วัดคาปาซิเตอร์ "ดี" หรือ "เสีย" ด้วยมิเตอร์เข็ม เห็นผล 95%...!!

Описание к видео วัดคาปาซิเตอร์ "ดี" หรือ "เสีย" ด้วยมิเตอร์เข็ม เห็นผล 95%...!!

รวม C เสีย =    • รวม ตัวเก็บประจุ "C" ที่เสีย....ชัวร์...  
วิธีวัด C รั่ว =    • วิธีวัด Capacitor ที่รั่ว(C Leak) 2 ร...  
สวัสดีครับยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่ช่อง ZimZimDIY
สำหรับวันนี้ผมจะมาสาธิตวิธี ตรวจวัด คาปาซิเตอร์ ด้วย Analog มัลติมิเตอร์ ให้เพื่อนๆได้ดูครับ

เนื่องจากว่า Analog Multimeter หรือ มิเตอร์แบบเข็ม เนี้ยะ ณ ปัจจุบันนี้ เพื่อนๆหลายท่านก็ยังนิยมใช้กันอยู่
และ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายๆตัว ก็ยังคงต้องการใช้ตัวมันนี่แหละครับ ในการวัด เพื่อเช็ค ความชัวร์

สำหรับผมเอง ผมก็เห็นด้วยนะครับ ว่าควรจะมีมัลติมิเตอร์ทั้ง 2 แบบ พกติดมือเอาไว้
ทั้ง มิเตอร์แบบ เข็ม และ ก็ มิเตอร์แบบดิจิตัล

แต่ในการวัดค่าการเก็บประจุของ C โดยใช้ มิเตอร์แบบเข็ม นั้น มันจะไม่ได้สามารถวัดแล้วทราบค่าออกมาได้โดยตรง นะครับ
ซึ่งมันจะต้องคำนวณ โดยอัดแรงดันไฟเข้าไป แล้วก็จับเวลา โดยใช้ตัว R
และก็จะใช้สมการแทนค่า ตามที่คุณ Bozza ที่ได้แนะนำเข้ามา

ยังไงรายละเอียด ต่างๆในการคำนวณ ถ้าเพื่อนสนใจ
เดี๋ยวผมจะ แยกการคำนวณเป็นอีกคลิปหนึ่ง ละกันนะครับ

เมื่อเรา ไม่สามารถทราบค่าได้โดยตรง
เราเช็คได้เพียงคร่าวๆเท่านั้น ว่า C ตัวนั้น มีการ Chage เกิดขึ้น หรือการ Dischage ปกติดีอยู่หรือเปล่า

เพราะถ้าหากเราสังเกตุที่ตัวมัลติมิเตอร์เอง มันจะไม่ได้มีโหมดวัด คาปาซิเตอร์แถมมาด้วย
เราจะประยุกต์ ใช้ ฟังก์ อื่น นั่นก็คือ โหมดวัด ค่าความต้านทาน หรือ โหมด R วัด Ohm นั่นเอง
ถ้าเราสังเกตุง่ายๆก็คือ มันจะอยู่ในช่วงนี้ทั้งหมดครับ
นั้นก็คือย่าน RX1 , RX10 , RX100 , RX1k , RX10k
พอเรารู้ว่ามันใช้วิธีนี้ ในการเช็คได้
แล้วเราจะรู้ได้อย่างไร ว่าเราควรปรับไป ย่านวัด ไปที่ย่านไหน
เพราะว่า C แต่ละตัว ค่าการเก็บประจุก็ไม่เท่ากันอีก
ที่จริงมันก็ไม่ได้ตายตัว อะไรมานักนะครับ
ช่างหลายๆท่าน ก็จะใช้ประสบการณ์ของตัวเอง ปรับให้มันพอมองเห็น การกระดิกของเข็มชัดๆ
ส่วนใหญ่ C ที่ค่าเยอะๆมากๆ เขา ก็จะ ปรับ ล้น ลงไปที่ RX1
ส่วนถ้า C น้อยๆมากๆ เขาก็จะปรับไปที่ RX10k นั่นเองครับ
เพราะฉะนั้นผม จะมาแนะนำ ค่าคร่าวๆ ของ C ที่เหมาะสมเป็นอีก 1 ทางเลือก ว่าควรจะใช้เร้นจ์ ไหน
ผมแนะนำว่า ค่าที่อยู่ในช่วง 1,000 ขึ้นไป ควรที่จะใช้ย่าน RX1
ค่าที่อยู่ในช่วง 100 - 1,000 uf ควรที่จะใช้ย่าน RX10
ค่าที่อยู่ในช่วง 10 - 100 uf ควรที่จะใช้ย่าน RX100
ค่าที่อยู่ในช่วง 1 - 10 uf ควรที่จะใช้ย่าน RX1K
และ ค่าที่อยู่ในช่วง 0.1 - 1 uf ควรที่จะใช้ย่าน RX10K

ทีนี้มาดูขั้นตอนการวัดวัดกันบ้างครับ
ขั้นตอนที่
1. ก็คือให้เพื่อนๆนำ C ที่ต้องการวัดมา คายประจุออกให้หมดซะก่อน
2. เช็ค C ว่ามันมีค่าเท่าไร อย่างตัวนี้ ค่า 4,700 uF เราก็เอามาเปรียบเทียบกับตาราง ค่าที่อยู๋ เกิน 1,000 uF ควรจะใช้ย่า Rx1
หลังจากนั้น ก็ ปรับย่านการวัดให้มันเหมาะสม
3. นำเข็มวัด มาแตะทั้งสองขา

