รากเทียมฟันหน้า ทำไมต้องทำร่วมกับการปลูกกระดูก | 𝐃𝐢𝐠𝐢𝐭𝐚𝐥 𝐃𝐞𝐧𝐭𝐚𝐥 𝐂𝐞𝐧𝐭𝐞𝐫

Описание к видео รากเทียมฟันหน้า ทำไมต้องทำร่วมกับการปลูกกระดูก | 𝐃𝐢𝐠𝐢𝐭𝐚𝐥 𝐃𝐞𝐧𝐭𝐚𝐥 𝐂𝐞𝐧𝐭𝐞𝐫

#รากเทียมฟันหน้า ทำไมต้องทำร่วมกับ #การปลูกกระดูก
การทำรากเทียมฟันหน้า เป็นตำแหน่งที่ทำค่อนข้างยาก เนื่องจากจะต้องทำให้รากเทียมยึดติดกับกระดูกแล้วจะต้องทำให้เกิดความสวยงามให้มีกลมกลืนไปกับฟันซี่อื่น

เนื่องจากเป็นฟันคู่หน้า รากเทียมจะ Stable หรือจะสวยงามได้ ต้องมีพื้นฐานอยู่บนกระดูกที่ดี
หรือว่ากระดูกที่เหมาะสมปริมาณกระดูกที่ดีก่อน ในกรณี #ฟันธรรมชาติ ที่ถูกถอนไปจากอุบัติเหตุ
หรือจาก #โรคเหงือก ที่มาการสูญเสียของกระดูกเบ้าฟันค่อนข้างเยอะ มักจะเป็นปัญหาในการฝังรากเทียมฟันหน้า โดยทั่วไปเป็นปัญหาเกือบทุกเคส ประมาณ 70-80% ที่จะต้องมีการปลูกกระดูก

🎥 เลือกดูตามช่วงเวลา 🦷
00:00:53 การฝังรากเทียมฟันหน้า
00:01:45 วิธีการปลูกกระดูกเทียม และ ข้อดี ข้อเสีย
00:05:04 อาการหลังจากการปลูกกระดูกเทียม
00:06:23 หลังจากการปลูกกระดูกเทียม

#วิธีการปลูกกระดูกเทียม และข้อดี-ข้อเสียของแต่ละวิธี
ในปัจจุบันเทคนิคการปลูกกระดูกก็จะมีหลัก ๆ ใหญ่อยู่ 2 วิธี
วิธีที่หนึ่งก็คือการนำกระดูกตัวเองมาปลูก วิธีที่สองคือการใช้กระดูกเทียม
ซึ่งทั้งสองวิธีจะมีขั้นตอนและกระบวนการที่แตกต่างกันไป ในกรณีที่คนไข้สูญเสียกระดูกไปจำนวนมาก ต้องการกระดูกปริมาณค่อนข้างเยอะ อาจจะพิจารณาเอากระดูกตัวเองมาเสริมตรงบริเวณที่จะฝังรากเทียม
อันนี้เรียกว่า Autogenous Bone Grafting

#การเอากระดูกตัวเองมาเสริมบริเวณที่จะฝังรากเทียม
ข้อดี ก็คือว่ามันเป็นกระดูกของเราเองโอกาสที่จะยึดติดก็มีค่อนข้างเยอะ
แต่ขอเสียที่เป็นข้อเสียหลัก ๆ เลย ก็คือว่ามันมักจะละลายตัวค่อนข้างง่าย และมีความเจ็บปวดหลังทำค่อนข้างมาก เนื่องจากว่าจะมีบริเวณที่ผ่าตัดทั้งหมด 2 ตำแหน่ง ตำแหน่งแรกก็คือ ตำแหน่งที่เราเอากระดูกเทียมมา
ปัจจุบันตำแหน่งที่เอากระดูกเทียมมา หรือเรียกว่า Donor Site จะเอามาจากขากรรไกรล่างด้านหลัง บริเวณใกล้ ๆ กับฟันคุดของเรา จะตัดกระดูกออกมาเป็นชิ้นปริมาณที่เราต้องการ แล้วเราก็จะเอาไปใส่หรือเสริมในตำแหน่งที่เราต้องการฝังรากเทียม

ฉะนั้น วิธีนี้จะเหมาะกับคนไข้ที่ฟันหายไปค่อนข้างเยอะ ต้องการ Volume ของกระดูกค่อนข้างเยอะ
ข้อเสีย คนไข้ก็จะเจ็บตัวและอาศัยเวลาพักฟื้นค่อนข้างนาน ระยะเวลาในการรอหลังจากการปลูกกระดูกด้วยวิธีการนำกระดูกตัวเองมาปลูก เราจะต้องรอระยะเวลาประมาณ 4 เดือน หลังจากนั้นเราถึงจะมาฝังรากเทียมต่อไป

ส่วนอีกวิธีหนึ่งก็จะใช้กันอย่างแพร่หลายค่อนข้างเยอะ
ก็คือการนำกระดูกเทียมที่ได้จากการสังเคราะห์มาปลูกบริเวณที่เราต้องการปลูก
ข้อดีก็คือไม่จำเป็นจะต้องเจ็บตัว 2 ตำแหน่ง เราก็ใช้ผงกระดูกเทียมที่ผลิตจากบริษัท ซึ่งกระดูกเทียมทำมาจากหลาย ๆ วัสดุ ก็คือมีส่วนประกอบหลายอย่าง คุณหมอจะเลือกใช้ตามตำแหน่งที่เหมาะสม เลือกใช้ชนิดของกระดูกตามตำแหน่งของกระดูกที่หายไปแบบเหมาะสม ข้อดีก็อย่างที่บอกเจ็บตัวตำแหน่งเดียว แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ข้อเสียก็คือว่า ระยะเวลาที่เราต้องรอการหายกว่าจะฝังรากเทียมได้กว่าจะกลายเป็นกระดูกจริง ต้องใช้ระยะเวลานานนิดนึง อาจใช้เวลาสัก 6-8 เดือน

