ที่สุดของสายเหนียว พระหูยาน เนื้อชินเงิน

Описание к видео ที่สุดของสายเหนียว พระหูยาน เนื้อชินเงิน

พระหูยาน กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี

พระหูยาน เป็นพระที่สร้างในยุคลพบุรี มีอายุการสร้างมานานกว่า 800 ปี
และยังเป็น ๑ ในพระเครื่องที่ได้รับการจัดให้เป็นพระเบญจภาคีเนื้อชิน

พุทธลักษณะของพระหูยาน จะดูน่าเกรงขาม ตามพุทธศิลป์ในยุคลพบุรี เพื่อเสริมจิตใจในการสู้รบ ปกป้องบ้านเมือง และต่อสู้ศัตรู

ดังนั้นพุทธคุณของพระหูยานจะโดดเด่นในเรื่องเสริมสร้างจิตใจให้ฮึกเหิม เข้มแข็ง ป้องกันศาตราวุธ ป้องกันพิษ และแคล้วคลาดจากอันตรายต่างๆ

พระหูยาน มีการแตกกรุที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.ลพบุรี และยังมีกรุอื่นๆ เช่น กรุวัดอินทาราม กรุวัดปืน กรุวัดราชบูรณะ กรุวัดค้างคาว กรุเมืองสรรค์ ซึ่งจะมีพุทธลักษณะและเนื้อหาที่แตกต่างกันไป

สำหรับพี่ๆ เพื่อนๆ ที่นิยมพระเครื่องเนื้อชิน และวัตถุมงคลสายเหนียว แน่นอนว่า พระหูยาน ต้องเป็นหนึ่งในพระในฝัน ที่อยากอาราธนาไว้ติดตัว พระหูยานเป็นพระดังและมีค่านิยมสูง และมีพระโรงงานทำขึ้นมาใหม่มากมาย เรามาดูกันว่าพระเนื้อชินเงิน อายุประมาณ ๘๐๐ ปี ควรมีธรรมชาติเป็นอย่างไร

หลักการพิจารณาพระหูยาน

๑ พุทธศิลป์
พุทธศิลป์เป็นองค์พระพุทธรูปปางมารวิชัยพระประทับนั่งบนกลีบบัวเล็บช้าง ๕ กลีบ มีแบบชั้นเดียวและแบบสองชั้น เป็นบัวคว่ำ-บัวหงาย

การแยกพิมพ์ของพระหูยาน จะแยกตามพุทธลักษณะของใบหน้า พระหูยานที่พบกันจะมี หน้ายักษ์ หน้ามงคล บางคนจะเรียกว่าหน้านาง และหน้างุ้ม จะเป็นพิมพ์ที่องค์พระก้มหน้าลงมากกว่าพิมพ์อื่นๆ บางตำราจะมีหน้าหนุ่ม หน้าเด็ก

สำหรับ “พิมพ์หน้ายักษ์” องค์นี้ พระพักตร์ค่อนข้างใหญ่ พระโอษฐ์หรือปากจะลึกกว่าและกว้าง ส่วน “พิมพ์หน้ามงคล” หรือหน้านาง พระพักตร์จะมนกว่า และพระโอษฐ์จะเล็กกว่า

ด้านหลังของพระหูยาน ส่วนมากที่พบจะเป็นหลังลายผ้า ซึ่งมีบันทึกว่าไว้ว่ามีแบบหลังเรียบด้วยเช่นกัน สำหรับแบบหลังลายผ้า มักจะมีลักษณะเป็นแอ่ง ที่เกิดจากการเทโลหะ แล้วยุบตัวลงตามพิมพ์

สำหรับพิมพ์หลังลายผ้า เราจะเห็นเป็นลายจุดตาราง ซึ่งน่าจะเกิดจากการใช้วัสดุที่มีลาย กดหรือปิดที่ด้านหลังองค์พระ หลังจากเทโลหะลงเบ้า

๒ เนื้อพระ
พระหูยานเป็นพระเนื้อชินเงินคือมีส่วนผสมของเงินมากกว่าตะกั่ว ส่วนเนื้อชินตะกั่ว คือเนื้อชินที่มีส่วนผสมของตะกั่วเป็นหลัก ส่วนเนื้ออื่นๆ ของพระหูยาน ๔ มีนายังไม่เคยได้ศึกษานะครับ

การพิจารณาพระเนื้อชิน อายุ ๗๐๐ กว่าปี

๑ เนื้อพระต้องดูแห้ง ถึงแม้ว่าจะเป็นเนื้อชินเงิน ซึ่งมีความคงทนกว่าเนื้อชินตะกั่ว แต่เราก็ควรจะมองเห็นความเหี่ยวของเนื้อโลหะ มีความกร่อนตามอายุโดยเฉพาะในจุดที่เป็นสัน ไม่ควรเป็นผิวเรียบตึง แต่ถ้าจะมองว่าเป็นพระใช้งานหนัก จึงมีความมันเงา อย่างไรก็ควรเห็นการสึกของเนื้ออยู่ดี หากองค์พระมีรอยปริแยก มักจะมีไขคลุมร่อง

