศน์ ขณะที่นักวิชาการพาดูวิธีการของปลาตัวผู้อมไข่ไว้ในปาก เพื่อปกป้องลูกให้มีโอกาสเติบโตมากที่สุด บางตัวอมไข่ไว้สูงสุดกว่า 500 ฟอง พบขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว เหตุมีความสมบูรณ์เพศไวกว่าปกติ ด้านชาวอัมพวาต้องหยุดทำบ่อกุ้ง เพราะปลาหมอบุกกินเกลี้ยงจนติดหนี้ ไม่มีเงินจ่ายค่าเช่า อีกรายเล่าต้นตอการระบาด ชี้รัฐกับนายทุนต้องร่วมรับผิดชอบ

จากกรณี 'ปลาหมอคางดำ' ซึ่งเป็นเอเลี่ยนสปีชีส์ ที่แพร่ระบาดไปหลายจังหวัด โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคกลางโดยเกษตรกรในพื้นที่ จ.สมุทรสงคราม เป็นพื้นที่แรกที่พบการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ มานานนับ 18 ปี และยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ พร้อมทั้งเสนอให้รัฐบาลยกเป็นวาระแห่งชาติ

ล่าสุด พบว่า 'ปลาหมอคางดำ' ระบาดหนักในหลายจังหวัดเป็นวงกว้าง มีการแพร่กระจายต่อที่ เช่น เพชรบุรี / สมุทรสาคร / ระยอง / ประจวบคีรีขันธ์ / ชุมพร / สุราษฎร์ธานี / สงขลา และนครศรีธรรมราช

ซึ่งช่วงนี้ พบว่า หลายจังหวัดพยายามหาวิธีแก้ปัญหา ทั้งจับมาขายในราคากิโลกรัมละ 10-20 บาท ทำเมนูเด็ด ให้ความรู้ว่ากินได้ รวมทั้งให้ชาวประมงนำปลาหมอสีคางดำที่กำจัดออกจากระบบนิเวศน์ ไปใช้ประโยชน์ นำส่งแปรรูป

ด้าน นายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง เปิดเผยกับทีมข่าวเรื่องเล่าเช้านี้ ถึงสถานการณ์ปลาหมอคางดำ ว่า 'ขณะนี้ ค่อนข้างวิกฤต' ตอนนี้ รุกรานไปแล้ว 13 จังหวัด และต้องเร่งกำจัดออกไป ซึ่งร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รมว.เกษตรและสหกรณ์ ได้ตั้งคณะกรรมการมาแก้ไขเรื่องนี้ และสามารถจับได้กว่า 100 ตันแล้ว

ขณะเดียวกัน วานนี้ (10 ก.ค. 67) มีการ Kick off 'โครงการวิจัย การเหนี่ยวนำชุดโครโมโซม 4n ในปลาหมอคางดำ' ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี

โดยเป็นโครงการวิจัยเรื่องการเหนี่ยวนำชุดโครโมโซม 4n ในปลาหมอคางดำ ซึ่งกรมประมงมีแนวทางควบคุมการแพร่ขยายพันธุ์ของปลาหมอคางดำ ด้วยหลักการทางพันธุศาสตร์ โดยการศึกษาสร้างประชากรปลาหมอคางดำพิเศษที่มีชุดโครโมโซม 4 ชุด (4n)

จากนั้น จะปล่อยปลาหมอคางดำพิเศษเหล่านี้ลงสู่แหล่งน้ำเพื่อให้ไปผสมพันธุ์กับปลาหมอคางดำปกติ ที่มีชุดโครโมโซม 2 ชุด (2n) การผสมพันธุ์นี้จะทำให้เกิดลูกปลาหมอคางดำที่มีชุดโครโมโซม 3 ชุด (3n) ซึ่งลูกปลาที่มีโครโมโซม 3 ชุดนี้จะกลายเป็นปลาหมอคางดำที่เป็นหมัน ไม่สามารถสืบพันธุ์ต่อได้

ในเบื้องต้นของการศึกษานี้ จะทดลองในบ่อทดลองเลียนแบบธรรมชาติภายในศูนย์วิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำเพชรบุรี ซึ่งคาดว่าจะใช้ระยะเวลาประมาณ 18 เดือน

และหากผลการวิจัยนี้ สามารถควบคุมการเพิ่มจำนวนประชากรปลาหมอคางดำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็จะขยายผลไปยังแหล่งน้ำอื่น ๆ ต่อไป และเมื่อดำเนินการควบคู่กับวิธีการควบคุมอื่น ๆ เช่น การใช้ปลาผู้ล่า และการจับปลาไปใช้ประโยชน์ ก็จะส่งผลให้การจำนวนปลาหมอคางดำรุ่นใหม่ลดลง จนสามารถควบคุมการระบาดได้ในอนาคต

