รวม ตัวเก็บประจุ "C" ที่เสีย....ชัวร์...แน่นอน 99.999% (Cค่าแห้ง , Cค่ายืด , Cบวม , Cรั่ว , ESRสูง)

Описание к видео รวม ตัวเก็บประจุ "C" ที่เสีย....ชัวร์...แน่นอน 99.999% (Cค่าแห้ง , Cค่ายืด , Cบวม , Cรั่ว , ESRสูง)

สวัสดีครับยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่ช่อง ZimZimDIY
สำหรับวันนี้ ผมจะมาพูดถึงคาปาซิเตอร์
Capacitor นับเป็นอุปกรณ์สำคัญตัวหนึ่ง ที่อยู่ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป
ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่มักจะเสีย เป็นเบอร์ต้นๆ อยู่แล้ว และช่างหลายๆท่านก็คงจะคุ้นเคย
กับการถอดเปลี่ยนกันเป็นประจำ อยู่แล้วนะครับ ส่วนอาการที่เสียของมันส่วนใหญ่ ที่เรามักจะเจอ
ก็จะมีด้วยกันหลากหลายอาการ
เพราะฉะนั้น เดี๋ยวผมจะยกตัวอย่าง อาการเสียของมันไว้ เบื้องต้น ดังนี้ละกันนะครับ
โดย ข้อมูลมี่ผมจะนำมาแบ่งปัน นะครับ ก็คือ เป็นอาการ ที่ผมมักจะพบเจอเป็นประจำ
และ ส่วนหนึ่งผมก็ได้มีโอกาส โพตสอบถาม เพื่อนๆในแถบชุมชน ที่เป็น FC อยู่ในช่องของเรา
โดยผมของเรียงลำดับ ดังนี้ละกันนะครับ
อาการที่ 1 หลายๆท่าน มักจะเรียกว่า C ยืดค่า แล้ว C ยืดค่าคืออะไร Cยืดค่าก็คือ
C ที่มีค่าการเก็บประจุ ที่เพิ่มสูงขึ้น สูงขึ้นมากผิดปกติ
อย่างเช่น ผมมี C ตัวหนึ่ง มีค่า Nampage เขียนอยู่ที่ 2,200 uF
แต่เมื่อวัดค่าจริง กลับวัดค่าได้อยู่ที่ 2,494 uF ซึ่งมีค่าผิดเพี้ยนเพิ่มขึ้น กว่า 13%
ซึ่งโดยปกติทั่วไปแล้ว C ยืดค่า บางครั้ง มันก็ไม่ได้ส่งผลเสียอะไร ให้กับวงจรมากนัก
ถ้าหากตัวมันไม่เกิดการรั่วไหล หรืออาการ leak เกิดขึ้น
เดี๋ยวเรามาแกะดู C ที่ยืดค่ากันครับว่า ข้างในมันเป็นยังไง