๒ ธรรมชาติเนื้อชินเงิน มีตะกั่วและดีบุกผสม เนื้อพระจะมีคราบฝ้าแห้งๆ ขึ้นจากในเนื้อ สนิมสีเทาดำจากเงิน ไขจากตะกั่ว โดยขึ้นเป็นเม็ดๆ รวมตัวกันเป็นคราบไข โดยทั่วไปเนื้อพระทั่วทั้งองค์จะมีสีเข้มอ่อนปะปนกัน เช่นดำเข้ม เทาเข้ม เทาอ่อน หรือบางจุดที่เป็นไขปนสนิม จะมีสีเหลืองเข้ม ไล่ไปจนถึงสีน้ำตาล การที่ผิวองค์พระต้องมีหลายโทนสี เพราะแร่แต่ละชนิดที่ผสมอยู่ในเนื้อจะมีการเปลี่ยนแปลงสภาพที่ไม่เหมือนกันทั้งหมด

๓ ออกไซด์หรือสนิม
ออกไซด์หลักๆ ที่จะเกิดในพระหูยาน จะเกิดจากเงิน ตะกั่วและดีบุกเป็นหลัก โดยอาจพบออกไซด์จากแร่แฝงต่างๆ ได้บ้าง

ออกไซด์ของเงิน จะเป็นสีเทา ถ้าสะสมจนหนาจะเห็นเป็นสีดำเข้ม ดูเป็นเกล็ดๆ
ออกไซด์ของตะกั่ว จะขึ้นเป็นไขขาวอมเหลือง
ส่วนดีบุก จะเป็นแร่ที่มีความแข็งแกร่งสูง เกิดสนิมได้น้อย และทนต่อการผุกร่อน สึกหรอน้อย จึงใช้เป็นส่วนผสมเพื่อให้พระมีความคงทนแข็งแรง

จุดพิจารณาออกไซด์หรือสนิมในพระหูยาน เนื้อชินเงิน
สนิมเงิน หรือสนิมตีนกา จะเป็นสีเทาเข้มหรือสนิมดำขึ้นสะสมกันจนเป็นชั้นๆ หากพระเป็นเนื้อแก่ตะกั่วถูกความชื้นหรือความร้อนสูง สนิมอาจกินเนื้อพระจนผุ หรือที่เรียกว่าเนื้อระเบิด

จุดสำคัญคือสนิมจะต้องขึ้นจากในเนื้อ ไม่ดูเป็นการพ่นหรือทาสีทับ และวิธีเช็คเนื้อชินเงินแท้ เมื่อเรานำพระไปขีดที่กระดาษ ต้องไม่ขึ้นเป็นเส้นสีดำ

๓ ไขตะกั่ว
ไขสนิมตะกั่วจะขึ้นเป็นสีขาวอมเหลือง ธรรมชาติของไขจะขึ้นเป็นจุดและรวมตัวกันพอกเป็นคราบให้เราเห็น ไขขึ้นจากในเนื้อ ดูนวลตา โดยเฉพาะในร่องลึก
สีของไขจะต้องมีสีอ่อนและเข้ม หนาบางไล่ปะปนกันไม่เป็นสีเดียวในบริเวณเดียวกัน
ไขก็เหมือนออกไซด์นะครับ คือปูดขึ้นจากข้างในออกข้างนอก และขึ้นตลอดเวลาได้เหมือนพระมีชีวิต
ย้ำนะครับ ต้องดูให้เป็นไข ไม่ใช่การทาสีทับ

๔ ขอบข้าง
จากที่ ๔ มีนาสังเกตพระกรุเนื้อชินมานะครับ ขอบข้างมักจะมีความกร่อน ผุตามอายุ ไม่ควรเรียบตึง หรือลื่นมือ

๕ พิมพ์พระ
พิมพ์พระมักจะมีความคมชัด ถึงแม้ว่าจะมีความผุกร่อน สึกตามกาลเวลา เราจะสังเกตเห็นความคมชัดได้โดยเฉพาะในจุดที่อยู่ต่ำลงไป เช่น ใบหู นิ้วมือ นิ้วเท้า เส้นสังฆาฏิที่จะขึ้นไปจนจรดบ่า เม็ดไข่ปลา หรือฐานบัว ถึงจะไม่คม แต่จะชัด

ทั้งนี้ทั้งนั้น เนื้อพระและการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติเป็นเรื่องสำคัญ เนื่องจากตำหนิในพิมพ์อาจติดชัดหรือไม่ชัด สึกกร่อนไปตามกาลเวลา หรือพระบางพิมพ์ อาจจะไม่ได้มีแม่พิมพ์เดียวในการสร้าง ดังนั้นการยึดติดในตำหนิพิมพ์ พี่ๆ เพื่อนๆ อาจพลาดพระเครื่องดีๆ ไปก็ได้

พระแท้อาจจะไม่ได้หายากเท่าพระแพง แขวนพระดีๆ มีพุทธคุณกันนะครับ คลิปหน้าจะเป็นพระเครื่องหรือวัตถุมงคลใด ฝากกดติดตาม ๔ มีนาไว้ด้วยนะครับ จะได้ไม่พลาดคลิปความรู้ดีๆ แล้วไว้พบกันใหม่ สวัสดีครับ

Комментарии

Информация по комментариям в разработке