ชัวร์ก่อนแชร์ : คลิปเตือนเหตุผลที่ไม่ควรเติมน้ำมันเต็มถัง จริงหรือ ?

Описание к видео ชัวร์ก่อนแชร์ : คลิปเตือนเหตุผลที่ไม่ควรเติมน้ำมันเต็มถัง จริงหรือ ?

บนโซเชียลแชร์คลิปแนะนำผู้ใช้รถยนต์ถึงเหตุผลที่ไม่ควรเติมน้ำมันเต็มถัง เนื่องจากเครื่องหมายที่ติดไว้กับถังน้ำมัน ไม่ใช่ความจุสูงสุดที่แท้จริง ไม่สามารถเติมน้ำมันเต็มถังได้จากการคำนึงถึงอัตราการขยายตัวของน้ำมันเป็นหลัก เมื่อน้ำมันเต็มถัง น้ำมันที่เกินออกมาจะเข้าสู่ท่อไอระเหยของน้ำมันและทำให้เครื่องยนต์เสียหาย

🎯 ตรวจสอบกับ สุรมิส เจริญงาม
นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์
🔎 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย พงศ์อิทธิ์ เชิดชูวงศ์

-----------------------------------------------------

📌 สรุป : ❌ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ❌

Q : เหตุผลที่ไม่ควรเติมน้ำมันเต็มถังที่เขาแชร์กัน จริงหรือ ?
A : ไม่จริง ที่บอกว่า ถ้าเติมเต็มถังน้ำมันจะล้นเข้าไปที่ท่อระบายไอเป็นไปได้ยาก ถ้าระบบสมบูรณ์แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย การเติมเต็มถังผู้ผลิตรถยนต์ออกแบบมาเผื่อแล้วก็ป้องกันไม่ให้น้ำมันจะล้นไปถึงจุดระบายไออยู่แล้ว ส่วนที่บอกว่าเติมเต็มแล้วจะทำให้เสียหายถึงเครื่องยนต์อันนี้ยิ่งเป็นไปได้ยาก

Q : ผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ ยังอธิบายไว้แบบนี้ ?
A : ระบบถังน้ำมันเชื้อเพลิงของตัวรถยนต์ เป็นระบบหนึ่งที่ถูกออกแบบมาให้เป็นระบบปิด เริ่มต้นในยุค 60 - 70 ที่ยังเป็นคาร์บูเรเตอร์ จะมีตัวรุ่นที่ยังไม่มีถังดักไอน้ำมันเชื้อเพลิง จนกระทั่งหลังยุค 70 เริ่มมีถังดักไอน้ำมันเชื้อเพลิง ตัวถังน้ำมันเชื้อเพลิงในยุคเก่ามาก ๆ ก่อน 70 ถึง 70 มา 80 ในบางรุ่นยังไม่เป็นระบบปิดทั้งหมด หมายความว่า ยังคงสามารถระบายน้ำมันส่วนเกินออกมา ระบายไอน้ำมันเชื้อเพลิงออกมาข้างนอกของตัวรถ

แต่ว่าพอหลังจากนั้นมาฝั่งยุโรปมีการควบคุมเรื่องไอน้ำมันเชื้อเพลิง เพราะว่าเป็นส่วนหนึ่งของตัวสารที่ระเหยแล้วจะทำให้เกิดพิษต่อร่างกายทำให้เกิดมะเร็ง เพราะฉะนั้น การควบคุมไอน้ำมันเชื้อเพลิงมีการวางแล้วก็ออกแบบ เรื่องของการเติมน้ำมันเชื้อเพลิงเวลาที่เราเติมที่คอถัง

เราจะเห็นว่าคอที่เติมถึงแม้ว่าจะอยู่ในตำแหน่งเหนือกว่าตัวล้อรถยนต์ แล้วถังน้ำมันเชื้อเพลิงส่วนใหญ่จะอยู่ในแนวระดับพื้นรถยนต์ซึ่งจะอยู่ในระดับต่ำ เราอาจจะจินตนาการไปว่าการเติมน้ำมันที่อยู่คอทางด้านบน เป็นการเติมน้ำมันในส่วนบนสุดของตัวถังน้ำมันเชื้อเพลิง จริง ๆ แล้ว น้ำมันที่เราเติมจากคอจะลงไปอยู่ในส่วนล่างต่ำกว่าตำแหน่งกึ่งกลางของตัวถังน้ำมันเชื้อเพลิง

