ทิฏฐิ ๖๒ (ความเห็นผิด ความยึดถือผิด ความถือมั่นผิด ๖๒ ประการของคนในโลก)

Описание к видео ทิฏฐิ ๖๒ (ความเห็นผิด ความยึดถือผิด ความถือมั่นผิด ๖๒ ประการของคนในโลก)

พรหมชาลสูตร
ว่าด้วยข่ายแห่งพระสัพพัญญุตญาณอันประเสริฐ
เสียงอ่านพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม ๙ หน้า ๑๑

เชิงอรรถ
คำว่า ตถาคต ในที่นี้ เป็นคำที่พระพุทธเจ้าตรัสหมายถึงพระองค์เอง แทนคำว่า “เรา” (อุตตมบุรุษ)

สมณพราหมณ์ เป็นคำเรียกพราหมณ์พวกหนึ่งที่เป็นสมณะ ชื่อว่าเป็นสมณะโดยการบวช และชื่อว่าเป็นพราหมณ์โดยชาติกำเนิด

อัตตาในที่นี้หมายถึง วิญญาณอมตะหรืออาตมัน

สมาธิแห่งจิต คือสมาธิในรูปาวจรจตุตถฌาน

สังวัฏฏกัป คือ กัปฝ่ายเสื่อม, ช่วงระยะเวลาที่โลกกำลังพินาศ วิวัฏฏกัป คือ กัปฝ่ายเจริญ, ช่วงระยะเวลาที่โลกกลับฟื้นขึ้นมาใหม่

นักตรรกะ(ตกฺกี) ผู้ที่ให้เหตุผลตามแนวของตรรกศาสตร์ (Logic) มี ๔ จำพวก คือ อนุสสติกะ อนุมานจากข้อมูลที่เป็นประสบการณ์ ชาติสสระ อนุมานโดยการระลึกชาติ ลาภิตักกิกะ อนุมานจากประสบการณ์ภายในของตน และ สุทธิตักกิกะ อนุมานโดยใช้เหตุผลล้วน ๆ

นักอภิปรัชญา(วีมํสี) ผู้ที่ให้เหตุผลโดยการคาดคะเนความจริงเอาจากการเทียบเคียงจนพอใจถูกใจแล้วยึดถือเป็นทฤษฎี เช่น คาดคะเนในเรื่องที่เกี่ยวกับปฐมเหตุของโลกและจักรวาล

สัตว์ผู้จุติ (เคลื่อน) จากชั้นนั้นแล้วมาเป็นอย่างนี้ หมายถึงจากพรหมโลกมาเกิดเป็นมนุษย์

โลกมีที่สุดคำว่า ที่สุด ในที่นี้หมายถึงขอบเขตของโลก ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง และตามขวาง ซึ่งเป็นข้อที่ยกขึ้นโต้แย้งกันว่า โลกมีขอบเขตกำจัด หรือไม่มีขอบเขตจำกัด

สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะหลบเลี่ยงไม่แน่นอน เป็นลัทธิที่มีความเห็นหลบเลี่ยงไม่แน่นอนว่าใช่หรือไม่ใช่ เป็นความเห็นที่ลื่นไหลจับได้ยากเหมือนปลาไหล

โอปปาติกะ สัตว์ที่เกิดและเติบโตเต็มที่ทันที และเมื่อจุติ(ตาย) ก็หายวับไป ไม่ทิ้งซากศพไว้ เช่น เทวดาและสัตว์นรก เป็นต้น

ตถาคต ในที่นี้เป็นคำที่ลัทธิอื่น ๆ ใช้กันมาก่อนพุทธกาล หมายถึงอัตตา (อาตมัน) ไม่ได้หมายถึงพระพุทธเจ้า อรรถกถาอธิบายว่า หมายถึง สัตตะ

สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะว่า อัตตาหลังจากตายแล้วมีสัญญา เป็นลัทธิที่ถือว่า หลังจากตายแล้วอัตตายังมีสัญญาเหลืออยู่ คำว่า สัญญา ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงความจำได้หมายรู้ธรรมดา แต่หมายถึงภาวะที่เป็นความรู้สึกรู้ขั้นละเอียด

สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะว่าหลังจากตายแล้วอัตตาขาดสูญ เป็นลัทธิที่ถือว่าตายแล้วไม่เกิดอีก เป็นแนวคิดเชิงวัตถุนิยม ลัทธินี้ทำให้หมกมุ่นในกามสุข

อัตตาอื่นที่เป็นทิพย์ มีรูปเป็นกามาวจร หมายถึงเป็นเทวดาชั้นกามาวจร ๖ ชั้น คือ จาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี ปรนิมมิตวสวัตดี

สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะว่า มีสภาพบางอย่างเป็นนิพพานในปัจจุบัน เป็นลัทธิที่ถือว่า สามารถบรรลุนิพพาน หรือสามารถดับทุกข์ได้โดยง่ายในอัตภาพนี้ เป็นความเข้าใจของพวกที่เห็นความเพลิดเพลินจากกามคุณว่าเป็นนิพพาน หรือเห็นความสุขจากฌานว่าเป็นนิพพาน

สัมผัส หรือการกระทบกันระหว่างอายตนะภายในกับอายตนะภายนอก เช่น ตากระทบรูป เป็นต้น พระพุทธเจ้าตรัสว่า ทิฏฐิ ๖๒ เริ่มต้นจากผัสสะนำไปสู่เวทนา สุดท้ายก็คือความทุกข์ ดังนั้นจึงไม่อาจนำไปสู่ความดับทุกข์ได้แต่อย่างใด

ทิฏฐิ ๖๒ คือทฤษฎีทางอภิปรัชญาที่มีอยู่ในอินเดีย ทั้งก่อนและร่วมสมัยกับพระพุทธองค์ มีอยู่ทั้งหมด ๖๒ ทฤษฎี พระพุทธองค์ทรงยกมาแสดงเพื่อยืนยันว่า พระองค์ทรงรู้ทฤษฎีดังกล่าวอย่างแจ่มแจ้ง และทรงแสดงพรหมชาลสูตรครอบคลุมทฤษฎีเหล่านั้นทั้งหมด เปรียบเหมือนชาวประมงใช้แหทอดคลุมปลาไว้ได้ทั้งหมด ฉะนั้น

ที่ชื่อว่า ข่ายแห่งประโยชน์ เพราะเหตุที่ในพรหมชาลสูตร พระพุทธองค์ทรงแจกแจงประโยชน์ในโลกนี้และประโยชน์ในโลกหน้าอันเป็นดุจตาข่ายไว้
ที่ชื่อว่า ข่ายแห่งธรรม เพราะพระองค์ตรัสถึงแบบแผนและลัทธิธรรมเนียมอันเป็นดุจตาข่ายไว้
ที่ชื่อว่า ข่ายแห่งทิฏฐิ เพราะพระองค์ทรงแจกแจงทิฏฐิ ๖๒ อันเป็นดุจตาข่ายที่ผูกมัดผู้ที่มีความเชื่อลัทธิเหล่านี้ไว้
และที่ชื่อว่า ตำราพิชัยสงครามเพราะผู้ที่ฟังสูตรนี้แล้วสามารถพิชิต เทวปุตตมาร ขันธมาร มัจจุมาร หรือกิเลสมารได้

Комментарии

Информация по комментариям в разработке