ตัวต้านทานปรับค่าได้ คืออะไร ? ตัวต้านทานปรับค่าได้ 3 ขา ทำงานอย่างไร ?

Описание к видео ตัวต้านทานปรับค่าได้ คืออะไร ? ตัวต้านทานปรับค่าได้ 3 ขา ทำงานอย่างไร ?

สวัสดีครับยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่ช่อง ZimZimDIY

สำหรับวันนี้ ผมจะมาอธิบาย อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ตัวหนึ่งนั้นก็คือ ตัวต้านทาน แต่มันไม่ใช่ตัวต้านทานทั่วไปที่เราเห็นนะครับ

ตัวนี้มันจะเป็นตัวต้านทานแบบปรับค่าได้ ภาษาอังกฎษเขาเรียกว่า (Variable Resistor) หรือเรียกสั้นๆ ว่า VR
สัญลักจะเป็นแบบนี้
แล้วตัวต้านทานแบบนี้มีประโยชน์ในวงจรอย่างไร

ก่อนอื่น ผมจะให้เพื่อนๆดูวงจรนี้กันซะก่อนนะครับ
วงจรนี้ มีแหล่งจ่ายก็คือ แบตเตอร์รี่ขนาด 9V
หลอด LED สีแดง
และก็ตัวต้านทาน แบบค่าคงที่ 500 โอห์ม
เมื่อเอามาเชื่อมต่อกันมันก็จะสว่างจ้าเลยใช่ไหมครับ

นี่ก็ ก็คือวงจร ดรอปกระแสทั่วไป ที่ไม่ให้หลอด LED ขาด
แต่ถ้าเพื่อนๆรู้สึกว่ามัน สว่างไป อยากให้ไฟมันหรี่ลง
เราก็คงจะทำได้ดีที่สุดก็คือ เพิ่ม ตัวต้านทานเข้าไปอีก ให้ค่ามันเยอะขึ้น พอค่ามันเยอะขึ้น กระแสก็จะไหลได้น้อยลง
ไฟมันก็จะหรี่ลง
เพราะฉะนั้นถ้าเราอยากให้หลอดไฟ มันหรี่ลงไป อีก เราก็ต้องเพิ่ม ตัวต้านทานอนุกรมไปอีกเรื่อยๆ

ถ้ามันอยู่ในวงจรจริงก็คงลำบากไม่น้อย
แต่ปัญหานี้จะหมดไป
ถ้าเพื่อนๆ มี ตัวต้านทานแบบปรับค่าได้ เราเพียงแค่หมุนปุ่มวอลุ่ม ไปทาง ซ้าย หรือ ขวา เราก็สามารถควบคุมกระแสไฟให้มันสว่าง
หรือหรี่ได้ ตามที่เราต้องการ

แต่การต่อใช้งานควรจะมี ตัวต้านทานแบบค่าคงที่ ช่วยดรอปกระแส ค่ามากที่สุดที่โหลดจะทำงานได้ โดยที่ไม่เสียหายด้วยนะครับ
ถ้าเราไม่ใส่ดึงมันทิ้ง แล้วต่อตรงกับ VR อาจจะทำให้โหลด พังเสียหายได้ครับ อย่างหลอด LED ตัวนี้มันก็จะช๊อต ไปในทันที

ส่วน ค่าตัวต้านทาน จะมากจะน้อย ก็ขึ้นอยู่กับ สเป๊ก ของ VR ตัวนั้นๆที่เราซื้อมา
อย่างเช่น ตัวนี้ บอกไว้ว่า B10K
1 , 0 ก็คือ 10
ตัว K ก็คือ ค่าอุปสรรค หน่วยเป็น กิโล กิโล ก็ให้เติม 0 อีก 3 ตัว
ก็เท่ากับ 10,000 ohmครับ
ก็คือ VR ตัวนี้ สามารถปรับ ค่าความต้านทานได้ ตั้งแต่ 0 ohm - 10,000 ohm เลยทีเดียวครับ

VR พวกนี้ส่วนมาก จะเห็นใช้กับ ไฟฟ้ากระแสต่ำๆ นั้นแหละครับ กระแสเล็กๆน้อยๆ
ณ ตอนนี้ เรารู้แล้ว ว่ามันคือ R ปรับค่าได้ แต่ตัวมันทำไมมี 3 ขา นี่สิครับ แล้ว เราจะทราบได้อย่างไรว่าเราต้องต่อขาไหน กับขาไหน
เพราะฉะนั้นผมจะพาเพื่อนๆไปดู
ส่วนประกอบของมันครับ

ตัวจริงมันก็จะมี น๊อตตัวเมีย และก็แหวน อย่างละตัว เอาไว้เพื่อยึดติดกับ บอดี้ต่างๆ ที่เป็นรู ที่เราจะนำไปใช้งาน

และส่วนของแกนตรงนี้ จะมีอยู่ 2 ชั้น ชั้นแรกจะเป็นส่วนที่ หมุนได้ เขาเรียกว่าเพลาควบคุม มันหมุนได้ผมเดาว่า ประมาณ 270 C
และชั้นที่2 จะเป็นปอกเกลียว ปลอกเกลียวจะ หมุนไม่ได้นะครับ ตัวมันไปยึดกับ
แผ่น penoilic แผ่นสีน้ำตาลๆ นั้นแหละครับ และ ก็มีปอกหุ้มที่เป็นเหล็ก อยู่ด้านหลัง อีก 1 จุด
มันจะมี ขา 4 ขาโผล่ออกมาด้วยนะครับ ไว้สำหรับยึด อุปกรณ์ทุกอย่าง เข้าด้วยกัน
เราสามารถที่จะง้างมันออกมาได้
เพื่อจะให้ชิ้นส่วนแยก ออกจากกันอย่างอิสระ