เพราะฉะนั้น โอกาสเวลาที่เราเติมน้ำมันเต็มถัง แล้วน้ำมันจะล้นขึ้นมาถึงรูระบายไอน้ำมันที่อยู่บริเวณคอถังจะมีเล็กน้อย ในช่วงจังหวะที่หัวจ่ายมีการกดเติมเข้าไปแล้ว ก็ต้องเป็นหัวจ่ายยุคเก่ามาก ๆ เพราะว่ารูเติมน้ำมันกับความยาวของตัวชุดหัวจ่าย ถ้าเกิดดูความยาวของหัวที่เสียบเข้าไปในคอถัง รูระบายไอที่รับไอย้อนกลับมาจะอยู่ในตำแหน่งสูงกว่าตำแหน่งที่หัวจ่ายน้ำมันเสียบเข้าไปบนคอที่เติมตัวน้ำมันลงไป เพราะฉะนั้น น้ำมันมีโอกาสที่จะล้นย้อนกลับขึ้นมาจากตัวหัวจ่าย ถ้าเป็นหัวจ่ายยุคใหม่โอกาสน้อยมาก เพราะว่ามีระบบการตัดน้ำมันเวลาที่ปริมาณไอน้ำมันหรือว่าตัวฟองน้ำมันดันขึ้นมาตัวลูกลอยไปในหัวจ่าย

ส่วนที่สองตัวถังน้ำมันเชื้อเพลิงถูกออกแบบมาให้เมื่อเราเติมในส่วนล่างของชุดถังเติมยังไงก็ไม่ได้เต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ของตัวถัง เพราะตัวถังน้ำมันจะออกแบบให้มีส่วนที่รับไอน้ำมันส่วนเกินอยู่ในตำแหน่งสูงสุดของถัง เพราะฉะนั้น รูปทรงของตัวชุดถังน้ำมันอาจจะเป็นทรงแคปซูล แต่ว่าเขาจะถูกออกแบบมาให้มีตำแหน่งตรงส่วนกึ่งกลางหรือส่วนดีไซน์ให้มีโดมสูง ๆ ขึ้นมา แล้วมีเซ็นเซอร์ที่จะรับตัวไอน้ำมันอยู่ในตำแหน่งที่เป็นโดมส่วนสูงของถังน้ำมันนั้น เพราะฉะนั้น เวลาเราใส่น้ำมันเข้าไปเติมจากส่วนล่างของถัง น้ำมันดันขึ้นมาเมื่อเจอกับส่วนที่เป็นก๊าซหรือไอน้ำมันเดิมที่ค้างอยู่บนโดม ตัวปริมาณน้ำมันไม่สามารถกรอกเข้าไปในถังได้แล้ว แล้วก็ไอน้ำมันที่จะรับจากตัวส่วนของตัวชุดถังรับ มีทั้งดีไซน์ทั้ง 2 จุดก็คือไปรับจากบริเวณคอท่อเติมซึ่งจริง ๆ แล้วตำแหน่งนั้นจะไม่ได้มีไอขึ้นมาเยอะ ถ้าเกิดเราใช้น้ำมันหรือเติมน้ำมันมากกว่าปริมาณครึ่งถัง ไอน้ำมันจะไม่สามารถขึ้นไปที่ท่อเติมได้

เพราะฉะนั้น ถ้าเกิดเราเติมน้ำมันสูงกว่าครึ่งถังไอน้ำมันจะไปอยู่บนโดมที่ถูกออกแบบไว้บนตัวถังน้ำมันเอง จากนั้นไอน้ำมันจะถูกเข้าไปผ่านชุดวาล์ว แล้วก็ถึงดึงเอาไอน้ำมันที่ผ่านตัวชุดถังดักกรองไอน้ำมัน ก่อนที่จะเข้าไปที่คาร์บูเรเตอร์หรือว่าชุดท่อร่วมไอดีในรถที่เป็นหัวฉีดแล้ว เพราะฉะนั้น โอกาสที่น้ำมันเชื้อเพลิงเมื่อเราเติมเต็มแล้วจะผ่านทะลุชุดวาล์วเข้าไปที่ถังดักไอน้ำมันแล้วก็เข้าไปที่ท่อร่วมไอดีจนทำให้เครื่องยนต์เสียหายได้ยากมาก

Q : สรุปแล้วคลิปแนะนำเหตุผลที่ไม่ควรเติมน้ำมันเต็มถังแบบที่เขาแชร์กันนี้ เป็นยังไง ?
A : ❌ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ❌

👉 เรียนรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการดูแลเครื่องยนต์ จะช่วยป้องกันผลกระทบที่อาจจะตามมาได้

#ชัวร์ก่อนแชร์ #sureandshare
-----------------------------------------------------

🎯 หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ "ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์" 🎯
LINE | @SureAndShare หรือคลิก http://line.me/ti/p/%40sureandshare
FB |   / sureandshare  
Twitter |   / sureandshare  
IG |   / sureandshare  
Website | http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok |   / sureandshare  

ข่าวค่ำ | สำนักข่าวไทย อสมท | ช่อง 9 MCOT HD เลข 30 | http://www.tnamcot.com

Комментарии

Информация по комментариям в разработке