แต่ก่อนอื่นผมจะพาเพื่อนๆมาดู C ตัวที่ใช้งานได้ปกติ กันก่อน
นี่ครับพอแกะออกมาก็จะเจอกับ น้ำยาค้างอยู่ในกระป๋อง และตัว ใส้ในเอง ก็มีน้ำยาเคลือบเยิ้ม อยู่เช่นกันครับ
ผมขออนุญาต ถอดขั้วของมันออกมาก่อน ละกันนะครับ เดี่ยวจะคลาย แผ่นที่มันม้วนๆตรงนี้ ออกมาให้เพื่อนๆได้ดู
พอคลายออกมา นี่ครับ รูปโฉมก็ยังดูดี
เขาก็จะวาง แผ่นโลหะ สลับ กับ ฉนวน แบบนี้ แล้วก็อาบเคลือบด้วยน้ำยา เพื่อรักษาการเก็บประจุ
นี่คือ C ที่ใช้งานได้ ปกติครับ
ส่วนนี่ก็คือ C ตัวที่ยืดค่าเมื่อสักครู่
สังเกตุว่า พอผมถอด ออกมา ใส้ใน สีมันจะเข้มขึ้นนะครับ
แล้วภายในกระป๋องเอง น้ำยาก็จะไม่มีค้างให้เราเห็นแล้วนะครับ
ถ้ามาดูที่ฉนวน ผม รู้สึกได้ว่า มีการแข็งกรอบเพิ่มมากขึ้นครับ
ผมเคยได้ยินข้อมูลมาว่า น้ำยาที่มันหายไป มันจะเพิ่มความเข้มข้น ตรงนี้ มากขึ้น มันอาจะ จะไปเพิ่มค่า การเก็บประจุ ของตัวเก็บประจุให้มากขึ้นชั่วคราว
แต่ข้อมูลนี้ มันก็ไม่ทราบแน่ชัดนะครับ ว่า จริงเท็จประการใด
ยังไง เพื่อนๆท่านใดที่ทราบ ช่วยคอมเมนท์เข้ามาด้วยนะครับ
ทีนี้จะพามาดู อาการที่ 2 กันบ้างครับ
หลังจากที่เราใช้งาน C ในวงจรของเรา มาเป็นระยะเวลานาน หลายปี น้ำยาข้างใน ของมันก็จะเริ่มแห้งไปบ้าง
ส่วนหนึ่งที่เป็นตัวเร่งเร้า อย่างที่ผมบอกนั้นแหละครับ ก็คือจะมาจากความร้อน อาจจะมาจากตัวอุปกรณ์ตัวอื่นๆ ที่อยู่ติดกัน อยู่ใกล้ๆกัน อย่างพวก บริดจ์ไดโอด
หรือ พวกตัวต้านทาน R กระเบื้อง
น้ำยาพวกนี้ พอมันแห้ง ก็อาจะจะส่งผลให้ C เอง มีค่าการเก็บประจุที่น้อยลง
เขาจะเรียกว่า C มันหดค่า หรือเรียกว่า C แห้ง ก็ได้เช่นกัน
เด๊่ยวเราจะมาแกะดูว่าข้างในมันแห้งจริงๆหรือเปล่าครับ
นี่ครับ ใส้ในสีเข้มขึ้น แล้วก็แห้งกริบเลยครับ ฉนวน รู้สึกว่าจะกรอบแห้ง แกะออกมานี่ติดเลยครับ แกะค่อนข้างยากลำบาก
ถ้าเป็นนักมวย พูดง่ายๆก็คือ หมดสภาพ ยกธงขาว ไม่สามารถชกต่อได้นั้นเองครับ
ไปต่อ อาการที่ 3 อาการก็คือ C วัดค่าไม่ได้ C วัดค่าไม่ขึ้น
ตัวนี้หนักเลยครับ ถ้าสังเกตุด้วยสายตา ตรงส่วนหัวของ C ก็อาจจะมีอาการแตกทะลุ หรือมีอาการของ C ระเบิด ร่วมด้วย
และอาการที่ 4 เป็นอาการที่ช่างหลายๆท่านบอกว่า น่าปวดหัวที่สุด
นั้นก็คือ C รั่ว อาการ C leak หรือ C รั่ว ส่วนใหญ่ก็จะเจอกับ C แห้ง
แต่บางเคส ไม่ได้บ่งบอกอาการ อย่างชัดเจน สังเกตุ หัวก็ไม่ได้ปูดบวม ลักษณะภายนอก ดูดี มีเสน่ห์ วัดค่าการเก็บประจุ ได้ปกติ
ไม่ได้มีการ เพิ่มค่าหรือลดค่า ไม่ได้มีปัญหา แต่อย่างใด
แต่ตัวมัน มีค่าความต้านทานแฝงอยู่ในตัวเก็บประจุ ในลักษณะ ขนานแบบนี้
ก็เลยส่งผลให้ 1.มีไฟรั่วเข้าไปในวงจรได้ 2.เกิดความร้อนสะสม 3.วงจรทำงานผิดปกติ
ถ้าเป็น แบบนี้ มัลติมิเตอร์ทั่วไปที่ใช้วัด ค่าการเก็บประจุ เพียงอย่างเดียว ก็อาจจะหลงทางได้ เหมือนกัน
แต่ก็มีวิธีสังเกตุ ง่ายๆก็คือ
C ที่รั่ว เยอะๆ มักจะยืดค่า หรือไม่งั้นก็ ใช้ระยะเวลาในการวัด นานกว่าปกติ เพราะว่าตัวมันมีกระแสที่ รั่วไหล มัลติมิเตอร์ จับค่าไม่นิ่ง
แต่ก็จะมี วิธีวัดการวัด C รั่ว พวกนี้อยู่ นะครับ เดียวผมค่อยพูดในคลิปถัดๆไป เพราะว่าเดียวมันจะยาว
อาการต่อไป อาการที่ 5 C มีค่า ESR สูง
หรือ C มีค่าความต้านทานแฝงภายในตัวมัน สูง
แล้วค่า ESR สูงมันไม่ดียังไง
ปกติ C ตัวที่ ดีๆ ค่า ESR จะต่ำ
แต่ถ้า C ตัวที่มีปัญหาอย่างเช่น C ที่หัวปูดบวมแบบนี้ ค่า ESR ก็จะสูง
เมื่อมันเจอะ กับ พวกงานความถี่ กระแสไฟ ที่ไม่เรียบ กระแสไฟ ripple
C พวกนี้ จะเกิดความร้อนสะสม , บางวงจร แรงดันไฟฟ้าออกมาไม่เรียบ , บางวงจรแรงดันไฟฟ้าในวงจร ตก , บางวงจรความถี่เพี้ยน
แล้วเราจะทราบได้อย่างไร
มันจะมีเครื่องมือบางประเภท ที่ สามารถวัดค่า ESR ได้
อย่างเช่นเครื่องวัด LCR ราคาประหยัด ของผมตัวนี้ หรือ มิเตอร์วัดค่า ESR โดยตรง
เพื่อนๆ ก็จะเห็นว่า C ที่สภาพดูดีเหล่านี้ ก็อาจจะมีค่า ESR ที่สูงมากก ก็เป็นไปได้
ส่วนค่า ความต้านทานเท่าไหร่ ถึงจะปลอดภัยต่อวงจร เพื่อนๆก็สามารถตรวจสอบได้จาก ตารางที่แสดงขึ้นที่ หน้าจอตรงนี้ครับ ได้ครับ
มีเทียบระหว่าง แรงดันที่มันทนได้ และ ค่าการเก็บประจุ
ค่าที่เราวัดได้ต้องอย่าให้เกิน ถ้าค่ามันเกิน ให้ถอดโยนทิ้งได้เลยครับ
ก็สรุปได้ว่า
C ยืดค่าก็ไม่ควรใช้
C แห้งก็ไม่ควรใช้
ส่วน C ที่ เราไม่มั่นใจในประสิทธิภาพของมัน เราก็ควรที่จะมีเครื่องมือ ที่ดีตรวจสอบ การทำงานของมัน
และC ที่มีค่าผิดเพี้ยนเกิน +-10% คำภีร์ หลายๆเล่ม แนะนำให้เปลี่ยนตัวใหม่ จะดีที่สุดครับ ขอบคุณเพื่อนๆทุกท่านที่ติดตามรับชมครับ

#Cหลากหลายอาการ #Cแห้ง #Cบวม #Cรั่ว #Cระเบิด

Комментарии

Информация по комментариям в разработке