จุดจ่ายเงินในพระหูยาน | กรุเก่า-กรุใหม่ คืออะไร

Описание к видео จุดจ่ายเงินในพระหูยาน | กรุเก่า-กรุใหม่ คืออะไร

ว่าด้วยพระเนื้อชินหรือชินะ ความหมายแห่งชัยชนะ ตามการศึกษาของ ๔ มีนา พระเนื้อชินคือการวิเคราะห์ความเป็นเงินและตะกั่วนม เพราะส่วนตัวยังไม่เคยเห็นพระกรุเนื้อชินที่เป็นดีบุกมีธรรมชาติถึงยุค ยิ่งพวกมีปรอทพรายเงินอยู่บนผิว สำหรับ ๔ มีนา เก๊ ๑๐๐% เพราะปรอทยังเหลือให้ฉาบอยู่บนผิวไม่ได้ในพระที่หล่อผ่านความร้อนระดับหลอมโลหะให้ละลายมานะครับ นอกจากจะเอามาทาทีหลัง แนวทางของดีบุกมักจะมาพร้อมกับการสอนให้ท่องพิมพ์และส่องหาตำหนิจากคนขายพระปลอมกลุ่มเดิมๆ แล้วก็ก๊อปส่งกันไปเรื่อยๆ พระของพี่ๆ เพื่อนๆ บางคนกับแท้มาตรฐานสากลนิยมที่เค้าขายก็เหมือนกัน แต่ทำไมของเราถึงไม่เคยแท้ มาลองศึกษาความเป็นชินเงินที่สร้างด้วยแร่เงินและตะกั่วนมดูสิครับ
แต่เอาจริงๆไม่ว่าจะเป็นเงินหรือดีบุก ถ้าแค่เราดูธรรมชาติของไขตะกั่วเก่าได้ ความจริงก็ปรากฎแล้วครับ #พระเครื่อง

จุดจ่ายเงินในพระหูยาน | กรุเก่า-กรุใหม่ คืออะไร

พระหูยานเป็นพระเครื่องศิลปะในยุคลพบุรี ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ถึง ๑๘ ผ่านมาจนถึงปัจจุบันก็ประมาณ ๘๐๐ ถึง ๑๓๐๐ ปี คาบเกี่ยวกับยุคทวารวดี ล้านช้าง อู่ทอง และสุโขทัย #วัตถุมงคล
๔ มีนาขอใช้คำธรรมดาเพื่อความเข้าใจง่ายเหมืนอทุกคลิปนะครับ
พระหูยานเป็นรูปองค์พระพุทธปางมารวิชัยตัดชิดกับขอบ เกตุมาลาเป็นทรงฝาชีครอบ ใบหน้ากว้าง คิ้วนูน จมูกยาว ปากแบะ คางป้าน ใบหูใหญ่และยาวสังเกตได้ชัด มีสร้อยคอ สังฆาฏิยาวจรดสะดือ แขนทั้ง ๒ ข้างเรียว มือข้างซ้ายประทับบนหน้าตัก มือข้างขวาประทับบนหัวเข่านิ้วมือยาวเรียว ขาขวาทับขาซ้ายเห็นร่องนิ้ว ประทับบนฐานบัว ปลายกลีบบัวมีขอบ ด้านหลังเรียบ ตรงกลางเป็นแอ่งเล็กน้อยจากการเทหรือกดโลหะ ปรากฎเป็นริ้วจุดทั่วพื้นที่ คล้ายร่องผ้ากระสอบ เราจะเช็คธรรมชาติพระหูยานองค์นี้บนพื้นฐานธรรมชาติทุกจุดจะต้องมีธรรมชาติอย่างน้อย ๘๐๐ ปีเท่านั้น ไม่ส่องหาตำหนิโรงงานนะครับ

เรามาดูสิ่งที่ต้องเกิดขึ้นแน่นอนบนโลหะระดับ 8-9 ร้อยปีกัน ไม่มีออกไซด์ก็คือไม่มีอายุ ออกไซด์เป็นสิ่งที่เราใช้พิจารณาส่วนผสมในองค์พระ เพราะสิ่งที่เราเห็นแทบทั้งหมดบนองค์พระ คือออกไซด์ที่เกิดขึ้นและคลุมผิวไว้ ส่วนเนื้อพระจริงๆ อยู่ใต้ชั้นของออกไซด์ สิ่งที่เราเห็นได้จากภายนอกของพระองค์นี้คือ พิมพ์ทรงยังสมบูรณ์ เนื้อพระทั่วทั้งองค์ออกเป็นสีเทาเข้มอมดำ แต่พอส่องดูเนื้อลึกๆ จะเห็นชั้นไขบางๆ คลุมผิวไว้แทบทั้งหมด และมีบางจุดที่มีไขหนาโดยเฉพาะในร่อง เราจึงประเมินเบื้องต้นได้ว่าเป็นพระเนื้อชินแก่เงินมากๆ อย่าท่องจำว่าพระเนื้อชินต้องมีอะไร แต่ต้องดูและเข้าใจว่าส่วนผสมต่างๆ ในองค์พระต้องมีธรรมชาติตามอายุเป็นอย่างไร เพราะถ้าส่วนผสมหรือส่วนประกอบไม่เหมือนกันหรือไม่เท่ากัน ธรรมชาติก็ไม่เหมือนกัน