นายบัญชา กล่าวว่า ภาพรวมภายใน 3 ปี ปลาหมอคางดำจะกลายเป็นเหมือนหอยเชอรี่ และตั๊กแตนปาตังก้า ที่ในอดีต มีการรณรงค์ให้เอาหอยเชอรี่และตั๊กแตนมากิน เราไม่ต้องนำสารเคมีมาปราบ แต่เราให้มนุษย์มากิน เปรียบเสมือนเป็นการให้อยู่ร่วมกันได้ และหากมันลดลงตามธรรมชาติ ปลาผู้ล่าอื่น ๆ ก็ควบคุมกันเองได้

นายบัญชา ย้อนกล่าวถึงที่ไปที่มาของปลาหมอคางดำว่า ปลาชนิดนี้ไม่ใช่ปลาหมอของไทย แต่อยู่ที่แอฟริกา หากถามว่ามาที่ประเทศไทยได้อย่างไร มาได้สองทาง คือ

กรณีที่ 1 คือ อาจจะมีผู้ลักลอบเข้ามา ตนเคยอยู่ด่านตรวจสนามบินดอนเมือง ปี 2539 เคยจับการลักลอบนำเข้าปลาปีรันย่าได้ ซึ่งปลาชนิดนี้มีโทษหนัก ก็ยังมีคนนำเข้ามาได้ ดังนั้น ปลาหมอคางดำก็เช่นกัน อาจจะมีผู้ลักลอบนำเข้ามา

กรณีที่ 2 คือ มีผู้ขอนำเข้ามาเพื่อการวิจัย ปรับปรุงพันธุ์ปลาในประเทศไทยสำหรับตระกูลปลานิล และปลาหมอเทศ ซึ่งมีการขอนำเข้ามาจำนวนหนึ่ง ซึ่งผลการวิจัยอาจสำเร็จหรือไม่นั้นตนไม่ทราบ จะเกิดการหลุดรอดออกมาหรือไม่ ก็ไม่แน่ใจเพราะไม่ได้เห็นด้วยตา จึงยังไม่กล้าปรักปรำ

ทั้งนี้ นายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง กล่าวว่า ปลาชนิดนี้กินได้ ลองกินมาแล้ว ถ้าทุกคนช่วยกันกินมันก็จะลดลง

คุณสุธิดา โส๊ะบีน ผอ.ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด จ.เพชรบุรี จับปลาหมอคางดำตัวที่อมไข่ไว้ พร้อมบีบปากให้ดูไข่ที่อมไว้ และอธิบายว่า ความพิเศษของปลาหมอคางดำ คือ ตัวผู้เป็นฝ่ายที่อมไข่แทนตัวเมีย ไข่ที่อมไว้มีหลายระยะ บางฟองพร้อมเป็นตัวแล้ว ระยะเวลาฟักตัวพร้อมเป็นไข่จะอยู่ในช่วง 6 ชม. แต่ปลาอื่น ๆ 7-8 ชม. นั่นหมายความว่าแพร่กระจายได้รวดเร็ว เพราะมีความสมบูรณ์เพศเร็ว

ทั้งนี้ พบว่า ปลาหมอคางดำ ในรอบ 20 วัน สามารถมีลูก และวางไข่ได้แล้ว นับว่าเร็วมาก และตัวผู้จะอมไข่ไว้เพื่อปกป้องดูแลให้ไข่ลูกตัวเองมีโอกาสรอดได้มากที่สุด ซึ่งจำนวนไข่ที่อมไว้บางตัวพบมากถึง 400-500 ตัวก็มี ทั้งหมดนี้ แสดงให้เห็นว่า ทำไมถึงแพร่กระจายเร็ว



อ่านข่าวเพิ่มเติมได้ที่ : https://ch3plus.com/news/social/morni...
-------------------------
#เรื่องเล่าเช้านี้ (Morning News)

วันที่ 10 กรกฎาคม 2567
ติดตามความเคลื่อนไหวข่าวสารก่อนใครได้ที่นี่
ch3plus : https://ch3plus.com/news/programs/mor...
facebook :   / morningnewstv3  
Twitter :   / morningnewstv3  
YouTube : https://cutt.ly/MorningnewsTV3
Tiktok :   / morningnewsch3  

#3PlusNews #ข่าวช่อง3 #สรุยทธ #ไบรท์

Комментарии

Информация по комментариям в разработке