เราก็ยกมันออกมาเลยครับ
พลิกมาดูด้านหลังตรงนี้กันครับ

สังเกตุว่าจะมี พลาสติกชิ้นหนึ่ง ติดกับแกนเพลา อยู่
งั้นก็หมายความว่า พลาสติกสีขาวชิ้นนี้เป็นส่วนที่ หมนุ หรือ เคลื่อนที่ได้

ผมจะถอดพลาสติก ตัวนี้ออกมานะครับ
พอถอดมาแล้ว เราจะเห็นเป็น โลหะที่มี 2 หน้าสัมผัส แต่ยังใช้ แกนเดียวกันอยู่
แผ่นโลหะก็จะถูกตัดให้เป็นเส้น เพื่อความยืดหยุ่น

ส่วนแผ่น penoilic จะมีอยู่ 3 ขา
ขาข้าง จะมีแถบความต้านทานสีดำ ยาวไปถึงขา อีกฝั่งหนึ่ง ซึ่งจะมีค่า = 10k โอห์ม
เราลองมาวัดกันดูครับ
นี่ครับได้ ค่าความต้านทานจริง จะขึ้นประมาณ 10k โอห์ม จริงๆด้วยครับ
ถ้าเราเอา สองขานี่ ไปต่อใช้งาน เราก็จะได้ ตัวต้าทานแบบค่าคงที่ 10k โอห์ม

แต่ถ้าเอาใหม่นะครับ
ผมจะ ลองวัด สุ่ม ที่แถบ ความต้านทาน
วางไว้ตรงกลาง กึ่งกลางเพื่อนๆ คิดว่ามันจะได้ค่า ความต้านทานเท่าไหร่ครับ
นี่ครับ ประมาณ 5k โอห์ม
งั้นก็แสดงว่า ระหว่าง แถบความต้านทานทั้ง 2 ขานี่ ถ้าเรายิ่งหย่นระยะของมัน ให้สั้นได้เท่าไหร่
ความต้านทานก็จะลดลงเท่านั้น นี่ครับ
10 9 8 7 6 5 4 3 1 0 แล้วก็ OL

เขาก็เลยออกแบบ มีขากลางขึ้นมา
เพื่อหย่นระยะตรงนี้นี่แหละครับ

โดยทำวงกลม ที่เป็นแถบตัวนำ
เมื่อเรา เอาพลาสติกสีขาว ตรงนี้มาประกบ ยึดติดกับเพลา
ส่งผลให้หน้าสัมผัส สามารถเลื่อนไปมาได้
เลื่อนน้อย ความต้านทานก็จะต่ำ
เลื่อนไปไกล ๆ ค่าความต้านทานก็จะสูง

ขาที่ 2 กับ 3 เขาก็เลยมักจะนำไปต่อใช้งานนั้นเองครับ
ขา2 อาจจะเป็น INPUT
ขา3 อาจจะเป็น Output
หมุนไปทางขวา ตามเข็มนาฬิกา ไฟก็จะสว่าง
หมุนทวนเข็ม ไฟก็จะหรี่ลง

มันเป็น ปกติทั่วไป ที่เราเข้าใจมันแบบนั้น
เพื่อนๆสามารถต่อใช้งาน ขา 1 กับ ขา 2 แทนก็ได้นะครับไม่มีอะไรผิด
แต่มันจะทำงานสลับกันนั้นเอง

ถ้าเอาไปต่อใช้งานเกี่ยวกับ สัญญาณเสียงหรือว่า เร่งลดเสียง
ขาที่ 1 เขามักจะต่อลง GND
มันสามารถ ลดสัญญาณรบกวนได้

แล้วระบบเสียงที่เป็น สเตอรีโอ ละเราจะทำยังไง
เพื่อนๆไม่ต้องเป็นห่วงครับ
มันจะมี วอลุ่ม ชนิดหนึ่งที่มี 2ชั้น 6 ขา เพื่อแก้ปัญหาตรงจุดนี้

ปัจจุบันก็มี VR หลากหลายค่าหลากหลายขนาด
ทั้ง 2 ขาบ้าง เราจะเห็นใน สวิตชิ่ง
ตัวเล็กๆก็มีครับ จะใช้ไขควงเป็นตัวบิดหมุน
ตัวแบนๆก็มีครับ
หรือว่าจะเป็น VR ที่มี สวิต์ทในตัว สามารถเปิดปิด และเร่งวอลลุ่มในเวลาเดียวกัน
เราจะพบเห็นได้ใน วิทยุพกพาทั่วไป

และทั้งหมดนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของ ตัวต้านทานแบบปรับค่า ได้ที่เขานิยมใช้กันในปัจจุบัน
ถ้าเพื่อนๆ อยากแนะนำให้ผม อธิบายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ตัวไหน ก็สามารถ คอมเมนท์ใต้คลิปด้านล่างนี้ได้ครับ
ขอบคุณเพื่อนๆทุกท่านที่ติดตามรับชมครับ

Комментарии

Информация по комментариям в разработке