รำหางนกยูงหัวเรือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Описание к видео รำหางนกยูงหัวเรือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

การแสดงชุดที่ 12 รำหางนกยูงหัวเรือ
ผู้ถ่ายทอดท่ารำ อาจารย์พิศไสว วงศ์กาฬสินธุ์
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ศราวดี ภูชมศรี
ผู้แสดง นายวันชัย ผมไผ
...........................................
การแสดงรำหางนกยูงหัวเรือ ของชาวจังหวัดสกลนครมีมานานนับ 100 กว่าปีแล้ว ใช้สำหรับการบวงสรวงเจ้าพ่อหลักเมืองอันศักดิ์สิทธิ์เพื่อประทานพรให้มีชัยชนะแคล้วคราด จากภัยอันตรายทั้งปวงและเข้าร่วมการเส็งต่างๆ (การแข่งขัน)โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแข่งขันเรือยาวในเทศกาลออกพรรษา การแสดงชนิดนี้จะแสดงท่ารำบนหัวเรือแข่งและรำถวายหน้าศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ซึ่งท่ารำได้ดัดแปลงมาจากการรำไหว้ครูของนักรบ ก่อนออกชิงชัยในศึกสงครามในสมัยก่อนโดยท่ารำจะรำตามอาวุธที่ตนเองฝึก เช่น รำดาบ รำกระบี่กระบอง รำมวย ให้เข้ากับจังหวะกลอง
อาจารย์จำลอง นวลมณี นำรำหางนกยูงมารำบนหัวเรือแข่งขันครั้งแรก ในการแข่งเรือยาวประเพณีออกพรรษา ได้มีการดัดแปลงปรับปรุงท่ารำใหม่ให้ท่ารำมีเอกลักษณ์อ่อนช้อยเหมือนนกยุงรำแพน เป็นการแสดงของชายหรือจะเป็นคู่ก็ได้โดยผู้ฟ้อนจะจินตนาการท่าทางเหมือนกับนกยูง ถ้าเป็นการรำคู่ผู้แสดงจะแสดงคล้ายกับนกยุงกำลังเกี้ยวพาราสีกัน ฝ่ายหญิงจะแสดงท่าทางที่อ่อนช้อยในขณะที่ฝ่ายชายจะแสดงความเข้มแข็งแข็งแกร่งใช้ประกอบกับดนตรีพื้นบ้านอีสาน ประกับการผสมผสานกระบวนท่ามวยโบราณซึ่งเป็นการแสดงของชาวจังหวัดสกลนครจึงเกิดเป็นการรำหางยูงหัวเรือในปัจจุบัน

Комментарии

Информация по комментариям в разработке