รำหางนกยูงหัวเรือ

Описание к видео รำหางนกยูงหัวเรือ

การแสดงชุดที่ 21 รำหางนกยูงหัวเรือ
ประวัติการแสดง
การแสดงรำหางนกยูงหัวเรือ ของชาวจังหวัดสกลนคร และ จังหวัดนครพนม มีมานานนับ 100 ปี ใช้สำหรับการบวงสรวงเจ้าพ่อหลักเมือง อันศักดิ์สิทธิ์เพื่อประทานพรให้มีชัยชนะแคล้วคราดจากผะยันอันตรายทั้งปวงและเข้าร่วมการเส็งต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแข่งขันเรือยาวในเทศกาลออกพรรษา การแสดงชนิดนี้จะแสดงท่ารำบนหัวเรือแข่งและรำถวายหน้าศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ซึ่งถ้ารำได้ดัดแปลงมาจากการรำไหว้ครูของนักรบ ก่อนออกชิงชัยในศึกสงครามในสมัยก่อนโดยท่ารำจะรำตามอาวุธที่ตนเองฝึก เช่น รำดาบ รำกระบี่กระบอง รำมวยให้เข้ากับจังหวะกลอง ใช้ประกอบกับดนตรีพื้นบ้านอีสาน ประกอบการผสมผสานกระบวนท่ามวยโบราณซึ่งเป็นการแสดงของชาวจังหวัดสกลนคร จึงเกิดเป็นการรำหางนกยูงหัวเรือในปัจจุบัน

อาจารย์ผู้ถ่ายทอดกระบวนท่ารำ
อาจารย์พิศไสว วงศ์กาฬสินธุ์

อาจารย์ที่ปรึกษา
อาจารย์นฤทร์บดินทร์ สาลีพันธ์

แสดงโดย
นายจักรกฤษ กันหากูล
นายศิริวัฒน์ จิณะรักษ์

Комментарии

Информация по комментариям в разработке