#ผลสำเร็จของการปลูกกระดูกเทียม
ปริมาณกระดูกที่เทียมที่ใส่เข้าไป มักจะคาดเดาผลไม่ได้ 100% ในกรณีที่เราใส่เข้าไป 100% เราอาจจะได้กระดูกตามที่เราต้องการ กระดูกเหลือจาก 6-8 เดือน แค่ประมาณ 40-60% โดยปกติการคำนวณการที่เราเสริมกระดูก คุณหมอก็จะใส่เกินอยู่แล้ว ฉะนั้น เรื่องของปริมาณกระดูกที่ได้ ก็เป็นอะไรที่อาจจะต้องพิจารณาเป็นรายบุคคลไป

#อาการหลังจากปลูกกระดูกเทียม
นอกจากนี้ การปลูกกระดูกไม่ว่าจะใช้กระดูกเทียม หรือกระดูกของตัวเองมักจะมีอาการปวดและบวมค่อนข้างมากกว่าการฝังรากเทียมโดยปกติ เนื่องจากว่าเป็นการใส่วัสดุอื่น หรือว่าสิ่งอื่นเข้าไปเสริมในบริเวณนั้น
จะต้องมีการอักเสบ การหายของแผล ใช้เวลาพักฟื้นค่อนข้างนาน โดยปกติแล้วก็อาจจะบวม หรือว่าปวดประมาณ 1-2 สัปดาห์

#ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จการปลูกกระดูกเทียม
การยึดติดของกระดูก หรือผลสำเร็จในการปลูกกระดูกจะมากน้อยไหนก็ขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง เช่น หลังจากปลูกกระดูกแล้วคนไข้จำเป็นที่จะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของหมออย่างเคร่งครัด
ถ้าเกิดว่าสูบบุหรี่ก็ต้องงดสูบบุหรี่ ถ้ามีการใส่ฟันปลอมบริเวณนั้นจะต้องมีการงดใส่ก่อนช่วงแรก
หรือว่าอาจจะต้องใส่เฉพาะเวลาที่จำเป็น ไม่ใส่เคี้ยวอาหาร เนื่องจากฟันปลอมสามารถกดบริเวณที่ปลูกกระดูก
ทำให้เกิดการแตกของแผล การปลูกกระดูกที่ทำไปก็อาจจะล้มเหลวได้
นอกจากนี้ร่างกายคนเราก็มีการหาย หรือการเสริมสร้างต่างกัน ปริมาณกระดูกที่ได้ในแต่ละคน บางทีก็ไม่เท่ากัน

#หลังการปลูกกระดูกเทียม
ฉะนั้น เมื่อเราผ่านการปลูกกระดูกมาแล้ว ก่อนที่จะมีการฝังรากเทียม คุณหมอก็จะมีการประเมินว่า ปริมาณกระดูกที่ได้เพียงพอหรือยัง ถ้าเกิดเพียงพอต่อการฝังรากเทียมแล้ว เราก็จะสามารถฝังได้
โดยอาจจะต้องมีการเสริมกระดูกเพิ่มเติมในกระบวนการ พร้อมกับการฝังรากเทียมไป

ทพญ.นพรัตน์ สุขสด
(ทันตกรรมทั่วไปและทันตกรรมราก​เทียม)


💬 ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่
ศูนย์ทันตกรรมดิจิทัล (ชั้น 2) โรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง
🆔 𝐋𝐢𝐧𝐞 𝐎𝐟𝐟𝐢𝐜𝐢𝐚𝐥 : https://line.me/ti/p/@digitaldental
📞 โทร. 02-2203-822
📱 สายด่วน 084-228-3682

🌐 𝐖𝐞𝐛𝐬𝐢𝐭𝐞 : https://www.digitaldentalthg.com/
🔸 𝐅𝐚𝐜𝐞𝐛𝐨𝐨𝐤 :   / digitaldentalcenterbamrungmuang  
🔸 𝐈𝐧𝐬𝐭𝐚𝐠𝐫𝐚𝐦 : @digitaldentalcenter

🏥 ศูนย์ทันตกรรมดิจิทัล โรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง
611 ถนนบำรุงเมือง, แขวงคลองมหานาค, เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย, กรุงเทพมหานคร 10100

🏥 𝐃𝐢𝐠𝐢𝐭𝐚𝐥 𝐃𝐞𝐧𝐭𝐚𝐥 𝐂𝐞𝐧𝐭𝐞𝐫 𝐨𝐟 𝐓𝐡𝐨𝐧𝐛𝐮𝐫𝐢 𝐁𝐚𝐦𝐫𝐮𝐧𝐠𝐦𝐮𝐚𝐧𝐠 𝐇𝐨𝐬𝐩𝐢𝐭𝐚𝐥
611 Bamrungmueang Rd., Khlong Mahanak, PomprapSattruphai, Bangkok, 10100, Thailand

#ฝังรากฟันเทียมฟันหน้า #ต้องทำร่วมกับการปลูกกระดูก
#DigitalDentalCenter
#ศูนย์ทันตกรรมดิจิทัลโรงพยาบาลธนบุรีบำรุงเมือง

Комментарии

Информация по комментариям в разработке