เรามาสังเกตุจากเข็มมิเตอร์ กันนะครับ
คาปาซิเตอร์ตัวที่ ดี ยังพอใช้งานได้ เข็มจะต้องกระดิกขึ้น และตกลง อย่างรวดเร็ว 1 ครั้ง
และเมื่อเราสลับข้างมันก็ต้อง กระดิกขึ้นแล้วลงเช่นกัน

หลักการทำงานของมันก็คือ ขณะมันเข้า ชาร์จไฟเข้าตัวมัน ตัวมันก็จะมีกระแสไหลผ่านเกิดขึ้น มัลติมิเตอร์ก็จะจับได้ กระแสเหล่านั้นได้
วัดเป็นค่าความต้านทานออกมา แต่พอ C ถูกชาร์จประจุจนเต็ม จะไม่มีกระแสไหล ออกมาเข็มก็เลยตก

เรามาดู C ตัวถัดไปกันครับ ผมคายประจุออกจนหมดเช่นเดิม
ตัวนี้ค่า 1500 uF ก็ยังใช้ย่านเดิมในการวัดได้อยู่ ครับ
มันต้องกระดิกแล้วลง อย่างรวดเร็ว 1 ครั้ง ก็แสดงว่าใช้งานได้อยู่ครับ

ตัวถัดไป 680 uF ก็จะอยู่ในย่าน Rx10 วัดเหมือนเดิมเลยครับ
มันจะต้องกระดิกแล้วลง 1 ครั้ง สลับก็ต้อง กระดิกแล้วลง 1 ครั้งเช่นกันครับ ก็แสดงว่าดี
ตัวถัดไป 330 uF ตัวนี้ก็ยังใช้งานได้ครับ
ตัว 47 uF ควรที่จะใช้ย่าน Rx100 นี้ครับ กระดิกครั้งหนึ่ง สลับก็กระดิกอีกครั้งหนึ่ง

ส่วนตัวนี้ 22 uF ตัวนี้ก็ยังใช้งานได้ครับ แต่เข็ม สังเกตุว่า มันจะขึ้นนิดเดียว บางทีเรามองไม่ชัด
ก็ขยับ ย่านวัดขึ้นไปอีกก็ได้ครับ นี่ครับ ก็จะมองเห็นได้ชัดเจนขึ้น

ต่อไปตัว 10 uF ผมจะใช้เป็น ย่าน R1K ไปเลยนะครับ ตัวนี้ก็ดีอยู่ครับ

และตัวสุดท้ายจะเป็น C แบบไม่มีขั้ว ค่า 0.1 uF
เป็นค่าที่น้อยที่สุดในตาราง ผมจะคายประจุ แล้วปรับย่านการวัด
Rx10K
เราลองมาวัดกันครับ นี่ครับ เราก็จะเห็นมัน กระดิก แล้วก็ลง วัดได้เหมือนกัน C 0.1 uF ก็ถือว่าผ่านครับ
อันนี้แถมนะครับ ผมจะลองวัด C 0.01 uF ดูครับ
จะเห็นได้ว่ามีการกระดิกแค่นิดเดียว เพื่อนๆ บางท่านก็จะมองได้อย่างยากลำบาก มากๆ
ถ้าค่าน้อยมากๆ อย่างงี้แนะนำใช้ ดิจิตัลมัลติมิเตอร์จะดีกว่าครับ
ส่วน C ค่า 0.001 uF หรือ C 1nF ไม่ต้องพูดถึง เลยครับ วัดดูแล้ว ไม่มีอะไรเกิดขึ้นเลย ครับ
ต้องใช้ดิจิตอลมัลติมิเตอร์ ย่านละเอียดวัดดูอีกทีหนึ่งถึงจะปรากฎค่าออกมา
เพื่อนๆหลายท่านคงจะสงสัยว่า อ้าวแล้วอย่างงี้ แล้วเราจะวัด C ค่านี้ เราจะต้องทำยังไง สำหรับ มิเตอร์เข็มบางรุ่น มันจะมีเร้น
การวัด กว้างไปถึง RX100K เลยทีเดียวครับ ราคาก็จะสูงนิดหนึ่ง ส่วนมิเตอร์ Sunma ที่ผมใช้จะเป็นรุ่นประหยัด
ตัวละ 100 200 กว่าบาท จะไม่มีย่านนี้นะครับ ปรับขึ้นอีกอันก็คือโหมดเสียงไปเลย

หลังจากที่เราวัด C ตัวที่ใช้งานได้ วัดครบทุกย่านแล้วนะครับ
ทีนี้เรามาดู C ตัวที่เสียกันบ้างครับ
มันจะมีแบบไหนกันบ้าง

1.มันจะขึ้นค้างแบบนี้ จะเป็น C ช๊อต
2. C รั่ว
3. C ขาด

เพื่อนๆ คนไหน มีเทคนิค การวัดดีๆ เพิ่มเติม สามารถ คอมเมนท์ใต้คลิปเข้ามาได้นะครับ

ขอบคุณเพื่อนๆทุกท่านที่ติดตามรับชมครับ

#วัดคาปาซิเตอร์ดีเสีย #วัดคาปาซิเตอร์ด้วยมิเตอร์เข็ม

Комментарии

Информация по комментариям в разработке