จุดจ่ายเงินในพระหูยาน
ตะกั่วนม
เราจะเริ่มเช็คออกไซด์ของตะกั่วกันก่อน เพราะสังเกตได้ง่ายกว่าออกไซด์ของเงิน จะเงินบวกตะกั่ว หรือดีบุกบวกตะกั่ว จุดจ่ายเงินคือไขตะกั่วนมถึงอายุได้ก็จบสมบูรณ์ จะเก็บต่อหรือจะวางจะคืนกันได้ที่จุดนี้ ตะกั่วธรรมชาติในพระเก่าเป็นตะกั่วนมหรือตะกั่วขาว ไม่ใช่ตะกั่วดำหรือตะกั่วอุตสาหกรรม ตะกั่วนมจะเกิดออกไซด์ขึ้นเป็นไขสีขาวและขาวอมเหลืองที่ขึ้นเป็นผลึกหรือเม็ดไขผดแล้วรวมตัวเป็นคราบ ส่วนการดูไขเก่าถึงอายุ เราจะดู ๒ มิติ คือไขบางจะดูการคลุมผิว และไขหนา ที่เราจะดูลักษณะของการสะสมตัว เนื้อพระบนสัน ในร่อง ในรอยปริแยก ค่อยๆ ดูธรรมชาติของไขที่ผสานเข้ากับเนื้อพระ อย่าลืมนะครับ เวลาเช็คพระ วางเรื่องเก๊แท้ เอาราคาในฝันออกไปก่อน

ไขบาง ธรรมชาติจะดูนวลๆ เบาๆ คลุมผิวไว้ และแทรกตัวอยู่ตามร่องที่ระบายความชื้นได้น้อย รวมถึงร่องของออกไซด์เงิน จุดนี้ไขต้องบางเหมือนเป็นฝ้าหรือเป็นหมอกคลุมผิวไว้
ส่วนไขหนา จะเป็นการสะสมตัวอย่างมีมิติ เข้มอ่อน หนาบาง เกิดไขตะกั่วทับออกไซด์เงินที่ขึ้นเป็นผดหรือสนิมไข่ปลา และเกิดออกไซด์เงินทับไขตะกั่ว ธรรมชาติพันปีจะมีความซับซ้อนและทับซ้อนกันเกิดขึ้นอย่างมีระเบียบ และเมื่อมีการทับซ้อนนานขึ้น ไขบางจุดอาจสึกกร่อน หลุดร่อนไปได้ตามอายุ ถ้าเห็นเป็นคราบแบนๆ เหมือนทามา หรือถ้าเป็นชินตะกั่ว มีไขหนาคลุมแต่ไม่เห็นความสึกกร่อนก็ ผิดธรรมชาติ #จุดจ่ายเงิน

อีกเรื่องที่พี่ๆ เพื่อนๆ ถามกันมาบ่อย เรื่องกรุเก่า กรุใหม่ หรือจะกรุวัดไหน ถ้าเป็นพระเครื่องที่สร้างในยุคเดียวกัน ดีทั้งนั้นครับ พุทธลักษณะอาจแตกต่างกันได้บ้าง แต่ธรรมชาติจะต้องเหมือนกันหรือใกล้เคียงกัน กรุเก่ากรุใหม่ที่เค้าชอบใช้กัน จริงๆ แล้วคือช่วงเวลาที่พระเปิดกรุหรือแตกกรุ ไม่ได้เกี่ยวกับว่าพระสร้างก่อนหรือหลังเลย และแล้วจริงๆ พระที่สร้างก่อน ปีลึกกว่ากว่า แตกมากรุหลังพระที่สร้างใหม่กว่าได้มั๊ย ก็คงจะไม่มีใครตอบว่า ไม่ได้ ปัญหาคือ… เราไม่ได้เอ๊ะ เราไม่เคยตั้งคำถาม หรือไม่ก็คำถามของพวกเราไม่ดังพอ
๔ มีนาแค่จะบอกว่ากรุเก่า กรุใหม่ไม่ได้มีผลต่อการดูธรรมชาติพระ และที่แน่ๆ เก่ากว่าเรียกกรุเก่า ใหม่กว่าเรียกกรุใหม่ไม่ได้ แต่ที่เห็นกันบ่อยๆ พระแต่งเก่าเรียกกรุเก่า พระแต่งใหม่ก็เรียกกรุใหม่ เวลาอ่านหรือฟังนิทานพวกนี้ เราต้องเอ๊ะ เราต้องตั้งคำถามกันนะครับ

ค่อยๆ เช็คตามกันมาทีละจุด พี่ๆ เพื่อนๆ จะดูพื้นฐานพระได้ หวังว่าจะได้ประโยชน์ดีๆ จากคลิปนี้ หาจุดจ่ายเงินคือไขตะกั่วเก่าให้เจอ ฝากกดไลค์ ฝากบอกต่อความรู้ดีๆ เราช่วยกันสร้างสังคมดีๆ แบ่งปันความรู้ ใช้คำพูดดีๆ ปรึกษาแนะนำกัน ดูพื้นฐานพระได้เองเป็น แล้วเราจะมีสังคมพระเครื่องน่ารักๆ กัน

Комментарии

Информация по комментариям в разработке